การพัฒนาสัญลักษณ์ภาพในฉลากยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สิวารี ศรีสวัสดิ์
อัษฎางค์ พลนอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสัญลักษณ์ภาพในฉลากยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง และทดสอบความเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ภาพ วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุและได้รับยาโรคเรื้อรังรูปแบบรับประทาน สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ไม่มีความพิการทางหูและตา และไม่เคยใช้ฉลากยาสัญลักษณ์ภาพ การศึกษาเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสำหรับการพัฒนาสัญลักษณ์ภาพครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยทั้ง 2 ขั้นตอนย่อยใช้ตัวอย่างที่ไม่ซ้ำกัน ผู้วิจัยรวบรวมคำสั่งใช้ยาและอาการข้างเคียงของยารักษาโรคเรื้อรัง ออกแบบสัญลักษณ์ภาพ และนำไปทดสอบความเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ภาพในกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ของ ANSI (American National Standards Institute) ที่กำหนดให้สัญลักษณ์ภาพต้องมีผู้เข้าใจความหมายถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 85 ผลการวิจัย: ผลการทดสอบความเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ภาพ 24 ภาพในกลุ่มตัวอย่างครั้งที่ 1 พบว่ามีสัญลักษณ์ภาพที่ผ่านการประเมินจำนวน 9 ภาพ คือ วันละ 3 ครั้ง เช้า - กลางวัน – เย็น, วันละ 4 ครั้ง เช้า – กลางวัน - เย็น – ก่อนนอน, อาการปัสสาวะบ่อย และสัญลักษณ์ภาพจำนวนเม็ด คือ ¼ เม็ด, ครึ่ง เม็ด, 1 เม็ดครึ่ง, 2 เม็ด, 2 เม็ดครึ่ง และ 3 เม็ด ดังนั้นผู้วิจัยปรับปรุงสัญลักษณ์ภาพครั้งที่ 2 โดยใช้สีในสัญลักษณ์ภาพ และออกแบบสัญลักษณ์ภาพที่เป็นสากล และสื่อถึงลักษณะวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ผลของการทดสอบความเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ภาพ 11 ภาพในกลุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 พบว่าทั้งหมดผ่านการประเมินตามเกณฑ์ของ ANSI สรุป: สัญลักษณ์ภาพที่นำมาใช้ในฉลากยาควรพัฒนามาจากความรู้ ความเชื่อ และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เพราะจะทำให้สามารถนำไปใช้ประชากรเป้าหมายได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

United States Pharmacopeial Convention. USP pictograms [online]. Year unknown [cited Oct 10, 2017]. Available from: usp.org/usp-healthcare-prof essionals/related-topics-resources/usp-pictograms.

Barros IMC, Alcantara TS, Mesquita AR, Bispoc ML, Rocha CE, Moreira VP, et al. Understanding of pictograms from the United State Pharmacopeia dispensing information (USP-DI) among elderly Brazilians. Patient Prefer Adherence 2014; 8: 1493-501.

Chaijinda K. Development and evaluation of pictorial labeling system for Northern Thai patients with low literate skills [dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2007.

Muangcharoen A. Development and evaluation of pharmaceutical pictograms in the Pga K’nyau, Sop Moei district, Mae Hong Son province. [master thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2008.

Phimarn W, Pianchana P, Rungsungnoen R, Likhit R, Pattaradunpituk W. Development and evaluation of pictorial labeling system for elderly patients with chronic disease. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 9 (Supplement):109-15.

Augsuwattanakul B, Lerkiatbundit S. Development of pictograms for illiterate patients part 1: instructions on how to take tablets. Thai Journal of Pharmacy Practice 2014; 6: 41-60.

Augsuwattanakul B, Lerkiatbundit S. Development of pictograms for illiterate patients part 2: advices on drug uses. Thai Journal of Pharmacy Practice 2014; 6: 61-74.

Barros IMC, Alcantara TS, Mesquita AR, Santos ACO, Paixao FP. The use of pictograms in the health care: A literature review. Res Social Adm Pharm 2014; 10: 704-19.

Montagne M. Pharmaceutical pictograms: A model for development and testing for comprehension and utility. Res Social Adm Pharm 2013;9:609-20.

Sakurada J. Basic infographic. Nonthaburi: ICD premier; 2015.

Dowse R, Ehlers M. Pictograms in pharmacy. Int J Pharm Pract 1998;6:109-18.