ความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนในกรุงเทพมหานครต่อช่องทางและเงื่อนไข ในการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับใช้ภายนอก

Main Article Content

พัชราพรรณ กิจพันธ์
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อช่องทางและเงื่อนไขในการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับใช้ภายนอก และเพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของร้านยาคุณภาพและร้านยาทั่วไป วิธีการ: แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อช่องทางและเงื่อนไขในการจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับใช้ภายนอกที่เหมาะสมและความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ถูกออกแบบและส่งไปยังกลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ ตัวอย่างในการวิจัย คือ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยาแผนปัจจุบัน ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ร้านยาคุณภาพ 354 ร้าน และ ร้านยาทั่วไป 915 ร้าน ซึ่งเลือกตัวอย่างแบบอาศัยหลักความน่าจะเป็นโดยใช้เทคนิคแบบชั้นภูมิ ข้อมูลถูกรวบรวมระหว่าง มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ผลการวิจัย: ยาปฏิชีวนะสำหรับใช้ทาภายนอก 9 กลุ่มที่ศึกษา เภสัชกรชุมชนร้อยละ 85-95 (ขึ้นกับชนิดของกลุ่มยา) เห็นด้วยกับการอนุญาตให้จ่ายยาดังกล่าวได้ในโรงพยาบาล (ช่องทาง) โดยแพทย์เฉพาะทาง (เงื่อนไข) ตัวอย่างร้อยละ 70-85, 60-80, 10-20 และ 60-80 เห็นด้วยต่อการกำหนดให้สามารถจ่ายได้โดยแพทย์ทั่วไปในโรงพยาบาล แพทย์ประจำคลินิก เภสัชกรร้านยาโดยต้องจัดทำบัญชีขายยา และเภสัชกรร้านยาโดยไม่ต้องจัดทำบัญชีขายยา ตามลำดับ ในขณะที่ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่สำหรับตาและหู 6 กลุ่มที่ศึกษา เภสัชกรชุมชนร้อยละ 85-95, 60-80, 50-70, 11-22, และ 50-70 เห็นด้วยต่อการกำหนดให้สามารถจ่ายได้โดยแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาล แพทย์ทั่วไปในโรงพยาบาล แพทย์ประจำคลินิก เภสัชกรร้านยาโดยต้องจัดทำบัญชีขายยา และเภสัชกรร้านยาโดยไม่ต้องจัดทำบัญชีขายยา ตามลำดับ เภสัชกรชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดต่างๆ ของการส่งเสริมการใช้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล แต่ในการปรับสถานะยาปฏิชีวนะจากยาอันตรายเป็นยาควบคุมพิเศษ (ต้องจ่ายตามใบสั่งแพทย์) นั้น เภสัชกรร้านยาคุณภาพมีคะแนนเฉลี่ยของความเห็นด้วย คือ 2.55 (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) ส่วนร้านยาทั่วไปมีคะแนนเฉลี่ย 2.22 (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างไม่เห็นด้วย สรุป: เภสัชกรชุมชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการควบคุมการจำหน่ายยาปฏิชีวนะโดยร้านยาและทำบัญชีขายยา ทั้งยังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการปรับสถานะยาปฏิชีวนะเป็นยาควบคุมพิเศษเพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล มาตรการข้างต้นควรได้รับการทบทวน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Promoting rational use of medicines [online]. 2002 [cited Mar 15, 2016 ]. Available from: www.apps.who.int/medicinedocs/ en/d/Jh3011e/2.html.

2. Wibulpolprasert S. Thailand's drug system. Nonthaburi: Bureau of International Health Policy Development; 2002.

3. Chuengsatiansup K, Sriyudhya L, Panin W. Community and medicine: sociocultural aspects. Nonthaburi: Office of Social and Health Research; 2007.

4. Aswapokee N, Vaithayapichet S, Heller R. Pattern of antibiotic use in medical wards of a university hospital, Bangkok, Thailand. Review of Infectious Diseases 1990;12:136-41.

