การศึกษาการจัดการระบบยาของศูนย์บริการสาธารณสุขสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วนิดา บรรจงเจริญเลิศ
ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการจัดการระบบยาของศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส. ) ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ วิธีการ: การศึกษานี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกเภสัชกรที่ปฏิบัติงานประจำ ศบส. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครที่ได้รับการรับรองคุณภาพจำนวน 9 ราย ในเรื่องการจัดการระบบยาของ ศบส. หลังจากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการจัดการระบบยาของ ศบส. ผลการวิจัย: ปัจจัยความสำเร็จแบ่งตามการจัดการระบบยาของ ศบส. 4 ด้าน มีดังนี้1) ด้านการวางแผนและการจัดการ ปัจจัยที่ทำให้คณะกรรมการระบบยาทำหน้าที่กำกับ วางแผนและแก้ไขปัญหาระบบยาอย่างต่อเนื่องและชัดเจน คือ การทำงานเป็นทีมหรือการที่บุคลากรให้ความร่วมมือในการจัดการระบบยา การให้ความสำคัญของผู้บริหาร และทัศนคติของบุคลากรใน ศบส.2) ด้านการเก็บ/สำรองยา ปัจจัยที่สำคัญ คือ การมีระบบการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะการบันทึกและติดตามกำกับอุณหภูมิ-ความชื้นในห้องจ่ายยา ห้องเก็บสำรองยา ตู้เย็นเก็บยา รวมทั้งการกำหนดจำนวนเดือนสำรองคลังยาและเวชภัณฑ์ไม่เกิน 3 เดือน 3) ด้านการสั่งใช้ยาและการถ่ายทอดคำสั่ง ปัจจัยที่สำคัญ คือ การมีคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการสื่อสารคำสั่งใช้ยา การถ่ายทอดคำสั่งใช้ยา และแนวทางปฏิบัติเมื่อมีการสั่งใช้ยา โดย ศบส. ทำเป็นหนังสือเวียนแจ้งแพทย์ประจำและแพทย์ห้วงเวลา เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อความคลาดเคลื่อนและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 4) ด้านการเตรียม การจัดจ่ายและการให้ยา ปัจจัยที่สำคัญ คือ การที่เภสัชกรทบทวนคำสั่งใช้ยาก่อนจัดยาโดยตรวจสอบคำสั่งใช้ยาจากใบสั่งยาเทียบกับประวัติการใช้ยาของผู้รับบริการที่แพทย์บันทึกในเวชระเบียน และการเข้าถึงข้อมูลของผู้รับบริการผ่านโปรแกรมระบบสารสนเทศของ ศบส. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการสั่งใช้ยา สรุป:การจัดการระบบยามีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานใน ศบส. เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรภายใน ศบส. ทัศนคติที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน การให้ความสำคัญของผู้บริหาร การกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และการมีเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Division of Public Health Nursing, Health Department, Bangkok Metropolitan Administration. Guidelines for the development of PHCA [Step ladder 3] (2013-2015); 2014.p.35-6.

2.Institue for Safe Medication Practices CANADA and HIROC. More on potassium chloride. ISMP Canada Safety Bulletin. 2003;3:1-2.

3.Chumchit C. Development of medication safety management system for look–alike sound–alike drugs in public hospitals [master thesis]. Nakorn-Pratom: Silpakorn University; 2013.

4. Laselle TJ, May SK. Medication orders are written clearly and transcribed accurately - Implementing Medication Management Standard 3.20 and National Patient Safety Goal 2b. Hosp Pharm 2006; 41: 82-7.

5. Health Department. Health Department responsibilities [online]. 2009 [cited Aug 22, 2015]. Available from: www.Bangkok.go.th /health.

6. Hirunsai Y. A survey of pharmacist’s responsibilities in primary care unit [master thesis]. Phisanulok: Naresuan University; 2016.

7. Mateeapiruk P. The analysis of performance according to the primary pharmacy standards in primary care unit (PCU), Songkhla Province. Journal of Southern College Network in Nursing and Public Health 2016;1:153-70.

8. Saploy S. Guideline development of family pharmacists in Samutsakhon hospital [master thesis]. Nakorn-Pratom: Silpa korn University; 2015.