ผลของแอปพลิเคชันแจ้งเตือนร่วมกับคู่มือให้ความรู้เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

Main Article Content

จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
อริศรา รังสีปัญญา
จุฬาลักษณ์ ดอนนาค
จิราภา รบไพรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด โดยใช้แอปพลิเคชันแจ้งเตือนร่วมกับการให้ความรู้  วิธีการ:ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้หญิง 72 คนที่มีอายุ 18-35 ปี ที่เข้ามาซื้อยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อการคุมกำเนิดที่ร้านยา 6 แห่ง ในอำเภอขามเรียงและอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2559 ผู้วิจัยแบ่งตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน โดยการสุ่มแบบบล็อกสี่ กลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรตามปกติ ร่วมกับคู่มือการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดและติดตั้งแอปพลิเคชัน Mypill® ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรตามปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับแบบรายงานการรับประทานยาด้วยตนเอง การศึกษาวัดความร่วมมือในการใช้ยาและความรู้ก่อนและหลังทำการศึกษา 1 รอบเดือน ผลการวิจัย:  กลุ่มทดลองมีผู้ที่ความร่วมมือในการใช้ยาระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.0 เป็นร้อยละ 100.0 (P=0.016) หลังการแทรกแซงกลุ่มทดลองร่วมมือใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (ร้อยละ 100.0 ในกลุ่มทดลอง และร้อยละ 89.0 ในกลุ่มควบคุม, P=0.036)  คะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 3.4±1.69 เป็น 6.2±1.99 คะแนน (P<0.001) จากคะแนนเต็ม 10 กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้รวมเฉลี่ยหลังการศึกษามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.2±1.99 กับ 3.7±1.42, P<0.001) ผู้เข้าร่วมการศึกษาพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชันระดับมากทั้งในด้านวิธีการเข้าถึง และการใช้ได้โดยไม่ติดขัด แต่ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าแอปพลิเคชันนี้ไม่ช่วยให้รู้วิธีแก้ไขเมื่อลืมรับประทานยาและเมื่อเกิดอาการข้างเคียงจากยา สรุป: แอปพลิเคชันแจ้งเตือนร่วมกับการให้ความรู้ สามารถเพิ่มความร่วมมือและความรู้ในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. National Statistical Office. The 2009 reproductive health survey [online]. 2009 [cited May 10, 2015] Available from: service.nso.go.th/nso/nsopublish/them es/files/fertility/fertilityRep52.pdf.

2. Bureau of Reproductive Health, Department of Health, Ministry of Public Health. Situation of reproductive health in adolescent and youth in 2015 [online]. 2014 [cited May 10, 2015] Available from: rh.anamai.moph .go.th/allfile/index/abintv_Sep54.pdf.

3. Wongboonnak P. Oral contraceptive use in women of reproductive age, Huachiew focus [online]. 2008 [cited May 10, 2015] Available from: www.igotgrants. com/ board/index.php?topic=1140.0.

4. Kiatying-Angsulee N, Chaisumritchoke ST, Amrumpai Y, Chanthapasa K, Jamniandamrongkarn S. Thai drug system and women health: A case study of contraceptives. Bangkok: Chulalongkorn University; 2003.

5. Rosenberg M, Waugh MS. Causes and consequences of oral contraceptive noncompliance. Am J Obstet Gynecol 1999; 180: 276–9.

6. Dayer L, Seth H, Paul A, Paul G, Bradley M. Smartphone medication adherence apps: Potential benefits to patients and providers. J Am Pharm Assoc. 2013; 53: 172–81.

7. Kaunitz AM. Patient education: Hormonal methods of birth control (beyond the basics). 2017. [cited May 10, 2015] Available from: www.uptodate.com/contens /hormonal-methods-of-birth-control-beyond-the-basics

8. Castano PM, Bynum JY, Andres R, Lara M, Westhoff C. Effect of daily text messages on oral contracep- tive continuation: a randomized controlled trial. Obstet gynecol 2012; 119: 14-20.

9. Hou MY, Hurwitz S, Kavanagh E, Fortin J, Goldberg AB. Using daily text-message reminders to improve adherence with oral contraceptives: a randomized controlled trial. Obstet gynecol 2010; 116:633-40.

10. Choi A, Dempsey A. Strategies to improve compliance among oral contraceptive pill users: a review of the literature. J Contracept 2014;5:17-22.