การถอดบทเรียนจากโครงการจัดการความปลอดภัยด้านยาในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างปี 2558-2560

Main Article Content

เทพศักดิ์ อังคณาวิศัลย์
ผณินชิสา มุสิกะไชย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อถอดบทเรียนหาปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการจัดการความปลอดภัยด้านยาในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างปี 2558-2560 วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมคือมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจัดทำโครงการ “การจัดการความปลอดภัยด้านยาในชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” ระหว่างปี 2558-2560 โดยกำหนดเป็นแผนให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ในทุกอำเภอภายใน  4 ปี ในแต่ละปีต้องมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ของแต่ละอำเภอ เข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการร้อยละ 25 การวิจัยเชิงปริมาณทำโดยเก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มเสี่ยงในทั้ง 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเรื้อรัง  ในแต่ละอำเภอ ผู้วิจัยเลือกตำบลมาหนึ่งแห่งโดยใช้วิธีเลือกอย่างแบบเจาะจง หลังจากนั้นจับสลากเลือกหมู่บ้านมา 4 หมู่บ้านจากแต่ละตำบล จากนั้นสุ่มเลือกครัวเรือนมาแบบสุ่มจำนวน 10 ครัวเรือนต่อ 1 หมู่บ้าน ผู้วิจัยวัดความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับสเตียรอยด์ สำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องสงสัยในครัวเรือน และตรวจสอบด้วยชุดทดสอบสเตียรอยด์เบื้องต้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การวิจัยเชิงคุณภาพทำโดยรวบรวมผลการดำเนินงานตามโครงการฯ การลงพื้นที่เพื่อประเมินผลการดำเนินงานในอำเภอต่าง ๆ การรับฟังการนำเสนอของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ข้อมูลจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของแต่ละอำเภอ และการประกวดผลงานของแต่ละอำเภอ ผลการวิจัย: การศึกษาพบปัจจัยความสำเร็จของการจัดการปัญหายาไม่ปลอดภัยในชุมชน คือ 1) การที่ทุกฝ่ายในชุมชนมีเป้าร่วมกันอย่างแท้จริง 2) ทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันต้องเห็นพ้องร่วมกันว่าจะติดตามความก้าวหน้าหรือความสำเร็จของโครงการอย่างไร 3) กิจกรรมของทุกฝ่ายในชุมชนที่ร่วมมือที่มีความแตกต่างหลากหลายตามความชำนาญของแต่ละกลุ่ม แต่ต้องเติมเสริมพลังกัน 4) การประชุมอย่างต่อเนื่องและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 5) การมีองค์กรแกนกลางที่ทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดเงื่อนไขตามปัจจัยแห่งความสำเร็จในทั้ง 4 ข้อแรก โดยผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปี 2560 การสำรวจครัวเรือนในพื้นที่ของโครงการฯ พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจปนเปื้อนสเตีย รอยด์ 130 รายการ ผลตรวจพบสเตียรอยด์ในอัตราร้อยละ 20.8 ซึ่งใกล้เคียงกับปี 2559 (ร้อยละ 20.5) แต่ลดลงจากปี 2558 (ร้อยละ 29.8) ซึ่งเป็นปีที่เริ่มทำโครงการ ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรังรู้จักสเตียรอยด์เพียงร้อยละ 21.0  สรุป: ผู้เกี่ยวข้องในภาครัฐควรสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระดับชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้และมีความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาที่ไม่เหมาะสมในชุมชน โดยการสร้างเงื่อนไขตามปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานที่พบในการศึกษานี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Prasertsuk S, Thanmaneesin K, Ariyanuchitakul C. Fluidity of steroids problem and policy suggestion in Thailand. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11(supplement): 245-59.

2. Suchaitanavanit S. Developing the model for house- hold drug distribution in Sukhothai. Sukhothai: Sukho thai Public Heath Office; 1994.

3. Chadbunchachai S, Asawaphak V, Ungpinitpong V, Prakirake S, Siriwichai S, Thongnopnua N, et al. The musculoskeletal pain behaviors and a model for solving the problem in the community: study in 2 villages, Northeast Thailand. Bangkok: Health Systems Research Institute; 2000.

4. Hongsamoot D. Problems identification and surveil- lance development: case study on the spread of steroid drug. Nonthaburi: Food and Drug Administra- tion; 1996.

5. Dokphong D. Handling of steroid problem: building system to take care of patients by network within community. Thai Drug Watch Newsletter 2012; 5: 11-4.

6. Ratchatanavin R, Sooksriwong C, Pongcharoensuk P, Chailurkit L, Thakkinstian A. Prevalence of overt manifestation of steroid abuse without medical indication. Bangkok: National Research Council of Thailand; 2006. Google Scholar

7. Tongyoung P. Don’t let steroid problem untouched. Bangkok: Drug Monitoring and Development Centre; 2012.

8. Khonglormyati J. Summary of drug safety project in Phra Nakhon Si Ayutthaya. Proceedings of Academic Meeting of the Fourth Health Region; 2558.

9. Angkanavisul T. Suggestions on concepts and approaches in improving effectiveness of the handling of drug safety in communities. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Phra
Nakhon Si Ayutthaya Provincial Public Health office; 2015.

10. Matapatara W, Likitthanaset M. Immunochromato- graphy test kit for detection of dexamethasone and prednisolone in herbal medicinal products. Journal of Health Sciences 2010; 19: 59-70.

11. Kania J, Kramer M. Collective impact. Stanford Social Innovation Review 2011; 9: 36-41.

12. Turner S, Merchant K, Kania J, Martin E. Understanding the value of backbone organizations in collective impact: part 4 [online]. 2012 [cited Jan 4, 2018]. Available from: ssir.org/articles/entry/understa nding_the_value_of_backbone_organizations_in_collective _impact_4.

13. Chaiyasothi T, Chuemongkon W, Sumret A, Taruvitayakom C. The primary test on adulteration of steroids in powders, pills, tablets, liquids and capsules in Bangkok communities. Thai Pharmaceu- tical and Health Sciences Journal 2014; 9: 151-6

14. Klinsoonthorn N, Khemthong T, Nutsatapana C. Quantitative study on adulterated steroids in herbal medicines from area of public health 4, 5. FDA Journal 2012; 19: 31-7

15. Hieymhaan S. Survey of steroid in Yachud. Faculty of Pharmacy, KhonKaen University; 1994.

16. Thongyindee A. Quantitative analysis of steroid in Yachud in Amphor Maung Nakhon Pathom by TLC and HPLC [Bachelor’s thesis]. Nakhon Pathom Rajabhat University; 2004.

17. Soda O, Srisayam M, Rodkaew A, Lailak C, Machana S. Identification of steroid in ya-chud and herbal medicines in Bansok Subdistrict, Lomsak District, Phetchabun Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 216-24