ความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนต่อการให้บริการทางเภสัชกรรม ของร้านยาเดี่ยวในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

Main Article Content

ประภัสสร จินานุรักษ์
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนต่อการให้บริการทางเภสัชกรรมของร้านยาเดี่ยวในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นเชิงสำรวจภาคตัดขวาง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกัน คือ ร้านยาคุณภาพประเภทร้านยาเดี่ยว เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ซึ่งตอบโดยเภสัชกรชุมชนผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยาคุณภาพ แบบสอบถามครอบคลุมประเด็นความสามารถในการปฏิบัติ ความเหมาะสม รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการของ 18 กิจกรรมในโครงการการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาคุณภาพและโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องโดยร้านยาคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ผลการวิจัย: มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับจำนวน 235 ฉบับ (ร้อยละ 55.17) โดยแบ่งเป็นร้านยาที่ปัจจุบันเข้าร่วมโครงการฯ อยู่จำนวน 93 ร้าน เคยเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 35 ร้าน และไม่เคยเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 107 ร้าน ร้านยาที่เคยเข้าร่วมโครงการฯ และที่ปัจจุบันยังเข้าร่วมโครงการฯ อยู่ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกิจกรรมทั้งหมดในโครงการ เป็นกิจกรรมที่เภสัชกรชุมชนสามารถปฏิบัติได้อยู่ในระดับปานกลางถึงง่ายที่สุด และเกือบทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ยกเว้น กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน โดยเภสัชกรจากร้านยาที่เคยเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 40 มีความเห็นว่า กิจกรรมเยี่ยมบ้านเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในโครงการฯ ต่อไป ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มที่ปัจจุบันเข้าร่วมโครงการฯ อยู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานในโครงการฯ ร้านยาที่เคยเข้าร่วมโครงการฯ และที่ปัจจุบันยังเข้าร่วมโครงการฯ อยู่มีความเห็นว่า ได้แก่ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ (ร้อยละ 63.28) ความยุ่งยากในการประสานงาน (ร้อยละ 60.16) ไม่ได้รับการยอมรับจากสถานพยาบาลอื่นๆ หากมีการส่งต่อผู้ป่วย (ร้อยละ 53.91) ระยะเวลาการให้บริการนาน (ร้อยละ 45.31) ไม่มีทักษะในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 35.94) และค่าตอบแทนน้อยเกินไป (ร้อยละ 27.34) สรุป: กิจกรรมการให้บริการทางเภสัชกรรมของร้านยาเดี่ยวในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ในระดับปานกลางถึงง่ายที่สุด และมีความเหมาะสมในดำเนินการฯ ต่อไป ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานส่วนใหญ่ คือ ด้านจำนวนบุคลากร การประสานงานส่งต่อ และการประชาสัมพันธ์ ดังนั้นผู้รับผิดชอบโครงการควรพิจารณาให้มีการประชาสัมพันธ์แนะนำโครงการฯ การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ และแก้ไขปัญหาด้านจำนวนบุคลากร เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนของโครงการฯ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Pharmaceutical Care Research Unit. Pharmacy services in community pharmacies (drug stores) under various national health insurance systems [online]. 2011 [cited Feb 1, 2016]. Available from: www.pharcpa.com/files/201203PharmServReviewFinal.pdf.

2. Community Pharmacy Association (Thailand). Project of health promotion services in quality pharmacy in Bangkok [online]. 2014 [cited Feb 1, 2016]. Available from: www.pharcpa.com/cpaproject.html.

3. Community Pharmacy Association (Thailand). Operation manual health promotion service projects in quality drug stores [online]. 2014 [cited Feb 1, 2016]. Available from: www.issue.com/phar cpa/docs/3fbfaba30c2ca5.

4. Community Pharmacy Association (Thailand). Contract of continuing care for patients with chronic diseases by quality pharmacy to strengthen National Health Security System [online]. 2016 [cited Mar 16, 2016]. Available from: www.pharcpa.com/files/2559.

5. Community Pharmacy Association (Thailand). List of pharmacies participating in 2015 and pharmacists available for consultation on medicines and health [online]. 2016 [cited Mar 16, 2016]. Available from:www.pharcpa.com/files/2559 /02/Name of drug store in NHS - Consultation for people.xlsx.

6. Community Pharmacy Association (Thailand). Progress of the national health insurance coverage project year 2015 [online]. 2015 [cited Feb 1, 2016]. Available from: www.cpaproject.com /News.aspx?Id=58.

7. Community Pharmacy Association (Thailand). Summary of Community Pharmacy Association (Thailand) 2015. Journal of Community Pharmacy 2014;15: 23-32.

8. Pharmacy Quality Assurance Office. List of quality drug stores [online]. 2016 [cited Mar 16, 2016]. Available from: www.papc.pharmacycouncil.org/ind ex.php?option=drugstore&subpage=drugstore.

9. Community Pharmacy Association (Thailand). List of pharmacies participating in 2016 year and pharmacists available for consultation on medicine and health [online]. 2016 [cited Mar 16, 2016]. Available from: www.pharcpa.com/files/2559/02/ Name of drug store in NHS - Consultation for people.xlsx.

10. Konglomyat C. Factors related to participation in the health service system development of drug stores in health service area 4. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 358-70.

11. Aukarawichian W, Aukarawichian T, Charupach C, Chomkuntod K, Chareantom P. Commenting on the role and activities of primary care pharmacy quality in national health insurance system. Journal of Public Health Systems Research 2010; 4: 101-7