ผลลัพธ์ของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ในสถานบริการของรัฐ ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลลัพธ์จากการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลใน 2 โรคเป้าหมาย คือ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน (acute upper respiratory tract infection หรือ URI) และโรคท้องร่วงเฉียบพลัน (acute gastroenteritis หรือ AGE) ในสถานบริการของรัฐ ในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบวัดผลก่อนและหลังในตัวอย่างกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรรณนานิคม จำนวน 98 คน ที่ได้รับการอบรมการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ปีละ 1 ครั้ง 3 ปีต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างได้รับแบบสอบถามเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเป้าหมาย ผู้วิจัยประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลด้วยโปรแกรม Electronic Tool และวัดปริมาณการสั่งใช้ยาสมุนไพร ผลการวิจัย: หลังการอบรมกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจแนวทางการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้น (P<0.001) มีทัศนคติที่ดีในการไม่สั่งใช้ยาปฏิชีวนะใน 2 โรคเป้าหมายเพิ่มขึ้น (P<0.001) อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะไม่สมเหตุสมผลใน URI ลดลง จากปี 2556 ถึงปี 2559 โดยอัตราดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 51.9, 29.9, 16.6 และ 9.2 ตามลำดับ (P<0.05) อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นหรือไม่สมเหตุสมผลใน AGE ลดลงจากปี 2556 ถึงปี 2559 โดยอัตราดังกล่าวเท่ากับร้อยละ 45.7, 20.1, 9.9 และ 4.6 ตามลำดับ (P<0.05) มูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะในสถานบริการของรัฐลดลงร้อยละ 23.4 มูลค่าการสั่งใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.4 (P<0.05) สรุป: บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลใน 2 โรคเป้าหมาย จึงส่งผลให้อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นลดลง โดยมีการสั่งใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น และมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของสถานบริการของรัฐลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Ministry of Public Health and Ministry of Agriculture and Cooperatives. National strategic plan on anti microbial resistance 2017-2021 Thailand [online]. 2017 [cited Jun 20, 2017]. Available from: dmsic. moph.go.th/dmsic/index.php?&p=1&type=3&t=3&id=24&n_id=6849&sec=2
3. World Health Organization. Antimicrobial resistance: global report on surveillance [online]. 2014 [cited Jun 20, 2017]. Available from: www.who.int/drugresist ance/documents/surveillancereport/en/.
4. Office of the Permanent Secretary of Ministry of Public Health, Bureau of Information. Antimicrobial resistance situation in Thailand [online]. 2013 [cited Jun 21, 2017]. Available from: narst.dmsc.moph.go .th/news001.html.
5. National Health Security Office Region 8 Udon Thani. Manual on payroll management by performance criteria for service units and transfers 2014 [online]. 2014 [cited Jun 22, 2017]. Available from: 110. 77.142.132/nhso8/downloaddetailall.php ?startrow=80&iList=81.
6. Fhan Arjaro hospital, Department of Medical Statistics. Top 10 most common diseases found in outpatient department of the fiscal year 2011. Sakon Nakon: Fhan Arjaro hospital, 2011.
7. Fhan Arjaro hospital, Department of Medical Statistics. Top 10 most common diseases found in outpatient department of the fiscal year 2012. Sakon Nakon: Fhan Arjaro hospital, 2012.
8. Fhan Arjaro hospital, Department of Medical Statistics. Top 10 most common diseases found in outpatient department of the fiscal year 2013. Sakon Nakon: Fhan Arjaro hospital, 2013.
9. Fhan Arjaro hospital, Department of Community Pharmacy. Top 10 prescription medicines ranked by utilization and expenditures of the fiscal year 2011. Sakon Nakon: Fhan Arjaro hospital, 2011.
10. Fhan Arjaro hospital, Department of Community Pharmacy. Top 10 prescription medicines ranked by utilization and expenditures of the fiscal year 2012. Sakon Nakon: Fhan Arjaro hospital, 2012.
11. Fhan Arjaro hospital, Department of Community Pharmacy. Top 10 prescription medicines ranked by utilization and expenditures of the fiscal year 2013. Sakon Nakon: Fhan Arjaro hospital, 2013.
12. Eiadthong T. Outcome of the antibiotics smart use project by health network, Singha Nakorn hospital, Singhanakorn district, Songkhla. Journal of Clinical Pharmacy. 2014;21:154-62.
13.Sumpradit N, Anuwong K, Chongtrakul P, Khanab kaew K, Pumtong S. Outcomes of the Antibiotics Smart Use project: a pilot study in Saraburi province. Journal of Health Science. 2010;19:899-910.
14. Patayawich P. Rational use of antibiotics in health service network of Chaloem Phra Kiat District. Journal of Clinical Pharmacy. 2014;21:1-8.
15. Poonpattanapreecha P. The Outcomes of Antibiotics Smart Use in acute upper respiratory tract infections, diarrhea, and clean wound in Ban Phraek Hospital, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of the Government Pharmaceu- tical Organization. 2013; 20: 6-9.
16. Viriyachaiyo S. Antibiotics smart use: ASU in out- patients with upper respiratory tract infection and acute diarrhea at Pakham Hospital. Journal of the Government Pharmaceutical Organization. 2015;41 : 38-44.
17. Sri Saeng Muang P. Evaluation of antibiotics smart use program in the 50th anniversary Mahavajira- longkorn hospital. Journal of Clinical Pharmacy 2014 ; 21:26-31.