ความชุกของการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุกระจายเสียง ในจังหวัดเชียงใหม่หลังการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา

Main Article Content

นฤมล ขันตีกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดเชียงใหม่หลังการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา วิธีการ: ผู้วิจัยบันทึกรายการที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุ 7 คลื่นที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจาก 35 สถานีที่เคยฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องการโฆษณาอาหารและยาและถูกเปรียบเทียบปรับ โดยผู้กระทำความผิดได้จ่ายค่าปรับแล้วกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ การบันทึกเสียงทำตั้งแต่เปิดสถานีจนกระทั่งปิดสถานี เป็นเวลา 2 วันที่ได้จากการสุ่มโดยเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ 1 วัน และวันธรรมดา 1 วัน ผลการวิจัย: ทั้ง 7 คลื่นวิทยุยังฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องการโฆษณาอาหารและยา โดยที่ 5 ใน 7 คลื่นยังคงพบการฝ่าฝืนในผลิตภัณฑ์อาหารชื่อการค้าเดิมที่ถูกดำเนินคดี การวิจัยพบการโฆษณาอาหารและยา 1,195 ครั้ง (ต่อ 14 วัน-สถานี) โดยเป็นการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย 340 ครั้ง (ร้อยละ 28.5) การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารฝ่าฝืนกฎหมายมากกว่าผลิตภัณฑ์ยา โดยอาหารมีการโฆษณา 863 ครั้ง ฝ่าฝืนกฎหมาย 330 ครั้ง (ร้อยละ 38.2) ผลิตภัณฑ์ยามีการโฆษณา 332 ครั้ง ฝ่าฝืนกฎหมาย 10 ครั้ง (ร้อยละ 3.0) การศึกษาจำแนกรูปแบบการโฆษณาเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบดีเจที่จัดรายการเพลงประกอบการให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง 2. รูปแบบสปอตโฆษณาและการเปิดเทปบันทึกเสียงสัมภาษณ์ผู้ที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ หรือการบรรยายข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่มีพฤติกรรมการเปิดซ้ำๆ การศึกษาพบ สปอตโฆษณา 971 ครั้ง (ต่อ 14 วัน-สถานี) ฝ่าฝืนกฎหมาย 228 ครั้ง (ร้อยละ 23.5)  รูปแบบดีเจ 224 ครั้ง ฝ่าฝืนกฎหมาย 112 ครั้ง (ร้อยละ 50.0) สรุป : หลังการใช้มาตรการทางกฎหมายโดยการเปรียบเทียบปรับกับสถานีวิทยุที่ฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องการโฆษณา ปัญหาไม่ได้หมดไปโดยสิ้นเชิง การศึกษานี้ไม่อาจสรุปได้ว่าปัญหาลดลงหรือไม่ อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการศึกษานี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับติดตามการกระทำผิดในอนาคตว่าเปลี่ยนไปอย่างไรหลังจากการใช้มาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Suwanmanee O, Lerkiatbundit S. Illegal advertising of products classified as drugs by law among local radio. Thai Journal of Pharmacy Practice 2011; 3: 41-55.

2. Ampant P. Situations, problems and solutions to problems of the broadcasting radio station of Sisaket province in advertising health products. Research and Development Health System Journal 2015; 8: 26-37.

3. Rujirayunyong T. Situation of illegal advertising of health products among local radios in Lopburi in the era of the National Council for Peace and Order (NCPO). Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 189-99.

4. Chanakha K. Prevalence of illegal health product advertisements on local radio broadcasts in Amphur Mueang, Buriram province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 435-41.

5. Chandrawongse M. Situation and impacts of drug and health product advertisements with legal problems on community radio broadcasts toward consumers in Chiang Mai province [independent study]. Chiang Mail: Chiang Mai University; 2011.

6. Vittayarat K, Lerkiatbundit S, Chaisumritchoke ST. Process of health product advertising among the operators of local radios: a qualitative approach. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 68-92.

7. Jangjai D, Lerkiatbundit S. Effectiveness of the interventions for reducing illegal advertising of health products among local radio stations. Thai Journal of Pharmacy Practice 2014; 6: 22-40.