ผลของการใช้เครื่องมือสำหรับการบริบาลทางเภสัชกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อจัดการ กับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่ป้องกันได้ในผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป

Main Article Content

นุศรา หมัดบวช
สุทธิพร ภัทรชยากุล
สงวน ลือเกียรติบัณฑิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่ป้องกันได้ (preventable adverse drug events: pADEs) ในช่วงก่อนและหลังการใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นสำหรับการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป วิธีการ: ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยชายทุกคนที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปชาย โรงพยาบาลทั่วไปที่เป็นสถานที่วิจัยเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ในระยะก่อนพัฒนาเครื่องมือฯ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลไปข้างหน้าเพื่อค้นหา pADEs ด้วยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ สังเกตบนหอผู้ป่วยและจากรายงานอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้วยความสมัครใจของบุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านที่เป็นแพทย์และเภสัชกรคลินิก เป็นผู้ประเมินเหตุการณ์ที่พบอย่างเป็นอิสระต่อกันว่าเป็น pADEs หรือไม่  ต่อมา ผู้วิจัยนำข้อมูล pADEs ที่พบมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการบริบาลทางเภสัชกรรม และนำมาใช้จริง การเก็บข้อมูลหลังใช้เครื่องมือฯ ใช้วิธีการเดียวกับระยะก่อนพัฒนาเครื่องมือฯ ผลลัพธ์หลัก คือ อุบัตการณ์ของ pADEs ผลการวิจัย: ระยะก่อนและหลังใช้เครื่องมือฯ มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษา 247 ราย จำนวน 1,628 วันนอน และผู้ป่วย 231 ราย จำนวน 1,298 วันนอน ตามลำดับ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ warfarin protocol (แนวทางสั่งใช้ยา), warfarin dosing chart (ตารางแสดงขนาดยา), warfarin monitoring sheet (แบบติดตามการใช้ยา) และ warfarin note (บันทึกเกี่ยวกับยา), medication reconciliation (MR) order form, MR sticker และ potassium chloride elixir pre-printed sticker อุบัติการณ์ของ pADEs ลดลงจาก 3.07 ครั้งต่อ 1,000 วันนอนในช่วงก่อนใช้เครื่องมือฯ เป็นศูนย์ในช่วงหลังการใช้เครื่องมือ (P=0.030) ชนิดของ pADEs ก่อนการใช้เครื่องมือส่วนใหญ่อยู่ในระดับ E สรุป: การนำ pADEs ที่พบมาวิเคราะห์และสร้างเครื่องมือเพื่อจัดการปัญหาเชิงระบบ สามารถลด pADEs ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Becker SC. Contemporary view of medication– related harm. A new paradigm [online]. 2004 [cited July 23, 2016]. Available from: www.nccmerp.org

2. Martins ACM, Giordani F, Rozenfeld S. Adverse events among adult inpatients: a meta-analysis of observational studies. J Clin Pharm Ther 2014; 39: 609-20.

3. Boeker EB, Ram K, Klopotowska JE, de Bore M, Creus MT, de Andres AL, et al. An individual patient data meta-analysis on factors associated with adverse drug events in surgical and non-surgical inpatients. Br J Clin Pharmacol 2014; 79: 548-57.

4. de Bore M, Boeker BE, Ramrattan MA, Kiewiet S. JJ, Ram K, Gombert-Handoko KB, et. al. Effect of a ward-based pharmacy team on preventable adverse drug events in surgical patients (SUREPILL study). Br J Surg 2015; 102: 1204–12.

5. González-García L, Salmerón-García A, García-Lirola M, Moya-Roldán S, Belda-Rustarazo S, Cabeza-Barrera J. Medication reconciliation at admission to surgical departments. J Eval Clin Pract 2016; 22: 20–5.

6. Griffin FA, Resar RK. IHI global trigger tool for measuring adverse events (second edition) [online]. 2009. [cited July 23, 2016]. Available from: www. IHI.org

7. Jariyapongpaiboon P. Pharmaceutical care for general surgical male patients in Chang Rai regional hospital [master thesis]. Bangkok: Chula longkorn university; 1996.

8. Punpho P. Pharmaceutical care for general surgical male patients in Maharat Nakhon Ratchasima hospital. [master thesis]. Bangkok: Chulalongkorn university; 2002.

9. Weant KA, Bailey AM, Baker SN. Strategies for reducing medication errors in the emergency department [editorial]. Emerg Med 2014; 45 - 55.

10. Ningsanon T, Yothapitak J. Guidelines of adverse drug reactions monitoring. Bangkok: Poramatkarn pim; 2016.

11. Yothapitak J, Songsiriphan R. Principle, common event and prevention of preventable ADR. In: Ningsanon T, Yothapitak J, editors. Relevancy of adverse drug reaction. Bangkok: Poramatkarnpim; 2006. p. 57-94.

12. Yothapitak J. Role of pharmacist in preventing adverse drug reactions. In: Chulawathanathon W, Monthakarnthikul P, Jindawijak B, Suksomboon N, Saunsane T, (editors). Pharmaceutical quality system. Bangkok: Prachachon; 2006. p. 19-30.

13. Supachutikul A, Anakamanee K. HA update 2017. Nontaburi: Nangseodeewan; 2017. p 153-9.

14. de Boer M, Boeker BE, Ramrattan MA, Kiewiet S. JJ, Dijkgraaf W. MG, Boermeester MA, et. al. Adverse drug events in surgical patients: an obser vational multicenter study. Int J Clin Pharm 2013; 35: 744–52.

15. Morimoto T, Sakuma M, Matsui K, Kuramoto N, Toshiro J, Murakami J, et al. Incidence of adverse drug events and medication errors in Japan: the JADE study. J Gen Intern Med 2011; 26: 148–53.

16. Association of Hospital Pharmacy (Thailand). Position statement: Acute pharmaceutical care. In: Jindawijak B, Saunsane T, editors. The flourishing pharmacy profession: continuity of pharmaceutical care. Bangkok: Prachachon; 2013. p. 227-8.

17. Kania J, Kramer M. Collective Impact [online]. 2011 [cited Jan 13, 2018]. Available from: www.ma gnoliaplacela.org/wp-content/uploads/2016/07/Colle ctive-Impact.pdf

18. Kunchaimuang S. Collective Impact [online]. 2015 [cited Jan 13, 2018]. Available from: www.image plus.co.th/upload/files/1443760081_1.pdf.