5. Tansatian P. Ethical habits of drug use in Thai people. Journal of Hematology and Blood Transfu- sion Medicine 2007;19:309-15.

6. Apasrithongsakul S. Antibiotic situation in a grocery store. In: KiatyaiAngsulee N, Kesomboon N, Malee- wong U, editors. Report of drug information system situation 2010: antibiotic resistance and antibiotic use. 2010. p. 32-5.

7. Jittayakorn A. Antibiotic value. In: KiatyaiAngsulee N, Kesomboon N, Maleewong U, editors. Report of drug Information system situation 2010: antibiotic resistance and antibiotic use. 2010. p. 21-5.

8. Drug Act, B.E. 2510. Royal Gazette No. 84, Part 101 special (Oct 20, 1967)

9. Kesomboon S, Sakulbumrungsil R, Kanjanapiboon I, Udomaugsorn S, Jitrakontien A. Research and development of national drug accounting system [online]. 2012 [cited Feb 3, 2016] Available from: www.kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11 228/3689/hs1984.zip? Sequence=2&isAllowed=y.

10. Subcommittee on Antimicrobial. Documentation on drug control and antimicrobial classifications policy phase 1 [online]. 2016 [cited Apr 10, 2016]. Available from: drug.fda.moph.go.th/zone_admin/ files/hearing%20reclass%20amr%20human%20phase%201.pdf

11. Bureau of drug control. List of drug selling locations in Bangkok, Thailand [online]. 2015 [cited Apr 10, 2016]. Available from: www.drug.fda.moph.go.th/ zone _search/ky1.asp.

12. Yotthongyos M, Sawasdip P. Size determination of research samples. [online]. [cited Mar 3, 2016]. Available from: www.fsh.mi.th/km/wp-content/up loads/2014/04/resch.pdf

13. Boonchoong N, Chanakij T, Dorkrakklang P, Wongsa P, Sootsol Sakkosin, Yospanya S. Compliance with the community pharmacy project after accreditation by the Pharmacy Council. KKU Research Journal 2007; 12: 53-6.

14. The Pharmacy Council. List of accredited community pharmacy address [online]. 2015 [cited Mar 3, 2016]. Available from: www.pharmacy council.org/index.php?option=content_detail&menuid=39&itemid=633&catid=0.

15. VorakitKasemsakul S. Quality inspection of research tools [online]. 2016 [cited Mar 3, 2016]. Available from: www.udru.ac.th/attachments/elearn ing/01/10.pdf.

16. Stephan H, Matthew HS. Antimicrobial resistance determinants and future control. Emerg Infect Dis. 2005;11: 794-801.

17. Huttner B, Harbarth S, Nathwani D. Success stories of implementation of antimicrobial stewardship: a narrative review. Clin Microbiol Infect. 2014; 20: 954-62.

18. Sumpradit N, Hunnangkul S, Prakongsai P, Thamli- kitkul V. Distribution and utilization of antibiotics in health promoting hospitals, private medical clinics and pharmacies in Thailand. Health Systems Research Institute Journal 2013;7: 268-80.

19. Sumpradit N, Hunnangkul S, Prakongsai P, Thamlikitkul V. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotics: preliminary results. Health Systems Research Institute Journal 2012; 6 : 361-73.

20. Bavestrello L, Cabello A, Casanova D. Impact of regulatory measures in the trends of community consumption of antibiotics in Chile [Abstract]. Rev Med Chi. 2002; 130: 1265-72.

21. Bavestrello L, Cabello M A. Community antibiotic consumption in Chile, 2000-2008 [Abstract]. Rev Chilena Infectol. 2011;28:107-12.

22. Wirtz VJ, Herrera-Patino JJ, Santa-Ana-Tellez Y, Dreser A, Elseviers M, Stichele V. Analysing policy intervention to prohibit over-the-counter antibiotic sales in four Latin American countries. Tropical Medicine and International Health. 2013; 8: 665-73