การค้นหาสมรรถนะของเภสัชกรปฐมภูมิที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ: การศึกษาเชิงคุณภาพ

Main Article Content

Siranee Yongpraderm1,
Korn Sornlertlumvanich

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาสมรรถนะของเภสัชกรที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิในภาครัฐ วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ร่วมการวิจัย 18 รายที่เลือกมาด้วยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 12 คนที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปีในการปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิในภาครัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ทำงานร่วมกับเภสัชกร 3 คน และผู้บริหารในวงการสาธารณสุข 3 คน ผู้ให้ข้อมูลได้รับการสัมภาษณ์เชิงลึก การตรวจสอบสามเส้าข้อมูลส่วนที่สำคัญทำโดยรวบรวมข้อมูลจากสามแหล่งข้อมูลที่ต่างกันทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจถึงความน่าเชื่อถือของการศึกษา ผลการวิจัย: สมรรถนะ 11 ประการที่จำเป็นสำหรับงานเภสัชกรรมปฐมภูมิในภาครัฐปรากฏในการศึกษาโดยมีบริบทเป็นตัวกำหนด สมรรถนะเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคลของเภสัชกรปฐมภูมิ  ความสามารถในการทำงานกับผู้อื่น สมรรถนะด้านเทคนิคในทางวิชาชีพ และความสามารถในการคิดรวบยอด ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยทำให้เข้าใจว่าจะต้องพัฒนาความสามารถใดเพื่อให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติงานด้านปฐมภูมิได้ดี ลักษณะเฉพาะของความสามารถในการแก้ปัญหาซึ่งมีความท้าทาย เกิดจากบริบทในการทำงานนั้นๆ คุณลักษณะในเรื่องการมีจิตสาธารณะเป็นสมรรถนะที่จำเป็นในบุคลากรที่จะได้รับการคัดเลือกให้ทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ สรุป: สมรรถนะที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีความหมายต่อความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิในภาครัฐ สมรรถนะเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับวิชาชีพเภสัชกรและหน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐเพื่อใช้เสริมสร้างบทบาทในงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจะได้รับประโยชน์จากข้อเสนอแนะจากการศึกษาในเรื่องหน้าที่หลักในการทำงานและวิธีการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บทเรียนที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ยังช่วยกระตุ้นให้สถาบันการศึกษาปรับปรุงการจัดเรียนการสอนในหลักสูตรและการพัฒนานักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Canadian Pharmacists Association. Pharmacists and primary health care [online]. 2004 [cited Nov 2, 2011]. Available from: www.pharmacists.ca/content /about_cpha/whats_happening/cpha_in_action/pdf/primaryhealth2a.pdf.

2. Yhangkratoke S. Performance by standard of primary care units [online]. 2003 [cited Jul 17, 2012]. Available from: medinfo2.psu.ac.th/commed/ activity/year2/a10pcu.pdf).

3. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at a primary care level. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 10:69-79.

4. Health Consumer Protection Program. Development of pharmacy services in community by pharmacists [online]. 2009 [cited Nov 12, 2011]. Available from: www.noasbestos.org/hcp/images/mydata/work/PCU /1.2wanna.pdf.

5. Srivanichakorn S, Yana T, Chalordej B. Primary care service situation in Thailand in the year 2010. Nakorn Pathom: Office of Research and Develop ment in Community Health system; 2011.

6. Prapanwattana M. Primary care pharmacy concept. Pharmacy Council's Newsletter 2011; 2: 3-5.

7. Manolakis PG, Skelton JB. Pharmacists' contributions to primary care in the United States collaborating to address unmet patient care needs: the emerging role for pharmacists to address the shortage of primary care providers. Am J Pharm Educ. 2010; 74:S7.

8. Varizani N. Competencies and competency model-a brief overview of its development and application. SIES Journal of Management, 2010; 7: 121-131.

9. Spencer LM, Spencer SM. Competence at work: models for superior performance. New York: Wiley; 1993.

10. Creswell JW. Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. 2th ed. CA: Sage Publications; 2007.

11. van Manen M. Researching lived experience: Human science for an action sensitive pedagogy. 2nd ed. London: Althouse Press; 1997.

12. Patton MQ. Qualitative research and evaluation methods. 3rd ed. Thousand Oaks, CA: Sage; 2002.

13. Lincoln YS. Guba EG. Naturalistic Inquiry. Newbury Park, CA: Sage; 1985.

14. Jordan A, Carlile O, Stack A. Approaches to learning a guide for teachers. Maidenhead: Open University Press; 2008.

15. McClelland DC. Testing for competence rather than for "Intelligence" [online]. 1973 [cited Jul 5, 2017]. Available from citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/ download?
doi=10.1.1.315.7091&rep=rep1&type=pdf

16. Page C, Wilson M, Kolb D. Managerial competen- cies and New Zealand managers: On the inside, looking in. Wellington: Ministry of Commerce; 1994.