การวิเคราะห์สถานการณ์การปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายในเครื่องสำอาง สำหรับผิวหน้าในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2556-2559
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและการกระจายของเครื่องสำอางที่ใช้กับผิวหน้าที่ปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการปนเปื้อนสารห้ามใช้ฯ และหาความน่าเป็นที่จะตรวจพบสารห้ามใช้ฯ วิธีการ: ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากผลการตรวจสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางและผลการตรวจวิเคราะห์เครื่องสำอางชนิดที่ใช้กับผิวหน้าที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง จำนวน 143 ตัวอย่าง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น ระหว่างปี พ.ศ. 2556–2559 ในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์การหาความสามารถของคะแนนความเสี่ยงในการทำนายการปนเปื้อนสารห้ามใช้ฯ ใช้การวิเคราะห์โค้ง Receiver Operating Characteristic(ROC) ผลการวิจัย: การตรวจสถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางพบว่า ร้อยละ 35.98 จำหน่ายเครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้องหรือเครื่องสำอางอันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข การตรวจร้านค้าที่เป็นแผงลอย ร้านหรือบูธขายเครื่องสำอาง หรือสถานที่ที่ตั้งอยู่ในตลาดนัด พบเครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้องหรือเครื่องสำอางอันตรายตามประกาศฯ ร้อยละ 95.65 , 80.39 และ 70 ของการตรวจ ตามลำดับ ตัวอย่างเครื่องสำอางร้อยละ 54.55 การทดสอบปรอทและสารประกอบของปรอท กรดเรทิโนอิก และไฮโดรควิโนนในร้อยละ 35.66 18.18 และ 11.89 ของเครื่องสำอางที่ตรวจ ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบสารห้ามใช้ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การขายในร้านขายเครื่องสำอาง (OR = 11.35) การขายในแผงลอย (OR = 46.57) การขายในร้านค้าปลีกหรือร้านชำ (OR = 71.11) การขายในร้านค้าส่ง (OR = 62.45 ) (เมื่อให้การขายในสถานเสริมความงามเป็นกลุ่มอ้างอิง) เครื่องสำอางสีขาว (OR = 42.91) เครื่องสำอางสีเหลืองหรือส้ม (OR = 6.83) (เมื่อให้สีเบส เปลือกไข่ ใสหรือไม่มีสีเป็นกลุ่มอ้างอิง) ชนิดเครื่องสำอางแบบครีม (OR = 19.28) และการมีฉลากภาษาไทย (OR = 9.51) คะแนนความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยมีค่าตั้งแต่ 0-7 ส่วนคะแนนความเสี่ยงรวมในทุกปัจจัยของเครื่องสำอางมีค่าสูงสุดเท่ากับ 21 คะแนนความเสี่ยงของเครื่องสำอางสามารถทำนายการปนเปื้อนสารห้ามใช้ฯ ได้โดยมีพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.84 เครื่องสำอางที่มีคะแนนความเสี่ยง£ 10 มีโอกาสพบสารห้ามใช้ฯ เพียง 0.11 เท่าของเครื่องสำอางที่ตรวจทั้งหมด เครื่องสำอางที่มีคะแนนความเสี่ยง >15 มีโอกาสพบสารห้ามใช้สูงเป็น 26.6 เท่าของเครื่องสำอางที่ตรวจทั้งหมด สรุป: เครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้องมีโอกาสที่จะพบการปนเปื้อนสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย คะแนนความเสี่ยงของเครื่องสำอางสามารถใช้ประโยชน์ในการเลือกเก็บตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นแนวทางสำหรับผู้บริโภคในการคุ้มครองตนเองในการเลือกซื้อเครื่องสำอาง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Bureau of Cosmetics and Hazardous Substances. Annual report of Bureau of Cosmetics and Hazardous Substances in 2015.Department of Medical Sciences. Ministry of Public Health; 2015.
3. Bureau of Cosmetics and Hazardous Substances. Annual report of Bureau of Cosmetics and Hazardous Substances in 2016. Department of Medical Sciences. Ministry of Public Health; 2016.
4. Boonprachom A, Yukittichai N, Ekkabut N, Pongnimitprasert N, Nuntharatanapong N. Investi- gation of ammoniated mercury and hydroquinone in whitening creams distributed in Amphur Muang Nakhon Pathom province. Thai Bulletin of Pharma-ceutical Sciences 2013; 8: 1-8.
5. Klinsoonthorn N, Nutsatapana C, Khemthong T, Mapradit P. Prohibited substances in acne melas- ma whitening cosmetic products in lower central provinces during 2010-2013. FDA Journal 2013; 20: 28-36.
6. Cosmetic Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 86A (Sep 8, 2015).
7. Public Health Ministerial Declaration in 2016 on the name of the substances prohibited an ingredient in cosmetics. Royal Gazette No. 133, Part 114D special (May 17, 2016).
8. Public Health Ministerial Declaration in 2016 on specification of cosmetics names banned for manufacturing, import or sale. Royal Gazette No. 133, Part 72D special (March 28, 2016).
9. Wuttiadirek W, Pumket W. Study of mercury levels in whitening creams distributed in Nakhonsawan municipality area. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences.2013; 8: 1-8.