การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งในโรงพยาบาลและการดูแลที่บ้าน

Main Article Content

กานต์ธีรา ชัยเรียบ
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
วนรัตน์ อนุสรณ์เสงี่ยม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เพื่อเชื่อมโยงการรักษาระหว่างโรงพยาบาลและบ้าน วิธีการ: การศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มในบุคลากรทางการแพทย์ 13 ราย ได้แก่แพทย์ เภสัชกร และพยาบาล เพื่อรวบรวมข้อเสนอต่อการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมแบบเน้นการมีส่วนร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลและที่บ้าน ผู้วิจัยนำรูปแบบที่ได้ลงไปปฏิบัติและประเมินผลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณในผู้ป่วยจำนวน 22 ราย ในด้านความรู้ ปัญหาสืบเนื่องจากการใช้ยา ผลลัพธ์ทางด้านคลินิก และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ก่อนและหลังการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ผลการวิจัย: ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า  รูปแบบบริบาลทางเภสัชกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลและที่บ้านประกอบด้วย การให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่องโรค การใช้ยา การปฏิบัติตัวเรื่องน้ำและอาหาร การค้นหาและแก้ไขปัญหาสืบเนื่องจากการใช้ยา การติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย การส่งข้อมูลผู้ป่วยและปัญหาที่ต้องติดตามให้กับเภสัชกรปฐมภูมิเพื่อออกเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมแพทย์ประจำครอบครัว ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชายอายุระหว่าง 37-76 ปี โรคร่วมที่พบมากที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง 11 ราย รายการยาที่ได้รับเฉลี่ย 10.00±2.07 รายการ ความรู้ของตัวอย่างเพิ่มขึ้นจาก 12.91±3.75 เป็น 14.96±3.76 คะแนนหลังการแทรกแซง (P=0.007) (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) ปัญหาสืบเนื่องจากการใช้ยาก่อนการบริบาลทางเภสัชกรรมมี 101 ปัญหา หลังการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมเดือนที่ 1-3 ที่โรงพยาบาลพบ 30 ปัญหา และช่วงเดือนที่ 4-6 ที่บ้านพบ 32 ปัญหา ปัญหาที่พบมากที่สุดทุกช่วงการศึกษาคือการไม่ได้รับยาที่แพทย์สั่งหรือได้รับยาไม่ครบ หลังการแทรกแซง ผู้ป่วยส่วนมากมีฮีโมโกลบิน เฟอริติน TSat โพแทสเซียม และไบคาร์บอเนตอยู่ในเกณฑ์ แต่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตตัวบนสูงกว่าเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์อยู่ในช่วงต่ำกว่าเกณฑ์ตลอดการศึกษา  ส่วนฟอสเฟตมีระดับสูงกว่าเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ แคลเซียมมีระดับต่ำกว่าเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนคุณภาพชีวิตในช่วงก่อนและหลังการแทรกแซงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องยาเพิ่มขึ้น และลดปัญหาสืบเนื่องจากการใช้ยา การพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับทีมสหวิชาชีพทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านเพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Kidney Association of Thailand. Hemodialysis transplant clinical guidelines 2014. [online] 2014. [cited Aug 17, 2015]. Available from: www.nephro thai.org/nephrothai_boffice.

2. Vadcharavivad S. The role of pharmacists in hemodialysis clinics. In: Jindawijuk B et al., Editors. New steps of pharmacists in outpatient services. Bangkok: Thai Association of Hospital Pharmacists; 2003:115-34.

3. Pulsawat S. Chronic renal failure patients with dialysis and kidney transplants. Bangkok, Health Work Publising; 2013.

4. Hemachandra A. Effects of pharmaceutical care on drug-related problems in hemodialysis patients at Pranongklao hospital. [master thesis] Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2010.

5. Kaplan B, Shimp LA, Mason NA, Ascione FJ. Chronic hemodialysis patients part I: characteriza- tion and drug-related problems. Ann Pharmacother 1994; 28: 316-19.

6. Pai AB, Boyd A, Depczynski J, Chavez IM, Khan N, Manley H. Reduced drug use and hospitalization rates in patients undergoing hemodialysis who received pharmaceutical care: 2-year, randomized, controlled study. Pharmacother 2009; 29:1433–40.

7. Polit DF, Beck CT. Developing and testing self-report scales in nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 8th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health; 2008.

8. Arkaravichien W. Pharmacotherapy and drug related problems. In: Arkaravichien W, editors. Clinical pharmacy. 2nd ed. Khonkaen: Khonkaen Printing; 1998. p.24-41.

9. Schneider PJ, Gift MG, Lee YP, Rothermich EA, Sill BE. Cost of medication-related problems at a university hospital. Am J Health Syst Pharm. 1995 52: 2415-8.

10. National Kidney Foundation. KDOQI clinical prac- tice guideline for diabetes and CKD: 2012 update. Am J Kidney Dis 2012; 60: 850-86.

11. Manyanon W, Waleekhachonloet O, Rattanachot panich T. Psychometric properties of the Kidney Disease Quality of Life Short Form (KDQOL-SFTM) Thai version. Thai Journal of Pharmacy Practice 2010; 2: 15-22.

12. Areekul M. Pharmacist counseling in hemodialysis patients at Phramongkutklao and Rajvithi hospitals. [master thesis] Bangkok: Chulalongkorn University; 1999.

13. Pothimat T. Pharmaceutical care in patients with the end stage renal disease in ambulatory hemodialysis unit at Surin hospital. [dissertation] Mahasarakham: MahaSarakham University; 2006.

14. Khavidaki SD, Khalili H, Shahverdi S, Abbasi MR, Pezeshki ML. The rule of clinical pharmacy services in achieving treatment targets in Iranian hemodialysis patients. Singapore Med J 2012; 53: 599-603.

15. Stemer G, Gruber RL. Clinical pharmacy activities in chronic kidney disease and end-stage renal disease patients: a systematic literature review. BMC Nephrology 2011; 12: 1-12.

16. Shareef J, Kripa GS, Baikunije S. Impacted of pharmacists’ counseling on quality of life in patients undergoing hemodialysis in a tertiary care teaching hospital. World J Nephrol Urol 2014; 3: 143-50.

17. Porter AC, Fitzgibbon ML, Fischer MJ, Gallardo R, Berbaum ML, Lash JP, et al. Rationale and design of a patient-centered medical home intervention for patients with end-stage renal disease on hemodia- lysis. Contemp Clin Trials 2015; 42: 1–8.

18. Vanichakarn S, Chirawong P, Panichpathompong U, Limcharoensuk S, Kongpatanakul S. Development of Thai quality-of-life questionnaires for patients with chronic renal failure. Siriraj Hospital Gazette 1997; 49: 735-44.