ความชุกของผลิตภัณฑ์อาหารที่อวดอ้างสรรพคุณบนฉลาก อย่างผิดกฎหมายในตลาดนัด จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของผลิตภัณฑ์อาหารที่อวดอ้างสรรพคุณบนฉลากอย่างผิดกฎหมายในตลาดนัด จังหวัดเลย วิธีการศึกษา: การศึกษาทำในร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารประเภทกาแฟ อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในตลาดนัด 24 ร้าน ในพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดเลย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในตลาดนัด เช่น ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร พฤติกรรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ แหล่งที่ซื้อมาจำหน่าย การตรวจสอบเลขสารบบอาหาร การตรวจสอบวันหมดอายุ เป็นต้น และสำรวจฉลากบนผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่าย ผลการวิจัย: ร้านค้าในการศึกษาจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากผิดกฎหมาย จำนวน 19 ร้าน ผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับการตรวจสอบ จำนวน 135 รายการ มีเลขสารบบอาหารไม่ถูกต้องจำนวน 66 รายการ (ร้อยละ 48.98) ข้อความบนฉลากอวดอ้างสรรพคุณอย่างผิดกฎหมายจำนวน 101 รายการ (ร้อยละ 74.81) สรรพคุณที่มีการอวดอ้างบนฉลากมากที่สุดคือ อ้างสรรพคุณช่วยให้ร่างกายสมส่วนหรือลดน้ำหนัก คิดเป็นร้อยละ 80.20 รองลงมาเป็นสรรพคุณช่วยให้สุขภาพดี คิดเป็นร้อยละ 28.71 ผู้จำหน่ายซื้อผลิตภัณฑ์อาหารมาจากร้านค้าส่งร้อยละ 54.2 ร้อยละ 45.8 ของตัวอย่างเลือกผลิตภัณฑ์อาหารมาจำหน่ายในร้านจากคำแนะนำของร้านขายส่งหรือตัวแทนจำหน่าย ผู้จำหน่ายร้อยละ 41.7 ไม่บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่กล่าวอ้างสรรพคุณในการป้องกัน หรือรักษาโรคที่มีจำหน่ายในร้านตนเอง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Office of the Consumer Protection Board. OCPB with Consumer Protection. 16th ed. Bangkok: National Buddhist Printing Office; 2013.
3. Food and Drug Administration. Performance report of the Food and Drug Administration 2015. Annual Report 2015. Nonthaburi: Food and Drug Adminis- tration; 2016.
4. System Development Group, Public and Consumer Affairs Division. Dietary supplements. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2007.
5. Public and Consumer Affairs Division. Division. News release: mangluk capsule. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2016.
6. Policy and Strategy Bureau. Guidelines for the development of district health promotion hospitals (Starred hospital). Nonthaburi: Ministry of Public Health: 2016.
7. Jeamanukulkit W. A study of the behavior, attitudes and perception of Rayong consumer and the labeled of instant coffee plus nutrients in Rayong. Food and Drug Administration Journal 2014; 1: 42-8.
8. Nontakitpaisan W. Development of food surveillance tool for risks of counterfeiting. Bangkok: Drug System Monitoring and Development Center; 2017.
9. Food and Drug Administration. Food act B.E. 2522, ministerial regulations, and announcements. Nontha buri: Food and Drug Administration: 2014.