การพัฒนาร้านชำต้นแบบจากโครงการประชารัฐร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน

Main Article Content

ปัทมาพร ปัทมาสราวุธ
รุ่งทิวา หมื่นปา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาร้านชำให้เป็นร้านชำต้นแบบที่จำหน่ายยาปลอดภัย โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการร้านชำและภาคีเครือข่าย และเพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาไม่เหมาะสมในร้านชำ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้วิจัยคัดเลือกร้านชำที่มีการจำหน่ายยา 45 แห่ง การดำเนินงานประกอบด้วยการประชุมวางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอสม. การจัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และอสม. ร่วมกับผู้ประกอบการร้านชำ การอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ้านชำ การสำรวจรายการยาที่จำหน่าย และการวัดความรู้ผู้ประกอบการร้านชำด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ ผลการวิจัย: ผลการประชุมวางมาตรการระหว่างภาคีเครือข่ายและผู้ประกอบการร้านชำได้ข้อสรุปว่า หากพบการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสม ให้มีการดำเนินการตามลำดับดังนี้ แจ้งเตือน จัดทำบันทึกตักเตือน การยึดหรืออายัดยา และดำเนินคดี ผลการสำรวจการจำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำครั้งที่ 1- 4 พบการจำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) พบการจัดเก็บยาในร้านชำมีแนวโน้มดีขึ้น จากร้อยละ 56.3 เป็นร้อยละ 88.9  จากการดำเนินงานได้ร้านชำต้นแบบ 25 แห่งคิดเป็นร้อยละ 55.6 ของร้านชำทั้งหมด สรุป: เพื่อความยั่งยืนของความปลอดภัยด้านยาในชุมชน ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่องการอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ และการเฝ้าระวังของพนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำตระหนักในการปฏิบัติตามกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Rutjanathamrong P. Act of legislation 1967. 2015 (cited Oct 10, 2018). Availablefrom:
http://rparun.blogspot.com/2014/07/drugact2510part1-3.html.
2. Teerakumjay P, Waluwanarak K, Waluwanalak C. Activity in the Monitoring in Grocery
Entrepreneur Consumer Protection in the Network of Health Promotion Hospital in Ban Kho sub-
district, Phonsawan District, Nakhon Phanom Province. . FDA Journal. 2013; 20: 18-27.
3. Surin N, Prevalence and characteristics of grocery stores that sold antibiotics in Amphoe Mueang
Pan, Lampang Province. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2015; 7: 200-205.
4. Booddawong B, Yoongthong W. Community Empowerment in the Management of the Problems
on Inappropriate Drugs and Health Products: Case Study of Nonkhun District. Sisaket Province.
Thai Journal of Pharmacy Practice. 2017; 8: 331-343.
5. Chompoo A, Surin S. Dangerous Drugs Distribution Surveillance in Grocery Stores of
Consumer Protection Group in the Area of Mae Sa Riang Hospital. FDA Journal. 2016; 22: 45-50.
6. Boonyoung U, Muenpa R. Prevalence and Factors Affecting Inappropiate sale of Drug in Grocery