การวิเคราะห์กระบวนการขออนุญาตเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร

Main Article Content

กนกพร จันทศรี
นุศราพร เกษสมบูรณ์

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์กระบวนการขออนุญาตเกี่ยวกับเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท สรุปปัญหาที่พบ สร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาเบื้องต้น และพัฒนาข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของกระบวนการขออนุญาตฯ  วิธีการ:  การศึกษานี้แบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารก่อนออกสู่ตลาด ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอันตรายและการใช้วัตถุเจือปนในอาหาร และรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายและกระบวนการขออนุญาตฯ ในการศึกษาระยะที่สอง ผู้วิจัยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบชนิดและปริมาณวัตถุเจือปน และประเมินเครื่องมือในผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ 25 ราย ผู้วิจัยประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อโปรแกรมหลังจากทดลองใช้โปรแกรม ผลการวิจัย: นโยบายรัฐบาลและการปรับลดสถานะของอาหารประเภทเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เป็นอาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน มีผลให้ขั้นตอนการขออนุญาตสั้นลงและใช้เวลาน้อยลง และผู้ประกอบการไม่ต้องแนบผลวิเคราะห์อาหารในการขออนุญาต แต่เพิ่มความรับผิดชอบให้แก่ผู้ผลิตในการตรวจสอบชนิดและปริมาณวัตถุเจือปนด้วยตนเอง ผู้ขออนุญาติในภูมิภาคส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ขาดความรู้ในการคำนวณปริมาณวัตถุเจือปน เจ้าหน้าที่ต้องรับภาระช่วยตรวจสอบให้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการอนุญาต โปรแกรมคำนวณปริมาณวัตถุเจือปนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ใช้ สามารถใช้งานได้ดี ผู้ใช้พึงพอใจต่อโปรแกรมฯ มากถึงมากที่สุดในทุกประเด็นที่ประเมินในงานวิจัย สรุป: การพัฒนากระบวนการขออนุญาตให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายรัฐบาลในปัจจุบันนั้น ควรมีการแก้ปัญหาใน 3 ระยะคือ มาตรการระยะเร่งด่วน ได้แก่ การสนับสนุนเครื่องมือให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค มาตรการระยะกลาง ได้แก่ การพัฒนาความรู้แก่ผู้ประกอบการ และมาตรการระยะยาว ได้แก่ การปรับแก้กฎหมายและนโยบาย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Licensing Facilitation Act, B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 4A (Jan 22, 2015).

2. Notification of Ministry of Public Health No.356 in 2013 on Beverages in sealed container. Royal Gazette No.130, Special Part 87D (July 24, 2013).

3. Bureau of Food. Re-process Bureau of Food [online]. 2014 [cited Nov 2, 2016]. Available form: iodinethailand.fda.moph.go.th/RP/

4. Food and Drug Administration. Natural food colorings [online] 1944 [cited Oct 30, 2016]. Available from: elib.fda.moph.go.th/library/default. asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15565&id_L3=451

5. Bureau of Food. Guidelines for the use of additives and relevant laws. 2nd ed. Nontaburi: Food and Drug Administration; 2013.

6. Notification of Ministry of Public Health No.281 in 2004 on Food additives. Royal Gazette No.121, Special Part 97 D (Sep 6, 2004).

7. Health Consumer Protection Department. Pre-marketing food database at fiscal years of B.E. 2559. Udonthani Public Health Office; 2016.

8. Natinan J. Concerned on Thai children-soaring number of over-weighted children in Thailand causing low levels of IQ: Increasing tax on soft drink and prohibiting snacks
selling nearby schools [online]. 2012 [cited Oct 30, 2016]. Available from: www.tcijthai.com/news/2012/24/sco op/1317

9. Anon. If you want to be rich, think like rich orange juice seller [online]. 2012 [cited Oct 30, 2016]. Available from: grcbylady.blogspot.com/2010/12/bl og-post.html?m=1

10. Walt G, Gibson L. Reforming the health sector in developing countries: the central role of policy analysis. Health Policy Plan 1994; 9: 353-70.

11. Mccan D. Food additives and hyperactive behaviour in 3-year-old and 8/9-year-old children in the community: a randomised, double-blinded, placebo-controlled trial. Lancet. 2007; 370:1560-7.

12. Peeratikarncharoenkul R, Benjapong W, Viset- chart P, Phattanakulanan P, Karnpanit W. Risk assessment of synthetic food colors from food consumption of school children in urban and rural areas of Suratthani Province, Thailand. Thai Journal of Toxicology 2009; 24: 37-46.