การสำรวจความต้องการ แรงจูงใจ และอุปสรรคต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาและเภสัชศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Main Article Content

สิริมา สิตะรุโน
วรวุฒิ เจนจิรโชติ
รังสิมาฐ์ เรืองวัฒนาไชย
รวิสราท์ แก้วศรี
เบญจมาภรณ์ วรรณทิวา
กนกกาญจน์ ไชยกาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความต้องการ แรงจูงใจ และอุปสรรคต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาและเภสัชศาสตรบัณฑิตของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิธีการ: การศึกษาเก็บข้อมูลความต้องการ แรงจูงใจ และอุปสรรคต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาใช้แบบสอบถามซึ่งได้รับการประเมินความถูกต้องทางเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและทดสอบหาความเที่ยงในตัวอย่างกลุ่มเล็ก การวิจัยส่งแบบสอบถามในรูปกระดาษให้แก่นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่  5-6 ปีการศึกษา 2559 ทุกคน (จำนวน 291 คน) และส่งแบบสอบถามออนไลน์ให้กับเภสัชศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2558 ทุกคน (จำนวน 133 คน) ผลการวิจัย: นักศึกษาตอบแบบสอบถาม 235 คน (ร้อยละ 81.8) และบัณฑิตตอบแบบสอบถาม 55 คน (ร้อยละ 41.4) นักศึกษาและบัณฑิตต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา 26 คน (ร้อยละ 11.1) และ 11 คน (ร้อยละ 20.0) ตามลำดับ  (P=0.54) นักศึกษาจากสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 21 คนจาก 139 คน (ร้อยละ 15.5) และสาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 5 คน ใน 96 คน (ร้อยละ 5.2) มีความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา (P=0.010) ในขณะที่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 7 คนจาก 36 คน (ร้อยละ 19.4) และสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 4 คนจาก 19 คน (ร้อยละ 21.1) มีความต้องการศึกษาต่อ (P=0.673) หลักสูตรและสถานศึกษามีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อของนักศึกษามากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.31±0.67 จากคะแนนเต็ม 5) ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพมีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อของบัณฑิตมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.42±0.71) ในขณะที่ ปัจจัยด้านหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการและขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจเป็นอุปสรรคมากที่สุดในการศึกษาต่อของนักศึกษา (คะแนนเฉลี่ย 4.03 ± 0.80) และความพร้อมด้านเวลาและภาระงานเป็นอุปสรรคมากที่สุดในการศึกษาต่อของบัณฑิต (คะแนนเฉลี่ย 4.01 ± 0.84) สรุป: ความต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของเภสัชศาสตรบัณฑิตและผู้ที่เรียนในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์มีมากกว่าในสาขาบริบาลเภสัชกรรม แรงจูงใจในการศึกษาต่อขึ้นอยู่กับหลักสูตร สถานศึกษา ผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพ และเวลาที่ใช้ศึกษาต่อ ดังนั้น จึงควรมีการสำรวจลักษณะของหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Faculty of Pharmaceutical Sciences. Pharmacy program of Prince of Songkla University [online]. 2018 [cited April 25, 2018]. Available from: service. pharmacy.psu.ac.th/index.php/2012-11-10-09-19-16.

2.Sitaruno S, La-ongkaew S, Malison N, Thummawut W, Cherdchujit V, Puttarak P, Wongpoowarak P, Wanakamanee U, Yothapitak J. Satisfaction toward the Doctor of Pharmacy (Pharm.D.) graduates and Pharm.D. program: perspective of graduates, employers, colleagues and patients. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2013; 23: 75-85.

3. Faculty of Pharmaceutical Sciences. Summary of graduate students of Faculty of Pharmaceutical Sciences, Prince of Songkla University [online]. 2018 [cited Sep 8, 2018]. Available from: service.pharma cy.psu.ac.th/

4. McCarthy BC, Jr., Weber LM. Update on factors motivating pharmacy students to pursue residency and fellowship training. Am J Health Syst Pharm. 2013;70:1397-403.

5. Pharmacy Council of Thailand. Regulations on accredited pharmacy degree [online]. 2008 [cited June 15, 2018]. Available from: pharmacycouncil. org/share/file/file_269.pdf.

6. Kritikos VS, Saini B, Carter S, Moles RJ, Krass I. Factors influencing pharmacy students' attitudes towards pharmacy practice research and strategies for promoting research interest in pharmacy practice. Pharm Pract (Granada). 2015; 13: 587. doi: 10.1854 9/

7. Dupuis S, Martel A, Arfa T, Valma J, Williamson DR, Perreault MM. Factors influencing fourth-year pharmacy students' decisions to pursue a hospital pharmacy residency. Can J Hosp Pharm. 2016; 69: 209-15.