การยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของคลินิกแพทย์และทันตแพทย์

Main Article Content

กิตติยาพร ทองไทย
น้องเล็ก คุณวราดิศัย
แสวง วัชระธนกิจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการยอมรับการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EHRs) ของแพทย์และทันตแพทย์ในคลินิก ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการใช้ EHRs ตลอดจนค้นหาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการยอมรับการใช้ EHRs วิธีการ: เก็บข้อมูลจากแพทย์และทันตแพทย์ที่เปิดคลินิกในเขตสุขภาพที่ 10 ทั้งหมด จำนวน 441 แห่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม 2560 ด้วยแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผู้วิจัยปรับใช้แบบจำลองการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นกรอบในการศึกษา แบบสอบถามวัดความคิดเห็นประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ ต้นทุน EHRs การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้ EHRs การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ EHRs และความตั้งใจในการใช้ EHRs ผลการวิจัย: มีแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 361 ฉบับ พบว่าร้อยละ 71.47 ไม่ได้ใช้งาน EHRs ในคลินิก  ร้อยละ 25.24 ของผู้ที่ใช้ EHRs ใช้เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ หมายเลขโทรศัพท์  ระดับความคิดเห็นต่อประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ ต้นทุนที่ประหยัดได้จากการใช้ EHRs การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้ EHRs การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ EHRs และความตั้งใจในการใช้ EHRs มีค่าเท่ากับ 3.95±0.75, 3.63±0.92, 3.84±0.75, 3.65±0.75 และ 3.80±1.08 ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 5) ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้ EHRs การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ EHR และความตั้งใจในการใช้ EHRs เป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายโอกาสการยอมรับการใช้งาน EHRs ได้อย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  สรุป: คลินิกแพทย์และทันตแพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับการใช้งาน EHRs  ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการใช้ EHRs ของคลินิกแพทย์และทันตแพทย์ คือ ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ การรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้ EHRs การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ EHRs และความตั้งใจในการใช้ EHRs รัฐบาลควรมีนโยบายหรือออกกฎหมายการใช้ EHRs เพื่อเพิ่มการใช้ EHRs รวมทั้งจัดให้มีระบบแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลระหว่างสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ทั้งระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Menachemi N, Power TL, Brooks RG. Physician and practice characteristics associated with longi- tudinal increases in electronic health records adoption. J Healthc Manag 2011; 56: 183-97.

2. King J, Furukawa MF, Buntin MB. Geographic variation in ambulatory electronic health record adoption-implications for underserved communities. Health Serv Res 2013; 48: 2037-59.

3. Theera-Ampornpunt N. Electronic health records. Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital. Mahidol University; 2011.

4. Bureau of Policy and Strategy. Medical record audit guideline. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2012.

5. Ratchaya S. The Influence of electronic medical record system on individual performance through system utilization [independent study]. Thammasat University; 2013.

6. DesRoches CM, Painter MW, Jha AK. Health Information Technology in the United States: Better Information Systems for Better Care, 2013. Robert Wood Johnson
Foundation; 2013.

7. Davis FD. Perceived usefulness, perceived ease of use, and user perception of acceptance of informa-tion technology use. MIS Quarterly 1989; 13: 319–40.

8. Venkatesh V, Morris MG, Davis GB, Davis FD. User acceptance of information technology: toward a unifying view. MIS Quarterly 2003; 27: 425–78.

9. Ajami S, Bogheri–Tadi T. Barriers for adopting electronic health records (EHRs) by physicians. Acta Inform Med 2013; 21: 129 - 34.