ความหมายและการรับรู้สู่พฤติกรรมการใช้ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในมุมมองของคนชนบท
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความหมายและการรับรู้เกี่ยวกับยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในมุมมองของผู้ใช้ยาและเหตุผลของพฤติกรรมร้องขอยา วิธีการ: สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีนในปริมาณมากจำนวน 13 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) แห่งหนึ่ง ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา: ผู้ใช้ยาส่วนใหญ่เรียกยาในกลุ่มนี้ว่า “ยานอนหลับ” หรือ “ยาคลายเครียด” และใช้ยาดังกล่าวเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ ส่วนใหญ่คิดว่าอาการนอนไม่หลับ ทุรนทุรายและไม่สบายใจเป็นความเจ็บป่วยหรือเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษา หากไม่รักษาจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรืออาจไม่สามารถทำงานได้ เหตุผลลึก ๆ ของอาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสังคม เช่น ครอบครัวห่างเหิน สมาชิกในครอบครัวติดเหล้า นอกจากนี้บริบท สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนเปลี่ยนแปลง เช่น สภาวะทางเศรษฐกิจทำให้ต้องออกจากบ้านไปทำงานในเมืองทำให้สมาชิกในครอบครัวแยกกันอยู่ เกิดความวิตกกังวลเป็นห่วง คิดมาก และนอนไม่หลับ จนกระทั่งนำไปสู่การใช้ยา สรุป: ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์มองสาเหตุของโรคและอาการเจ็บป่วยที่ต่างกัน ความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมักมีสาเหตุและผลกระทบที่ผูกโยงกับมิติการดำเนินชีวิตและสังคม การให้ยาเพื่อรักษาภาวะความผิดปกติของร่างกายโดยมองข้ามมิติทางด้านสังคมและบริบทรอบข้าง อาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา ดังเช่นกรณีการให้ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยไม่พิจารณาปัญหาด้านครอบครัวและสังคม ทำให้เกิดปัญหาการพึ่งพายา จนเกิดพฤติกรรมการแสวงหาและร้องขอยาของผู้ป่วยในเวลาต่อมา
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Saipanish R, Zartrungpak S, Silpakit C. A survey of psychotropic drug prescription of general practition- ers in primary care settings. Journal of the Psychia- tric Association of Thailand 1998; 43: 316-24.
3. Aumpon V. Study of measures resolving the abuse of psychotropic substances consumption on benzo- diazepines group. FDA Journal 2013; 20: 21-9.
4. Assanangkornchai S, Chittrakarn S, Thaikla K, Tanti rangsee N. Prescription drug abuse: introduction and situation in Thailand. Bangkok: Office of the Narco- tics Control Board; 2012.
5. Sringernyuang L. Social and cultural dimension of community drug use: development of knowledge based on theory and research. Bangkok: Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University; 1999.
6. Kleinman A. Patient and healers in the context of culture: An exploration of the borderland between anthropology, medicine, and psychiatry. California: University of California Press; 1980.
7. Aonsawat A. Research methodology. Phitsanulok: Department of Education Faculty of Education, Naresuan University; 2008.
8. Wasee P.A new theory of medicine [online]. 2006 [Cited Apr 6, 2017]. Available from medinfo.psu.ac. th/pr/WebBoard/readboard.php?id=6564
9. Illich ID. Medical nemesis: the expropriation of health. New York: Pantheon Books; 1976.
10. Chuengsatiansup K. Health cultural and remedies: social concepts and medical anthropology. Nontha- buri: Health Systems Research Institute, Ministry of Public Health; 2007.
11. Hathirat S. Family medicine handbook. Bangkok: Moh-chao-Ban; 2005.