ผลลัพท์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับ ยาวาร์ฟารินขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลชุมชน

Main Article Content

ศุภกร อ่อนงาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยเภสัชกรในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาวาร์ฟาริน (warfarin related problems; WRPs)  ขณะที่ผู้ป่วยพักรักษาตัวในโรงพยาบาลชุมชน วิธีการ:การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูล WRPs  แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินทุกราย จำนวนทั้งหมด 104 ราย ที่เข้ารับการรักษาตัว ณ หอผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2558 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2559 ผลการศึกษา:ผู้ป่วยร้อยละ 75.96 รับยาวาร์ฟารินล่าสุดที่โรงพยาบาลชุมชน ผู้ป่วยร้อยละ 71.15 ได้รับยาวาร์ฟารินเพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่พบโรคลิ้นหัวใจร่วมด้วยสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยร้อยละ 77.83 ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมาจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาวาร์ฟาริน และร้อยละ 22.12 มาจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับยาวาร์ฟารินโดยตรงการศึกษาพบการสั่งตรวจค่า INR ในผู้ป่วยร้อยละ 72.12 ณ วันแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัว ผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.98 สำหรับค่าเป้าหมาย 2–3  และพบผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.67 สำหรับค่าเป้าหมาย 2.5–3.5 การศึกษาพบกรณีไม่สั่งตรวจค่า INR ณ วันแรกที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวร้อยละ 20.19 และกรณีอื่น ๆ ร้อยละ 7.69 (เริ่มยาใหม่ครั้งแรก ตรวจพบค่า prothrombin time>180 วินาที)  ในวันจำหน่ายผู้ป่วยมีการสั่งตรวจค่า INR ในผู้ป่วยร้อยละ 61.54  โดยพบผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 50  สำหรับค่าเป้าหมาย 2–3 และไม่พบผู้ป่วยที่มีค่า INR อยู่ในช่วงการรักษาสำหรับค่าเป้าหมาย 2.5–3.5  WRPs ที่พบมีทั้งหมด 188 ปัญหา เภสัชกรแก้ไขได้ 174 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 92.55  ปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ การไม่ตรวจติดตามประสิทธิภาพการรักษาหรือการสั่งตรวจค่า INR  โดยพบทั้งหมด 72 ปัญหา ซึ่งเภสัชกรสามารถแก้ไขได้ทั้งหมด 65 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 90.28 ปัญหาเรื่องอันตรกิริยาระหว่างยาพบ 62 ปัญหา เภสัชกรแก้ไขไปได้ 58 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 93.55และปัญหาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 21 ปัญหา เภสัชกรสามารถแก้ไขปัญหาได้ 20 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 95.24ในวันแรกรับผู้ป่วยร้อยละ 28 มีค่า INR อยู่ในเป้าหมายการรักษา (รวมทั้ง 2 เป้าหมายของการรักษา) ในวันจำหน่ายผู้ป่วยพบว่ามีค่า INR อยู่ในเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.31 สรุป:การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินขณะเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนั้น ทำให้ผู้ป่วยมีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายของการรักษาก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้ และสามารถแก้ไข WRPs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนให้เห็นว่า เภสัชกรมีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยและสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากยาและเหมาะสมตามแต่ละบุคคลได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage. Thai guideline for anticoagulation therapy 2010. Bangkok: National Health Security Office; 2010.

2. Sunglor S, Kunaprasert K. Evaluation of a pharmacy intensive monitoring of warfarin therapy at outpatient department. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2012; 22: 234-42.

3. Siebenhofer A, Rakovac I. Self-management of oral antitcoagulation in the elderly. Thromb Haemost 2008; 100: 1089-98.

4. Ansell J, Wittkowsky AK. Managing oral anticoagulation therapy: clinical and operational guidelines. 2nd ed. St” Louis: Wolters Kluwer Health; 2005.

5. Lertsinudom S, Chumworathayi P, Chaiyakum A. drug use review of warfarin in medicine ward at Srinagarind hospital. Srinagarind Med J 2010; 25: 6-13.

6. Tantiviyavanit J, Chaiyasu R. Effects of pharmaceutical care on patients taking warfarin at pattani hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice 2013; 5: 108-19.

7. Thammatinno V. Clinical outcomes and patients satisfaction of telephone-based warfarin management. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2014; 24: 137-47.

8. Saokaew S, Sapoo U, Nathisuwan S, Chaiyakunapruk N, Permsuwan U. Anticoagulation control of pharmacist-managed collaborative care versus usual care in Thailand. Int J Clin Pharm 2012; 34 :105-12.

9. Saokaew S, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N, Nathisuwan S, Sukomthasarn A. Effectiveness of pharmacist-participated warfarin therapy manage- ment: a systematic review and meta-analysis. J Thromb Haemost 2010; 8: 2418–27.

10. Dager WE, Branch JM, King JH, White RH, Quan RS, Musallam NA, Albertson TE. Optimization of inpatient warfarin therapy: impact of daily consul- tation by a pharmacist-managed anticoagulation service. Ann Pharmacother 2000; 34: 567-72.

11. Hanrinth R. Classification for drug related problems. Thai Journal of Pharmacy Practice 2009; 1: 84-96.

12. Abdel-Aziz MI, Ali MAS, Hassan A, Elfaham TH. Factors influencing warfarin response in hospitalized patients. Saudi Pharmaceutical Journal 2015; 23: 642-49.

13. Hepler CD, Strand LM. Opportunities and respon- sibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm 1990; 47: 533-43.

14. MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2017. DRUGDEX® System, Metronidazole; [Cited 2017 April 17]. Available from: http://www.micromedex solutions.com

15. Tatro DS.Drug interaction facts. St. Louis, Missouri: Wolters Kluwer health; 2009.

16. MICROMEDEX® [Database on the internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2017. DRUGDEX® System, Amiodarone; [Cited 2017 April 17]. Available from: http://www.micromedex solutions.com

17. Kirchhof P, Benussi S, Kotecha D, Ahlsson A, Atar D, Casadei B, et al. 2016 ESC guidelines for the management of atrial fibrillation developed in collaboration with EACTS. Eur J Cardiothorac Surg. 2016; 50: e1-e88.

18. Self TH, Reaves AB, Oliphant CS, Sands C. Does heart failure exacerbation increase response to warfarin? A critical review of the literature. Curr Med Res Opin 2006; 22: 2089-94.

19. Injaiuea S, Tantipiwattanaskul K, Rakwanwong A, Luengsirithanya S. Clinical outcomes of pharma- ceutical care at warfarin outpatient clinic Bang- plama hospital at Suphanburi. Siam Pharmacy Journal 2016; 1: 42-56.

20. Kamput V, Nakariyakul K. Clinical outcomes of warfarin monitoring in outpatients at Buddhachina- raj Phitsanulok hospital. Buddhachinaraj Medical Journal 2009; 26: 253-59.

21. Sittidach M, Muhammad P, Malanusorn N, Kietta- nawattana P, Boonupathamkul T. Effect of pharmaceutical care on patients with mechanical prosthetic valve who received warfarin at Songkla- nagarind hospital. Songklanagarind Medical Journal 2012; 30: 63-73.

22. Entezari-Maleki T, Dousti S, Hamishehkar H, Gholami K. A systematic review on comparing 2 common models for management of warfarin therapy; pharmacist-led service versus usual medical care. J Clin Pharmacol 2016; 56: 24-38.