ความคิดเห็นของแพทย์ต่อการปฏิบัติตามนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล: กรณีศึกษาจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

สุภัคษา วาดพิมาย
กรแก้ว จันทภาษา
จริงใจ อารีมิตร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคิดเห็นของแพทย์ต่อการปฏิบัติตามนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 11 ท่านที่ปฏิบัติงานในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญปฏิบัติงานในโรงพยาบาล จำนวน 9 ท่าน   อีก 2 ท่านเป็นผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานในโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่า นโยบายการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการสั่งใช้ยาของแพทย์ แพทย์มีการสั่งใช้ยาตามแนวปฏิบัติในการดูแลรักษาโรคมากขึ้น นโยบายฯ ที่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่มีปัญหาคือ การสั่งใช้ยาตามแนวปฏิบัติในการดูแลรักษาโรคที่กำหนดไว้ในประเทศหรือที่เป็นสากล ส่วนการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลนั้น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่าปฏิบัติตามได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากข้อจำกัดในด้านบริบทของพื้นที่ ความเชื่อเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะของประชาชน และความกังวลหรือความกลัวของแพทย์เกี่ยวกับผลการรักษา และโอกาสเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องหากเกิดความผิดพลาด การศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญยังมีความเชื่อมั่นว่า ยาต้นแบบมีประสิทธิภาพดีกว่ายาสามัญ และเห็นว่าการรักษาด้วยยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ทางเลือกในการรักษาของแพทย์ลดลง สรุป: ความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการสร้างความตระหนักให้แพทย์และผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการใช้ยาอย่างสมเหตุผล  ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของยาสามัญและยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Kessomboon N, Sakulbumrungsil R, Kanchanaphi bool I, Udomaksorn S, Jitraknathee A. Research and systems development for national drug account. Nonthaburi: Graphico Systems; 2012.

2. Bureau of Information Office of the Permanent Secretary of Ministry of Public Health. News for the media: Ministry of Public Health set policy on “rational drug use” for the development of 15th health service system [online]. 2012 [cited July 29, 2017]. Available from: pr.moph.go.th/iprg/include/admin_ hotnew /show_hotnew.php?idHot new = 84841.

3. Committee on National Drug System Development. National drug policy A.D. 2011 and national drug system development strategy A.D. 2012-2016. Bangkok: Publishing House of Agricultural Coopera- tive Federation of Thailand; 2011.

4. Subcommittee on the Promotion of Rational Drug Use. Rational drug use hospital manual. Bangkok: Publishing House of Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2015.

5. Kotwani A, Joshi P. C, Jhamb U, Holloway K. Prescriber and dispenser perceptions about antibiotic use in acute uncomplicated childhood diarrhea and upper respiratory tract infection in New Delhi: Qualitative study. Indian J Pharmacol 2017; 49: 419-31. doi: 10.4103/ijp.IJP_508_17.

6. Rodrigues A. T, Roque F, Falcão A, Figueiras A, Herdeiro M. T. Understanding physician antibiotic prescribing behaviour:a systematic review of quali- tative studies. Int J Antimicrob Agents. 2013; 41: 203-12. doi: 10.1016/j.ijantimicag.2012.09.003.

7. Pumtong S, Duangchan P, Anuwong K, Sumpradit N. Lessons learnt from scaling up to sustainability of Antibiotics Smart Use (ASU). Journal of Health Systems Research 2017; 11: 500-15.

8. Sumpradit N, Hunnangkul S, Phumart P, Prakongsai P. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotics: Preliminary results. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 362-73.

9. Zhang, W., Li, Y., Li, Y., Li, X., Zhao, W., & Lu, R. A cross-sectional analysis of prescription and stakeholder surveys following essential medicine reform in Guangdong Province, China. BMC Health Serv Res 2015; 15:98. doi: 10.1186/s1291 3-015-0778-3.

10. Limwattananon C, Sooksai N, Topark-Ngarm A, Waleekhachonloet O, Kitwiti P, Rattanachotphanit T, et al. Measures to promote rational use of medicines in public hospitals: a review and analysis of national policy interventions.Journal of Health Systems Research 2013; 7: 33-44.

11. Chatsom K, Limwattananon S, Limwattananon C, Waleekhachonloet O, Ratanachodpanich T. Use of branded originators among multi-source drugs in public hospitals. Proceedings of the Graduate Research Conference.Khon Kaen University.[on line]. 2013; 1051-59. [cited February 10, 2018]. Available from: gsbooks.gs.kku.ac.th/56/grc14/files/ mmp31.pdf

12. Ryu M, Kim J. Perception and attitude of Korean physicians towards generic drugs. BMC Health Serv Res. 2017;17:610. doi: 10.1186/s12913-017-2555-y.

13. Lewek P, Smigielski J, Kardas P. Factors affecting the opinions of family physicians regarding generic drugs–a questionnaire based study. Bosn J Basic Med Sci 2014; 15: 45-50. doi: 10.17305/bjbms.201 5.1.134.