คุณค่าและสมรรถนะของอาจารย์ผู้ปฏิบัติด้านการบริบาลเภสัชกรรม ในโรงพยาบาลสำหรับการสอนทางเภสัชกรรมคลินิกในประเทศไทย

Main Article Content

ฐาปนีย์ ชลสุวรรณ
กร ศรเลิศล้ำวาณิช

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายคุณค่าและสมรรถนะของอาจารย์ผู้ปฏิบัติด้านการบริบาลเภสัชกรรมในโรงพยาบาล
ของประเทศไทย (อาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ) วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล 27 คน ประกอบด้วยอาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ ผู้เกี่ยวข้องในมิติต่าง ๆ กับการทำงานของอาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ และตัวแทนสภาเภสัชกรรม ผู้วิจัยยังได้สังเกตการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ 2 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้มุมมองของ McClelland’s iceberg model of competencies ผลการวิจัย: อาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ เป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการสอนเภสัชศาสตร์ไทย คุณค่าอันเป็นที่ยอมรับในประเทศไทยของอาจารย์กลุ่มนี้มาจากการสร้างผลงานการดูแลผู้ป่วยร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลพร้อมไปกับการสอนนักศึกษาเภสัชศาสตร์จนเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการสอนเภสัชศาสตร์ไทยอย่างเป็นทางการโดยสภาเภสัชกรรมในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม บริบทการทำหน้าที่ของอาจารย์กลุ่มนี้โดยเฉพาะในระดับบริหารยังไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาบทบาทเท่าที่ควร สมรรถนะทางวิชาชีพของอาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ ที่เป็นที่ต้องการ คือ ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพในระดับผู้เชี่ยวชาญในการดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยที่สูงกว่าเภสัชกรโรงพยาบาลโดยทั่วไป ความสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมกับบริบทที่จำเพาะกับผู้ป่วยแต่ละราย และการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทางการแพทย์อื่นในเรื่องยา สมรรถนะในด้านการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ คือ ความสามารถจัดการสอนเชิงประสบการณ์แบบ bedside teaching ที่โรงพยาบาลและการสอนในห้องเรียนแบบ experience-based  อาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ จะแสดงบทบาทได้ดีหากมีคุณลักษณะสู้งาน ติดตามสิ่งใหม่อยู่เสมอ มีอัตมโนทัศน์ที่รักในงานบริการผู้ป่วย มีความเชื่อมั่นว่า งานของตนมีประโยชน์ และมีคุณวุฒิระดับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญการบริบาลทางเภสัชกรรม สรุป: อาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ ในประเทศไทยมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับแล้ว ส่วนสมรรถนะของอาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ ยังต้องอาศัยการส่งเสริมและการพัฒนาในระดับนโยบายที่มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งในส่วนของคณะเภสัชศาสตร์ต้นสังกัดและโรงพยาบาลที่เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อประกันความยั่งยืนของบทบาทอาจารย์ผู้ปฏิบัติฯ ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Anderson C, Bates I, Beck D, Brock TP, Futter B, Mercer H, et al. The WHO, UNESCO FIP pharmacy education taskforce. Hum Resour Health. 2009;7:45. doi: 10.1186/1478-4491-7-45.

2. Calomo JM. Teaching management in a community pharmacy. Am J Pharm Educ. 2006; 70:41.

3. Droege M. The role of reflective practice in pharmacy. Educ Health (Abingdon) 2003; 16: 68-74.

4. Pharmacy Council of Thailand. Bachelor's degree in pharmacy certified by Pharmacy Council of Thailand in academic year 2016 [online]. 2016 [cited Jan 9, 2016]. Available from: ww.pharmacy council.org/index.php?option=content&menuid=42

5. Sookaneknun P, Suttajit S, Ploylearmsang C, Kanjanasilp J, Maleewong U. Health promotion integrated into a Thai PharmD curriculum to improve pharmacy practice skills. Am J Pharm Educ 2009; 73: 78.

6. Fairbrother P, Mathers NJ. Lecturer practitioners in six professions: combining cultures. J Clin Nurs 2004;13: 539-46.

7. Gray J, Fine B. General practitioner teaching in the community: a study of their teaching experience and interest in undergraduate teaching in the future. Br J Gen Pract 1997; 47: 623-6.

8. Pothisita C. The art and science of qualitative research. Bangkok: Amarin Printing & Publishing ; 2009.

9. Marshall C, Rossman G. Designing qualitative research. 3 rd ed. London: Sage publication; 1999.

10. Vazirani N. Competencies and competency model–a brief overview of its development and application. SIES Journal of management 2010; 7:121-31.

11. Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry. Beverly Hills: CA: Sage; 1985.

12. Pharmacy Council of Thailand. Assessment form for certiflying faculty of pharmaceutical sciences [online]. 2015 [cited Jan 9, 2016]. Available from: http://pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&view=detail&itemid=351&catid=36

13. Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam GD. Drug-related problems: their structure and function. DICP 1990; 24:1093-7.

14. Regulation of the Pharmacy Council of Thailand on the endorsement of Bachelor’s degree, diplomas in pharmacy or certificates in pharmacy of institutions for eligibility in applying for the membership in 2553 B.E. [online]. 2010 [cited Jan 9, 2016]. Available from: pharmacycouncil. org/share/file/file_500.PDF

15. Subcommittee on the preparation of the direction and future of pharmacy education in Thailand for three decades (2557-2586 B.E.). The direction and future of pharmacy education in Thailand for three decades. In: Chisumritchoke ST, Paerata- kul O, Chaichalermpol W, Sutontawibul N, Peng- suparp T, editors. Assembly on100 years of Thai pharmacy (2013) to celebrate the 100th anniversary of pharmacy profession and education: roles of pharmacists in Thai society in the 2nd century; 2013 Dec 6-8; Bangkok, Thailand. Bangkok: Usa Publishing; 2013. p 62-72.