ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาการติดเชื้อ Acinetobacter baumannii ด้วยยาฉีด colistin
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิกและการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยาฉีด colistin ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Acinetobacter baumannii วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าจากเวชระเบียนของผู้ป่วยใน 49 รายที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ.2559 ที่แพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อ A. baumannii และได้รับยาฉีด colistin ผลการวิจัย: ตัวอย่าง 18 จาก 49 รายติดเชื้อ A. baumannii จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ตัวอย่างได้รับยาฉีด colistin เป็นเวลา 10.6 วันโดยเฉลี่ย ผู้ป่วย 17 รายมีอาการทางคลินิกดีขึ้นหลังได้รับการรักษา ผู้ป่วยเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ไม่ตอบสนอง และประเมินผลไม่ได้จำนวน 9, 8 และ 15 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีด colistin เดี่ยว (11 ราย) มีการตอบสนองทางคลินิกดีกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีด colistin ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น ๆ (38 ราย) ยาที่ให้ร่วมและมีผู้ป่วยหายจากโรคติดเชื้อมากที่สุดคือยา meropenem การเพาะเชื้อซ้ำหลังสิ้นสุดการรักษาพบว่าไม่พบเชื้อ A. baumannii (14 ราย) ภาวะพิษต่อไตที่เป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา colistin พบในผู้ป่วยทั้งสิ้น 23 ราย ประสิทธิภาพของการรักษาไม่สัมพันธ์กับรูปแบบการรักษา ชนิดยาที่ได้รับร่วม หรือโรคที่ผู้ป่วยเป็น สรุป: ยาฉีด colistin ยังเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการรักษาภาวะติดเชื้อ A. baumannii แต่ทีมสหวิชาชีพควรเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตอย่างใกล้ชิด
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. National Antimicrobial Resistance Surveillance Center. Result of antimicrobial resistance surveil- lance [online]. 2007 [cited Jan 11, 2016]. Available from: narst.dmsc.moph.go.th
3. Fishbain J, Peleg A. Treatment of Acinetobacter infections. Clin Infect Dis 2010;51:79-84.
4. Koomanachai P, Tiengrim S, Kiratisin P, Thamlikit kul V. Efficacy and safety of colistin (colistimethate sodium) for therapy of infections caused by multi drug-resistant Pseudomonas aeruginosa and AcenI tobacter baumannii in Siriraj Hospital, Bangkok, Thailand. Int J Infect Dis 2007;11: 402-6.
5. Puttilerpong C, Chawanasith W, Laohawaleesan W, Rungsang W, Ritteeverakul P. Antimicrobial use in hospital-acquired pneumonia with multidrug-resis tant Acinetobacter baumannii at King Chulalong- korn Memorial Hospital. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2011; 6: 32–8.
6. Chaiyasong C, Chaiyasong S. Outcome and costs of colistin and tigecycline for treatment of gram-nagative infections. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2013; 9: 66-73.
7. Thamlikitkul V, Popum S. Monitoring of effective ness and safety of colistin for therapy in resistant gram-negative bacterial infections in hospitalized patients at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 2016; 99: 301-7.
8. Gilbert DN, Chambers HF, Eliopoulos GM, Saag MS, Pavia AT, Black D, et al. The Sanford guide line to antimicrobial therapy 2016. 46th ed. Sperry ville: Antimicrobial Therapy Inc.; 2016.
9. Kellum JA, Lameire N, Aspelin P, Macleod AM, Barsoum RS, Mehta RL, et al. Kidney disease improving global outcomes (KDIGO) clinical prac tice guideline for acute kidney injury. Kidney Inter Suppl 2012;2: 8-12.