ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาภายใต้ โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล: กรณีศึกษาจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานและความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีการ: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์ทางเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ประกอบด้วยเภสัชกร จำนวน 12 ท่าน และแพทย์จำนวน 3 ท่าน แพทย์ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2 ท่าน และแพทย์หนึ่งท่านที่มีประสบการณ์การดำเนินงานการส่งเสริมจริยธรรมการจัดซื้อยา การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: จากผลการประเมินตนเองตามตัวชี้วัดของการใช้ยาอย่างสมเหตุผลพบทุกโรงพยาบาลผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาภายใต้โครงการการใช้ยาอย่างสมเหตุผลได้ แต่ยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ จากการศึกษาทั้ง 7 ประเด็น พบเพียง 1 ประเด็นที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบ คือ การจัดซื้อยาที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้โดยอ้างอิงตามระเบียบที่กำหนด ประเด็นที่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างเป็นระบบ คือ 1) การตรวจสอบการสั่งใช้ยาที่มีอัตราการใช้สูงผิดปกติในโรงพยาบาล 2) การรับสิ่งของ/ของขวัญจากบริษัทยา 3) การกำหนดเวลาและสถานที่ให้ผู้แทนยาเข้าพบ 4) การรับตัวอย่างยา 5) การเข้าร่วมประชุมสัมมนาโดยบริษัทยา และ 6) การจัดประชุมวิชาการที่สนับสนุนโดยบริษัทยา สรุป: การปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาภายใต้ตัวชี้วัดโครงการการใช้ยาอย่างสมเหตุผลมีภาพการปฏิบัติไม่แตกต่างกับการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข ควรมีบทบาทในการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เป็นแนวทางที่ชัดเจน ตลอดจนมีระบบการติดตามเพื่อควบคุมกำกับการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมการส่งเสริมการขายยาอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ซึ่งมีกิจกรรมส่งเสริมการขายยาที่หลากหลายมากกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Subcommittee on the Promotion of Rational Drug Use. Rational drug use hospital manual. Bangkok: Publishing House of Agricultural Cooperative Fede- ration of Thailand; 2015.
Chongtrakul P. RDU Hospital: The pathway to rational drug use. Thai Journal of Pharmacology 2015; 37: 48-62
Shamim-ul-Haq S, Ahmed RR, Ahmad N, Khoso I, Parmar V. Factors influencing prescription behavior of physicians. Pharma Innov 2014; 3: 30-5.
Brax H, Fadlallah R, Al-Khaled L, Kahale LA, Nas H, El-Jardali F et al. Association between physician s' interaction with pharmaceutical companies and their clinical practices: A systematic review and meta-nalysis. Plos One 2017; 12: 1-28.
Public Administration Division. Service plan: rational drug use. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2016.
Udomsin P, Chanthapasa K. Implementation of ethical criteria for pharmaceutical purchasing and sales promotion of drug and non-drug supplies 2014 in hospitals: case study at a province of Northeastern region. Isan Journal of Pharmaceu tical Sciences 2017; 13: 442-56.
Mangla N, Gupta MC. Evaluation of rationality of drug promotional literature using who ethical criteria for medicinal drug promotion. Int J Health Sci Res 2018; 8: 55-62.
Francer J, Izquierdo JZ, Music T, Narsai K, Nikidis C, Simmonds H, et al. Ethical pharmaceutical promotion and communications worldwide: codes and regulations. Philos Ethics Humanit Med 2014; 9: 1-17 DOI:10.1186/1747-5341-9-7
National Anti-Corruption Commission. Measures to prevent corruption in the disbursement process according to Civil Servants Medical Benefits Scheme. [online]. 2017 [cited Jul 10, 2019]. Available from: www.nacc.go.th/article_attach/conte nt_shopingdrug.pdf.
Pharmaceutical Research and Manufacturers Asso ciation: PReMA. Guideline for PReMA code guide line 2019 [online]. 2019 [cited Jul 10, 2019]. Availa- ble from: www.prema.or.th.