การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ของชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ตลอดจนปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนดังกล่าว วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดการสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ แกนนำกลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ตลอดจนสมาชิกกลุ่มฯ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มฯ การถอดบทเรียนทำโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ผลการวิจัย: กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ชุมชนบ้านเขาดินก่อตั้งเมื่อปี 2554 เริ่มต้นมีสมาชิก 30 ครัวเรือน ซึ่งเป็นกลุ่มครอบครัวเกษตรกรที่ปลูกผักปลอดสารพิษมาก่อน ในการก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ ชุมชนได้ร่วมกันทำประชาคมเพื่อหาทางออกในการจัดการปัญหาเรื่องสุขภาพของเกษตรกรและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ชุมชนได้เลือกทำเกษตรอินทรีย์เพื่อส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพ ประกอบกับในช่วงนั้นภาครัฐมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและด้านความรู้ ผลจากการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรฯ ส่งผลทำให้ชุมชนเกิดการจัดระบบในการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนที่อาจปนเปื้อนไปกับพืชที่ทางกลุ่มปลูก นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนากลุ่มให้เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปรับเปลี่ยน คือ ผู้นำกลุ่มเกษตรกรมีทักษะในการทำงานชุมชน การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาที่เกิดกับชุมชนและหาทางแก้ร่วมกันโดยการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน การได้รับงบประมาณและความรู้จากหน่วยงานราชการ และการมีตลาดรองรับผลผลิตที่เกิดขึ้น สรุป: กลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ศึกษากำเนิดจากการจัดทำประชาคมเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดในพื้นที่และการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของกลุ่มที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แต่พบว่าการพัฒนาของกลุ่มฯ ยังมีข้อจำกัดได้แก่ การขยายกลุ่มซึ่งอาจเกิดจาก เกษตรอินทรีย์ของกลุ่มไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด จึงส่งผลให้เกิดการผูกขาดด้านการตลาด นอกจากนี้การทำเกษตรอินทรีย์ของชุมชนเป็นการปลูกในกระถางที่ต้องปลูกในโรงเรือน ซึ่งใช้งบประมาณมาก ทำให้การขยายกลุ่มเป็นไปได้ยาก ซึ่งขัดกับแนวคิดการพัฒนากลุ่มที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงควรศึกษาต่อไปว่า เหตุใดกลุ่มจึงไม่มีการเติบโตเท่าที่ควร
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Thailand Pesticide Alert Network (Thai-PAN). Thai-Pan disclosed results on testing vegetables and fruits that those with Q symbols had the highest rate of contamination of chemical residues—the brand “doctor” had chemical residuals more than the limits for three consecutive years [online]. 2016 [cited Feb 19, 2017]. Available from: thaipublica.org /2016/05/thai-pan-4-5-2559/.
3. Biodiversity Sustainable Agriculture-Food Sovereign- ty Action Thailand. Situation of farmers' health problems and pesticide control [online]. [cited Feb 19, 2017]. Available from: www.biothai.net/node/ 6139.
4. Department of Agriculture. Certification of organic production [online]. [cited Feb 19, 2017]. Available from: http://gap.doa.go.th/web_manual/doc/RE/RE-7.pdf.
5. Khammeng T. Summarized lesson-learn and enlargement on sufficiency economy applications of the upper northeastern farmers in agricultural new theory system. Khon Kaen Agriculture Journal. 2010; 38: 125-8.
6. Lianchamroon W. Agricultural reform for food security: Analysis and policy reform. Nontaburi: Bio Thai Foundation: 2011.