พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักเรียน อย.น้อย เปรียบเทียบกับนักเรียนทั่วไประดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ภัทรนัน ไทยดี
ชิดชนก เรือนก้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (consumption behavior of dietary supplement: CBDS) ระหว่างนักเรียน อย.น้อยและนักเรียนทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา18 แห่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้วิจัยสุ่มเลือกนักเรียน 2 กลุ่มได้แก่ นักเรียน อย.น้อย จำนวน 123 คน และนักเรียนทั่วไป จำนวน 245 คน ด้วยวิธีการจับฉลาก โดยเลือกเฉพาะนักเรียนที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (dietary supplement: DS) การศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูล CBDS ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ถึง มกราคม 2562ผลการวิจัย: ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่ม อย.น้อยและกลุ่มนักเรียนทั่วไปไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อเปรียบเทียบ CBDS ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น กลุ่ม อย.น้อยและกลุ่มนักเรียนทั่วไปรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ DS ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากทางโทรทัศน์ (ร้อยละ 84.2 และ 78.4 ตามลำดับ) และอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 81.5 และ 74.7 ตามลำดับ) นิยมซื้อวิตามินซี (ร้อยละ 65.8 และ 69.2 ตามลำดับ) เหตุผลที่เลือกซื้อ คือ คุณภาพของสินค้า (ร้อยละ 82.2 และ 83.9 ตามลำดับ) บุคคลในครอบครัวมีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ (ร้อยละ 69.2 และ 65.1 ตามลำดับ)เหตุผลที่ทำให้บริโภค คือ เพื่อบำรุงร่างกาย (ร้อยละ 69.9 และ 71.9 ตามลำดับ)สถานที่จัดจำหน่ายที่นิยมไปซื้อ คือ ร้านขายยา (ร้อยละ 53.4 และ 59.9 ตามลำดับ) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักเรียน อย.น้อยและกลุ่มนักเรียนทั่วไปใน 4ประเด็น คือ การเลือกซื้อน้ำมันปลาเพื่อบำรุงสมอง (ร้อยละ 19.2 และ 28.8 ตามลำดับ, P=0.030) การเลือกซื้อ DS ตามกระแสนิยม (ร้อยละ 15.1 และ 7.9 ตามลำดับ, P=0.019) บุคคลที่มีอิทธิพลชักจูงให้ซื้อ DS คือ ตัวแทนจำหน่าย (ร้อยละ 17.1 และ 31.2 ตามลำดับ, P=0.002) และการซื้อกับตัวแทนจำหน่าย/การขายตรง (ร้อยละ 19.9 และ 29.1 ตามลำดับ, P=0.038) เหตุผลที่บริโภค DS คือ เพื่อความขาว (ร้อยละ 19.9 และ 30.5 ตามลำดับ, P=0.018) โดยซื้อกลูตาไธโอน (ร้อยละ 5.5 และ 11.0 ตามลำดับ) สรุป: ในกลุ่มนักเรียน อย.น้อยและนักเรียนมัธยมทั่วไปพบว่ามี ความแตกต่างของCBDS โดยนักเรียน อย.น้อย ปฏิบัติได้ดีกว่าในการซื้อDS ด้านการไม่ถูกชักจูงโดยตัวแทนจำหน่ายและการนิยมซื้อ DS จากตัวแทนจำหน่ายหรือการขายตรงน้อยกว่านักเรียนทั่วไป รวมทั้งเหตุผลที่บริโภค DS เพื่อความขาวเป็นต้น  แต่ประเด็นที่นักเรียนทั่วไปดีกว่า คือ การบริโภค DS ตามกระแสนิยมและการเลียนแบบดารา/นักร้อง แต่ในภาพรวม ไม่พบความแตกต่างของพฤติกรรมทั้งการจัดหาและการใช้ DS สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ควรใช้ข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรของ อย. น้อยและให้ความรู้นักเรียนทั่วไปร่วมกับการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Wasontawisut A. Eating carotene tablets risks lung cancer.Institute of nutrition, Mahidol University [online]. 2011 [cited Jan 15, 2019]. Available from: www.immu.mahidol.ac.th. /th/news/?id=4

Seksan W, Warangkhana A. The study of consumer behavior on vitamin supplement products in Bangkok. Srinakharinwirot Business Journal. 2014; 5: 65-79.

Thaipbs. Thai people death from weight loss supplements [online]. 2015 [cited Jan 15, 2019), Available from: news.thaipbs.or.th/content/258122.

Thaidee P. Dietary supplement product consump- tion behavior of secondary school students in Mueang Uttaradit. Northern Regional Primary Health Care Journal. 2015; 24: 6-13.

Food and Drug Administration. Survey of health behavior of Oryornoi [online]. 2015. [cited Jan 22, 2019]. Available from: www.oryornoi.com/?p=3986.

Singhirunnusorn C, Arunmaung A. Dietary supple ment product consumption behavior of secondary school students under Supervision region 2 of Ministry of Public Health. FDA Journal 2013; 20: 38-47.

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang, AG. Statisti- cal power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods. 2009; 41: 1149-60.

Assunchai P. The story of fish [online]. 2018 [cited Jan 15, 2019]. Available from: www.lokwannee.com /web2013/?p=300957.

Chirunthorn R. Factors affecting on decision making on purchasing of dietary supplement: a case study of Hat Yai District, Songkhla province. Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities 2007; 13: 217-32.

Townsend DM, Tew KD, Tapiero H. The importance of glutathione in human disease. Biomed Pharmacother. 2003; 57: 145-55.

Worakulluktanee K, Sumputtawanich P. The concepts and theories of consumer behavior [online]. 2010. [cited Oct 20, 2017]. Available from: doctemple.wordpress.com/2017/01/23.

Chonwihanpan W. Prevalence of inappropriate use of health products for weight control among female teenagers in Saraburi province and factors affecting It. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8:442-55.

Virasuk S. The study of consumer behavior on vitamin supplement product in Bangkok. Srinakhari nwirot Business Journal 2014. 5: 65–79.

Thongpun W. Satisfaction and behavior toward beauty aids dietary supplement products consump- tion of consumers in Bangkok metropolitan area [master thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot Univer sity; 2003.

Panyim T. Factors affecting on decision making on purchasing of dietary supplement: a case study of consumers in central general hospital [master thesis]. Bangkok: Krirk University; 2006.