การพัฒนาเครื่องมือ BC2017 เพื่อประมวลผลข้อมูลสารสนเทศของตัวชี้วัดการใช้ ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ใน แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาที่ 15
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาเครื่องมือ BC2017 เพื่อประมวลผลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (upper respiratory infection and acute bronchitis หรือ URI-AB) ในผู้ป่วยนอก และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea หรือ AD) ตามกลุ่มรหัสโรค ICD-10 ที่กำหนดในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาที่ 15 วิธีการ: การศึกษานี้พัฒนา BC2017 โดยใช้โปรแกรม LibreOffice เพื่อประมวลผลความสัมพันธ์ของข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยซึ่งได้จาก 43 แฟ้มมาตรฐานของโรงพยาบาลทั้งหมด 11 แฟ้ม ได้แก่ PERSON, SERVICE, ADMISSION, ANC, DRUGALLERGY, DIAGNOSIS_IPD, DIAGNOSIS_OPD, DRUG_OPD, DRUG_IPD, PROCEDURE_IPD, และ PROCEDURE_OPD การวิจัยระบุการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยรหัส ATC codes J01 และกำหนดการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรหัสโรคกับเงื่อนไขการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์และเภสัชกร 8 ท่าน การวิจัยทดสอบการประมวลผลของเครื่องมือในโรงพยาบาลนำร่อง 10 แห่ง ผลการวิจัย: เครื่องมือสามารถวิเคราะห์ตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับโรค URI-AB ในผู้ป่วยนอก และ AD ได้ใกล้เคียงกับข้อมูลเดิมของโรงพยาบาล แต่เพิ่มความสามารถในการประมวลผลตัวชี้วัดเสริมหรือการค้นหาข้อมูลเชิงคุณภาพที่พัฒนาขึ้น เช่น การค้นหากรณีการรับบริการมากกว่า 1 ครั้ง ในช่วง 1 เดือนของ URI-AB ส่วน AD สามารถแยกวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงกรณีผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 70 ปี ตั้งครรภ์ มีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส หรือมีโรคร่วม คือ HIV, neutropenia เครื่องมือสามารถค้นหาผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวเนื่องจากยา เช่น ชนิดของยากับข้อบ่งใช้ในรหัสโรคนั้น ผลการตรวจร่างกายหรือปัจจัยเฉพาะบุคคลในวันที่เข้ารับบริการที่อาจส่งผลต่อแผนการรักษา แต่การประมวลผลแต่ละครั้งต้องไม่มากกว่า 30,000 ข้อมูล สรุป: BC2017 สามารถประมวลผลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และช่วยประมวลผลเชิงปริมาณที่สามารถแจงแจงรายละเอียดของปัญหาได้ เครื่องมือนี้ยังสามารถใช้ติดตามการสั่งใช้ยาร่วมกับประมวลผลตัวชี้วัดอื่น ๆ ในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพได้ เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยา
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Working Committee on the Management of the Project on Rational Drug Use Hospital and Researcher Team from Health Systems Research Institute. Performance index manual for rational drug use hospital [online]. 2015 [cited Aug 10, 2017]. available at: drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in .th/sites/default/files/attachments/khuumuuetawchiwad_rdu_hospital_june_17__2015.pdf
3. WHO Collaborating Centre for Drug Statistics Methodology. ATC/DDD Index 2017. [online]. 2017 [cited June 1, 2017]. Available form: www.whocc.n oatcddd_index/
4. Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. Practical manual for health database management (Version 2.2). Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2016.
5. World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems 10th Revision. [online]. 2016 [cited June 1, 2017]. Available form: apps.who.int/classifyca tions/icd10/browse/2016/en
6. Cooper RJ, Hoffman JR, Bartlett JG, Besser RE, Gonzales R, Hockner JM. Principles of appropriate antibiotic use for acute pharyngitis in adults. Ann Intern Med. 2001; 134: 509-17.
7. Chobey BA. Diagnosis and treatment of strepto- coccal pharyngitis. Am Fam Physician. 2009; 79: 383-90.
8. Chow AW, Benninger MS, Brook I, Brozek JL, Goldstein EJC, Hicks LA, et al. IDSA clinical prac- tice guideline for acute bacterial rhinosinusitis in children and adults.Clin Infect Dis.2012; 54: e72-e112.
9. Jain S, Upadhyaya P, Goyal J, Kumar A, Jain P, Seth V, Moghe VV. A systematic review of pres- cription pattern monitoring studies and their effectiveness in promoting rational use of medi- cines. Perspect Clin Res. 2015; 6: 86-90.