การประเมินการตรวจติดตามระดับยาวาลโปรเอทในเลือดและการประเมินด้าน ความปลอดภัยของการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วระยะเฉียบพลัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสำรวจการสั่งตรวจติดตามระดับยาและประเมินความเหมาะสมของการตรวจติดตามระดับยา valproate ในเลือด และ 2) เพื่อประเมินการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยจากการใช้ยา valproate ในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วระยะเฉียบพลัน วิธีการ: การศึกษาเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังจากการทบทวนประวัติผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วระยะเฉียบพลันที่รักษาด้วยยา valproate ณ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2561 ผู้วิจัยประเมินร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจติดตามระดับยาในเลือด ผู้ป่วยที่ระดับยาในเลือดอยู่ในช่วงดัชนีการรักษา (50-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) และประเมินระยะเวลาการสั่งตรวจติดตามหลังได้รับยา valproate ส่วนการประเมินด้านความปลอดภัยจากการใช้ยาเป็นการประเมินการสั่งตรวจการทำงานของตับ ระดับ albumin ในเลือด และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วระยะเฉียบพลันตามเกณฑ์การศึกษาทั้งสิ้น 95 ราย ผู้ป่วยได้รับการตรวจติดตามระดับยาในเลือดเพื่อประเมินผลการรักษา จำนวน 43 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 62.8 มีระดับยาอยู่ในช่วงดัชนีการรักษา ร้อยละ 81.4 ได้รับการตรวจติดตามระดับยาในเลือดหลังจากรักษาด้วยยา valproate เป็นระยะเวลา ³ 5 วัน สำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามความปลอดภัย ผู้ป่วยร้อยละ 66.3, 50.5 และ 77.9 ได้รับการตรวจการทำงานของตับ ระดับ albumin ในเลือด และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจติดตามระดับยาในเลือด มีผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ albumin จำนวน 28 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่มีค่า albumin < 4.0 กรัม/เดซิลิตร ร้อยละ 25 สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับ ยา valproate เพียงกึ่งหนึ่งได้รับการตรวจติดตามระดับยาในเลือดในการรักษาผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วระยะเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เป็นการสั่งตรวจติดตามระดับยาเมื่อเข้าสู่สภาวะคงตัวแล้ว นอกจากนี้ ควรตรวจระดับ albumin ในเลือดของผู้ป่วยเนื่องจากระดับ albumin มีผลต่อความเข้มข้นของยาในรูปอิสระ ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วระยะเฉียบพลันจำนวนหนึ่งมีภาวะ albumin ต่ำและอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Ittasakul P, Lotrakul M. Mood stabilizers. In: Lotrakul M, editor. Psychotropic drugs in clinical use. Bangkok: Beyond Enterprise; 2017.
3. Yatham LN, Kennedy SH, Parikh SV, Schaffer A, Bond DJ, Frey BN, et al. Canadian Network for Mood and Anxiety Treatments (CANMAT) and International Society for Bipolar Disorders (ISBD) 2018 guidelines for the management of patients with bipolar disorder. Bipolar Disord. 2018; 20: 97-170.
4. Meijboom RW, Grootens KP. Dispensability of annual laboratory follow-up after more than 2 years of valproic acid use: a systematic review. CNS Drugs. 2017; 31: 939-57.
5. Jentink J, Loane MA, Dolk H, Barisic I, Garne E, Morris JK, et al. Valproic acid monotherapy in pregnancy and major congenital malformations. N Engl J Med. 2010; 362: 2185-93.
6. Hiemke C, Bergemann N, Clement HW, Conca A, Deckert J, Domschke K, et al. Consensus guidelines for therapeutic drug monitoring in neuropsychophar macology: update 2017. Pharmacopsychiatry. 2018; 51: 9-62.
7. Paholpak P, Paholpak S, Patanasethanant D, Rang seekajee P, Patjanasoontorn N. Rate of serum valproate concentration monitoring in patients with bipolar disorder type I at Srinagarind Hospital out- patient clinic. J Med Assoc Thai. 2016; 99: 1153-60.
8. Allen MH, Hirschfeld RM, Wozniak PJ, Baker JD, Bowden CL. Linear relationship of valproate serum concentration to response and optimal serum levels for acute mania. Am J Psychiatry. 2006; 163: 272-5.
9. The American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5th ed. Arlington: American Psychiatric Association; 2013.
10. Hermida J, Tutor JC. A theoretical method for norma- lizing total serum valproic acid concentration in hypo- albuminemic patients. J Pharmacol Sci. 2005; 97:489 -93.
11. Schoretsanitis G, Paulzen M, Unterecker S, Schwarz M, Conca A, Zernig G, et al. TDM in psychiatry and neurology: A comprehensive summary of the consen- sus guidelines for therapeutic drug monitoring in neuropsychopharmacology, update 2017; a tool for clinicians. World J Biol Psychiatry. 2018; 19: 162-74.
12. Geoffroy PA, Etain B, Henry C, Bellivier F. Combi- nation therapy for manic phases: a critical review of a common practice. CNS Neurosci Ther. 2012; 18: 957-64.
13. Dore M, San Juan AE, Frenette AJ, Williamson D. Clinical importance of monitoring unbound valproic acid concentration in patients with hypoalbuminemia. Pharmacotherapy. 2017; 37: 900-7.