การสำรวจความต้องการช่องทางการเติมยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความต้องการช่องทางการเติมยารูปแบบต่าง ๆ ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วิธีการ: การวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2561 โดยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญในผู้ป่วยนอกคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพสำหรับประเมินความเห็นและความต้องการเติมยาช่องทางต่าง ๆ ตามส่วนประสมทางการตลาด ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 369 คน มีอายุเฉลี่ย 58.4±14.7 ปี ส่วนใหญ่มีโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 65.6) และได้รับยา 1-3 รายการ (ร้อยละ 40.2) เมื่อพิจารณาส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการเสริม และด้านราคา พบว่าช่องทางที่ตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด คือการเติมยาที่โรงพยาบาล (คะแนนเฉลี่ย 4.4±0.7, 4.4±0.6 และ 4.4±0.8 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 5) สำหรับส่วนประสมทางการตลาดด้านสถานที่พบว่าช่องทางที่ตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด คือ การส่งยาที่บ้าน (3.8±0.9) ค่าบริการเฉลี่ยที่ผู้ตอบแบบสอบถามยินดีจ่ายสำหรับช่องทางการเติมยาที่ร้านยา ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ และส่งยาที่บ้าน คือ 75.8, 67.4, และ 64.9 บาท ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามยินดีที่จะเลือกการเติมยาช่องทางต่าง ๆ เรียงตามลำดับดังนี้ โรงพยาบาล (ร้อยละ 82.9) ร้านยา (ร้อยละ 73.7) ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (ร้อยละ 72.3) และส่งยาที่บ้าน (ร้อยละ 65.1) สิ่งที่ผู้รับบริการคาดหวังในการรับยาสามอันดับแรกคือ ความรวดเร็ว (ร้อยละ 21.6) คำแนะนำจากเภสัชกร (ร้อยละ 18.0) และความมั่นใจว่ายาที่ได้รับถูกต้องและไม่เสียหาย (ร้อยละ 16.1) สรุป: ผู้ป่วยนอกคลินิกโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ในเมืองมีแนวโน้มที่จะเลือกเติมยาที่โรงพยาบาลมากกว่าช่องทางอื่น ดังนั้นหากต้องการลดแออัดในการรอรับยาที่โรงพยาบาล การส่งเสริมการเติมยาผ่านช่องทางอื่นควรพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านผลิตภัณฑ์และบริการเสริมให้ทัดเทียมกับการเติมยาที่โรงพยาบาล
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Bureau of Non-communicable Diseases, Ministry of Public Health. Annual report 2016. Nonthaburi: Office of Veterans Affairs under the Royal Patronage; 2016.
3. Bureau of Non-communicable Diseases, Ministry of Public Health. Summary report of illness [online]. 2016 [cited Dec 10, 2017]. Available from: bps.mo ph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2559_full_ed it.pdf
4. Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital. Annual report [online]. 2016. [cited Dec 10, 2017]. Available from: www.budhosp.go.th/home/wp-content/uploads/201 8/06/Report59-1.pdf
5. Sumpanprateep S. Evaluation the effectiveness of “Termya Termsuk” (fill pills, fill happiness) project. Region 11 Medical Journal 2016;30: 59-68.
6. Sinchai K. Effects of pharmacists-managed diabetes refilling clinic in Trang hospital [master thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2004.
7. Simtrakool V, Lorjitamnuay S. Evaluation of antihyper tensive medication refill clinic operated by pharma cist at Si Prachan hospital, Suphanburi province [master thesis]. Nakornpathom: Silpakorn Univer sity ; 2014.
8. Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khonkaen University. Pilot program for medication refilling system at drugstore for Khonkaen hospital’s patients [online]. 2015 [cited Sep 15, 2017]. Availa ble from: pharm.kku.ac.th/thaiversion/?p=15962
9. National Health Security Office. Drug delivery system at drug store [online]. 2017 [cited Sep 15, 2017]. Available from: www.nhso.go.th/frontend/NewsInfor mationDetail.aspx?newsid=MTczNA==
10. Defense Health Agency. Home delivery [online]. 2016 [cited Sep 18, 2017]. Available from: www.tri care.mil/homedelivery
11. Siriraj Hospital. Siriraj delivery of drugs across Thailand [online]. 2015 [cited Sep 18, 2017]. Availa ble from: www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.a sp?hn_id=1562
12. Pranangklao hospital. Drug delivery address [online]. 2015 [cited Sep 8, 2017]. Available from: dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/DrugMailDelivery.pdf
13. Sripathomsawatdi O, Pongcharoensuk P, Kasem sup V. Implementation and evaluation of pharma ceutical care service for outpatients at Ramathibodi hospital [master thesis] Bangkok: Mahidol Univer sity; 2008.
14. Hnukhum B. Impact of a Pharmacist-managed medications refill clinic of quality of hypertensive care [master thesis] Songkla: Prince of Songkla University; 2003.
15. Sereerat S, Sereerat S, Laksitanon P. Business research. Bangkok: Diamond in Business World; 1998.
16. Altman DG. Practical statistics for medical research. London: Chapman and Hall; 1991.