การประเมินความเหมาะสมของขนาดยากาบาเพนตินที่ใช้ในผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ชนัตถา เอ้งฉ้วน
ณิชกานต์ ทรัพย์โชคอนันต์
พัชรินทร มิ่งเมือง
ธนะวิชช์ ปานน้อย
ศรีรัตน์ กสิวงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเหมาะสมของขนาดยากาบาเพนตินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ โรงพยาบาล
แห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนานี้เก็บข้อมูลจากใบสั่งที่มียากาบาเพนตินทุกใบของผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังที่มีค่า GFR ต่ำกว่า 60 mL/min/1.73 m2 ตามเกณฑ์ของ International Society of Nephrology ผู้วิจัยประเมินความเหมาะสมของขนาดยากาบาเพนตินตามค่า CrCl (creatinine clearance) ตามที่แนะนำใน Micromedex ผลการวิจัย: ในการศึกษามีการสั่งใช้ยากาบาเพนตินทั้งหมด 149 ครั้ง เป็นการสั่งจ่ายที่มีขนาดยาเหมาะสม 32 ครั้ง (ร้อยละ 21.48) ขนาดยาต่ำเกินไป 51 ครั้ง (ร้อยละ 34.23) และขนาดยาสูงเกินไป 22 ครั้ง (ร้อยละ 14.77) จำนวนครั้งที่ไม่สามารถประเมินความเหมาะสมของขนาดยาได้ คือ 47 ครั้ง (ร้อยละ 27.17) เมื่อจำแนกผลการศึกษาตาม CrCl และระยะโรคไตเรื้อรัง พบว่า ในผู้ป่วยที่มี CrCl 15-29 mL/min มีจำนวนครั้งที่ได้รับขนาดยากาบาเพนตินเหมาะสมมากที่สุด (30 จาก 32 ครั้งหรือร้อยละ 93.75) ผู้ป่วยที่มีระยะโรคไตเรื้อรังในระยะ G3b–G4 มีจำนวนครั้งที่ได้รับขนาดยากาบาเพนตินเหมาะสม 29 จาก 32 ครั้ง (ร้อยละ 90.63) สรุป: การสั่งจ่ายยากาบาเพนตินส่วนใหญ่เป็นการจ่ายยาในขนาดที่ต่ำเกินไป  ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ยาในขนาดต่ำร่วมกับยาลดอาการ neuropathic pain กลุ่มอื่น ๆ และความปลอดภัยจากการใช้ยากาบาเพนตินขนาดสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่รุนแรงเพื่อเป็นแนวทางในการปรับขนาดยาและเฝ้าระวังการปลอดภัยในการใช้ยากาบาเพนตินโดยเภสัชกรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Bureau of Drug Control. National list of essential medicines [online]. 2016 [cited Aug 12, 2016]. Available from: www.fda.moph.go.th/sites/Drug/Site Pages/National_Policy_Download.aspx?IDdata=4.

2. Davison SN. Management of chronic pain in chronic kidney disease. In: Gordon G, editors. Up-To-Date [database on Internet]. Waltham (MA): UpToDate; 2016 [cited Aug 12, 2016]. Available from: www.upto date.com.

3. Lal R, Sukbuntherng J, Luo W, Chen D, Blumenthal R, Ho J, Cundy KC. Clinical pharmacokinetics of gabapentin after administration of gabapentin enacar bil extended-release tablets in patients with varying degrees of renal function using data from an open-label, single-dose pharmacokinetic study. Clin Ther 2012; 34:201-13.

4. Zand L, McKian KP, Qian Q. Gabapentin toxicity in patients with chronic kidney disease: A preventable cause of morbidity. Am J Med 2010;123:367-73.

5. International Society of Nephrology. KDOQI 2012 clinical practice guidelines for the evaluation and management of chronic kidney disease [online]. 2016 [cited Aug 12, 2016]. Available from: www.kdi go.org/clinical_practice_guidelines/pdf/CKD/KDIGO_2012_CKD_GL.pdf.

6. National Kidney Foundation. Clinical practice guidelines for chronic kidney disease: Evaluation, classification and stratification [online]. 2016 [cited Aug 12, 2016]. Available from: www.kidney.org/site s/default/files/docs/ckd_evaluation_classification_stra tification.pdf.

7. Gabapentin. In: Micromedex® Solutions [database on the Internet]. Greenwood Village, CO: Thomson Micromedex; [cited Aug 12, 2016] Available from: www.micromedexsolutions.com/micromedex2/librarian

8. Ong-Ajyooth L, Vareesangthip K, Khonputsa P, Aek plakorn W. Prevalence of chronic kidney disease in Thai adults: a national health survey. BMC Nephrol 2009;10:35. doi: 10.1186/1471-2369-10-35.

9. Gunal AI, Ozalp G, Yoldas TK, Gunal SY, Kirciman E, Celiker H. Gabapentin therapy for pruritus in haemodialysis patients: a randomized, placebo-controlled, double-blind trial. Nephrol Dial Trans plant 2004;19:3137-9.

10. Bassilios N, Launay-Vacher V, Khoury N, Rondeau E, Deray G, Sraer JD. Gabapentin neurotoxicity in a chronic haemodialysis patient. Nephrol Dial Trans plant 2001;16:2112-3.