ความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาที่ไม่ปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุ ชาวมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวาน ในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาที่ไม่ปลอดภัยในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างคือผู้ป่วยผู้สูงอายุมุสลิม อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 146 คนที่ขึ้นทะเบียนรักษาตัวที่โรงพยาบาลบันนังสตาและเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อำเภอบันนังสตา ตัวอย่างถูกเลือกอย่างตามสะดวกจากผู้ที่มารับบริการ ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยสัมภาษณ์ตัวอย่างทุกคนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหรือที่ รพ.สต. เพื่อค้นหาผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาอื่นร่วมกับยาที่ได้รับจากสถานบริการ หลังจากนั้น ผู้วิจัยไปเยี่ยมบ้านและสัมภาษณ์ตัวอย่างที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาอื่นร่วมกับยาที่ได้รับจากสถานบริการ ผลการวิจัย: ตัวอย่างร้อยละ 19.9 ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นร่วมกับยาที่ได้รับจากโรงพยาบาล ประกอบด้วย ยาชุดร้อยละ 2.05 ซึ่งตัวอย่างซื้อรับประทานด้วยตัวเองเมื่อมีอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน ผลิตภัณฑ์ผสมสเตียรอยด์ร้อยละ 0.68 ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่มีเลขทะเบียนร้อยละ 4.11 และผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือส่วนประกอบจากพืชร้อยละ 13.01 ตัวอย่างร้อยละ 48.28 เชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาที่รับประทานไปนั้น สามารถลดระดับน้ำตาลได้ ตัวอย่างร้อยละ 42.31 รู้ข่าวสารผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาจากคำแนะนำของเพื่อน ตัวอย่างร้อยละ 72.41 คิดว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาอื่นนอกจากยาที่ได้รับจากสถานพยาบาลต่อ ตัวอย่างร้อยละ 71.9 เชื่อการแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาของบุคลากรทางการแพทย์ สรุป: ผู้สูงอายุชาวมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวาน ในอำเภอบันนังสตา ควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรสอบถามประวัติการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาอื่นร่วมด้วยทุกครั้งที่มารับบริการ ปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาที่ไม่ปลอดภัยของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมนั้น ควรได้รับการแก้ไขโดยอาศัยความร่วมมือของผู้นำศาสนาเพื่อนำมิติของศาสนากับสุขภาพตามบทบัญญัติของศาสนามาช่วยในการปรับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Thai Diabetes Association. Practice guidelines for diabetes 2011. Bangkok: Sri Muang Printing; 2011.
Phanphuwong S, Chanthapasa K. Dietary supple ment consumption behavior of diabetes mellitus patients in Tambon Warit Cha-phum, Warit Cha-phum District,Sakon Nakhon Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2013; 9: 155-9.
Sombunsut B. Beware of diabetes supplements 2015 [online]. 2019 [cited Feb 22, 2019]. Available from: www.thaihealth.or.th/microsite/content/5/ncds/181/27724.
Skulpunyawat S. Health promotion behaviors of Muslim elders in case of Okarak district, Nakornna- yok province. Journal of the Royal Thai Army Nurses 2014;15: 353-60.
Reangrit R, Malatum P, Parapaipanit W. Awareness about fasting and self-care behaviors of Thai Muslims with type 2 diabetes that is fasting in Ramadan. Ramathibodi Nursing Journal 2012; 18: 207-22.
Wongpairin A, Suggaravetsiri P. Assessment of quality of life among Islamic diabetes mellitus patients in Satun Province, Thailand [online]. 2014 [cited Feb 22, 2019]. Available from: gsbooks.gs. kku.ac.th/57/grc15/files/mmp69.pdf.
Asipong S. Health product use behavior with no medical indications among patients with chronic diseases at Rasi Salai, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015;7:105-12.
Plengchai S. Prevalence of adverse events from drugs and health products in patients with chronic disease at community in Selaphum, Roi-Et. 2015; 11: 33-42.
Ruenruay S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the health provider board region 3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 225-35.
Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.
Waealee D. End-patient care according to Islamic doctrines. Bangkok: I.S. Printing House; 2004.