การพัฒนาเครื่องมือวัดการตัดสินใจร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ด้านการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในบริการปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเครื่องมือเพื่อวัดการตัดสินใจร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้านการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในบริการปฐมภูมิ วิธีการ: ผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านการตัดสินใจร่วม การตัดสินใจ การวางแผน และการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในบริการปฐมภูมิ เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ อสม. งานวิจัยปรับกระบวนการตัดสินใจของ Plunkett and Attner เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การค้นหาและระบุสาเหตุของปัญหา การค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด แบบสอบถามฉบับที่พัฒนาเพื่อวัดการตัดสินใจร่วมของ อสม. เป็นมาตรวัดแบบลิเกิร์ท 5 ระดับ การวิจัยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทั้งหมด จำนวน 3 ครั้ง ผลการศึกษา: การทดสอบแบบสอบถามครั้งที่ 1 ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน พบว่า แบบสอบถามการตัดสินใจร่วมมีมิติเดียว คือ ด้าน อสม. ร่วมตัดสินใจกับชุมชน ผู้วิจัยจึงปรับปรุงและทดสอบแบบสอบถามครั้งที่ 2 ใน อสม. จำนวน 57 คน ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบัคแอลฟาทั้งด้าน “อสม. เปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมตัดสินใจ” และด้าน “อสม. ร่วมตัดสินใจกับชุมชน” มีค่าเท่ากันเท่ากับ 0.86 และสัมประสิทธิ์ครอนบัคแอลฟาทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.93 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อคำถามใด ๆ กับค่าคะแนนรวมของข้อคำถามอื่น ๆ ในมิตินั้น มีค่าระหว่าง 0.44–0.66 การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ด้าน “อสม. เปิดโอกาสการให้ชุมชนร่วมตัดสินใจ” มีค่าเท่ากับ 0.64 ด้าน “อสม. ร่วมตัดสินใจกับชุมชน” เท่ากับ 0.75 และทั้งฉบับรวมสองด้านเท่ากับ 0.70 ผู้วิจัยได้ปรับปรุงแบบสอบถามเพื่อลดความซ้ำซ้อนของคำถามและทดสอบแบบสอบถามครั้งที่ 3 ใน อสม. จำนวน 69 คน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามด้าน “อสม. เปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมตัดสินใจ” เท่ากับ 0.93 ด้าน “อสม. ร่วมตัดสินใจกับชุมชน” เท่ากับ 0.93 และรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 ท่าน พบว่า ด้าน “อสม. เปิดโอกาสให้ชุมชนร่วมตัดสินใจ” มีค่าเท่ากับ 0.96 ด้าน “อสม. ร่วมตัดสินใจกับชุมชน” มีค่าเท่ากับ 0.98 และรวมทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.97 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของข้อคำถามใด ๆ กับค่าคะแนนรวมของข้อคำถามอื่น ๆ ในมิตินั้นมีค่าระหว่าง 0.54–0.82 ซึ่งพบว่าค่าความสอดคล้องของข้อคำถามมีค่าเพิ่มขึ้นกว่าการพัฒนาเครื่องมือในครั้งที่ 2 และทุกข้อคำถามมีค่ามากกว่า 0.50 สรุป: เครื่องมือวัดการตัดสินใจร่วมอาสาสมัครสาธารณสุขด้านการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพในบริการปฐมภูมิมีความน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเครือข่ายการทำงานอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนในด้านการตัดสินใจร่วมและด้านการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพของงานบริการปฐมภูมิ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. The Medical Council of Thailand. New declaration of right and code of conducts for patients endorsed by 6 professional councils [online]. 2015 [cited Apr 27, 2017]. Available from: http://www.tmc.or.th/de tail_news.php?news_id=834.
3. Office of the National Economics and Social Development Board, Ministry of Public Health, Mahidol University. Thailand’s healthy lifestyle strategic health plan, B.E. 2011–2020: 2010. Bangkok: Office of National Buddhism Press; 2010.
4. Rossiter A. What is shared decision making? [online]. 2012 [cited Nov 1, 2016]. Available from: www.bupa.co.th/th/individuals/health-wellbeing/de tail.aspx?tid=137#.WVIDK-uGOUk.
5. Patanaponasa N. Participation: basic principles, techniques and case studies. 2nd ed. Chiang Mai: Sirilak Printing; 2004.
6. Prachuap Khiri Khan Provincial Health Office. Promotion of community health (updated version 55) [online]. 2012 [cited Nov 1, 2016]. Available from: www.prachuapkhirikhan.go.th/web-54/pmqa/ 55/pmqa55/02.pdf.
7. Chakoat P. Process of decision making [online]. 2010 [cited Nov 4, 2016]. Available from: www.go toknow.org/posts/331478l.
8. Sirivetsunthorn A. Health promotion working practi- cal guidelines for health care professionals in health promoting hospital. Bangkok: Silpakorn University; 2012.
9. Sinpai W, Kompo P. Potential development of village health volunteers on high blood pressure prevention and control at Ban Nangew Moo 1, 7 Nangew sub-district Sangkom district Nongkhai province. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2013.
10. Khaopatumthip K. Partipation of public health volunteers for Tambon health promoting hospital in Bhuddha-Montion district Nakhonpathom province. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2013.
11. Saba GW, Wong ST, Schillinger D, Fernandez A, Somkin CP, Wilson CC, et al. Shared decision making and the experience of partnership in primary care. Ann Fam Med 2006; 4: 54-62.
12. Kriston L, Scholl I, Hölzel L, Simon D, Loh A, Härter M. The 9-item shared decision making question- naire (SDM-Q-9): development and psychometric properties in a primary care sample. Patient Educ Couns 2010; 80: 94-9.