การจัดการปัญหาการนำยาแผนโบราณไปใช้ในทางที่ผิด: กรณีศึกษายาบำรุงร่างกายตราพญานาค

Main Article Content

นุชน้อย ประภาโส
วิมล สุวรรณเกษาวงษ์

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์: เพื่อหาคำอธิบายถึงสิ่งที่เอื้อให้เกิดการนำยาบำรุงร่างกายตราพญานาคไปใช้ดื่มเพื่อให้เกิดความมึนเมา ประเมินความเสี่ยงของยานี้ในการทำให้เมาสุรา ตลอดจนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาแผนโบราณที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมในทางที่ผิด วิธีการ: การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ส่วนแรกเป็นการหาคำอธิบายถึงสิ่งที่เอื้อให้เกิดการนำยาบำรุงร่างกายตราพญานาคไปดื่มเพื่อความมึนเมา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 11 คนซึ่งทำงานในพื้นที่ที่เคยพบปัญหาในการจำหน่ายยาดังกล่าวหรือยังพบปัญหาอยู่ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวลำภู และศรีสะเกษ ร่วมกับการลงพื้นที่หาข้อมูลรูปแบบการขายยาในร้านขายยาและร้านชำจำนวน 4 ครั้ง รวมถึงการค้นข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณายาตัวนี้ทางเว็บไซด์ต่าง ๆ  การศึกษาส่วนที่ 2 เป็นการประเมินความเสี่ยงของยาตัวนี้ โดยคำนวณระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่อาจเป็นไปได้เมื่อมีการใช้ยา การศึกษาส่วนที่ 3 เป็นการจัดทำข้อเสนอในการแก้ปัญหาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ของ อย. สสจ. และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7 คน รวมถึงมีการสนทนากลุ่มระหว่างหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข 4 คนในเขตสุขภาพที่ 10 ผลการวิจัย: การนำยาบำรุงตัวนี้ไปใช้ในทางที่ผิด เกิดจาก 1. ปัจจัยของตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ปริมาณแอลกอฮอล์ในตำรับยา และ 2. ปัจจัยภายนอกตัวผลิตภัณฑ์ 8 ประเด็น ได้แก่ ชื่อยาบำรุงร่างกาย รูปแบบฉลากที่คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์อื่นที่ใกล้เคียง ฉลากระบุคำเตือนไม่ชัดเจน (สีพื้นของฉลากและตัวอักษรคำเตือนมีสีแดงเหมือนกัน) รูปแบบบรรจุภัณฑ์และขนาดบรรจุ รูปแบบการจำหน่าย ช่องทางการโฆษณาขายยาและการสั่งซื้อ การโฆษณาที่ทำให้เข้าใจถึงสรรพคุณที่ทำให้มีพละกำลัง (ผู้ชายยกแขนโชว์กล้ามเนื้อ) และการที่ประชาชนซื้อถวายพระสงฆ์เพื่อให้บำรุงร่างกาย  การดื่มยาบำรุงร่างกายนี้ 1 ขวดในขนาดบรรจุ 150 มิลลิลิตรที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 15 กรัม/100 มิลลิลิตร คิดเป็น 2.25 ดื่มมาตรฐาน ซึ่งอาจทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 33.75 – 45 mg% ซึ่งใกล้เคียงกับค่า 50 mg% ซึ่งเป็นระดับที่กฎหมายถือว่าเมาสุรา ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา คือ 1) ออกกฎหมายเพื่อควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ในยาแผนโบราณและยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณให้เหมาะสม ตลอดจนทบทวนทะเบียนตำรับยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม 2) ออกกฎหมายบังคับการแสดงฉลากและคำเตือน โดยระบุสีพื้นและสีตัวอักษรชัดเจน 3) ออกระเบียบหรือข้อบังคับให้รูปแบบฉลากของยาแผนโบราณและยาสามัญประจำบ้านต้องมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะยาที่มีชื่อการค้าเดียวกัน 4) การดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และควบคุมการจำหน่ายยาแผนโบราณที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5) การให้ความรู้เรื่องยาตัวนี้แก่พระสงฆ์ ร่วมกับกรมการศาสนา มหาเถรสมาคม และกลุ่มผู้บริโภค สรุป: การศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการใช้ยาบำรุงร่างกายตราพญานาคในทางที่ผิด ซึ่งอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการใช้ยาแผนโบราณในทางที่ผิดกรณีอื่น ๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Lexicon of alcohol and drug terms [online]. 2006 [cited Oct 9, 2016]. Available from: www.who.int/substance_abuse/terminology/who_lexicon/en/.

2. Department of Medical Sciences. Summary of the analysis of alcohol and solvents in traditional medicines solution in 2015 [online]. 2015 [cited Apr 26, 2016]. Available from: www.tumdee.org/ alert/alert_drug_pic/sw_drugboran.pdf.

3. ASTV Manager Online. Drunken monk arrested with the claim of taking tonic, renting a room instead of staying in temple [online]. 2013 [cited Apr 16, 2016]. Available from: www.manager.co.th /Local/ViewNews.aspx? NewsID= 9570000111247.

4. Khaosod. Drunken monk forced to leave monk- hood, claiming tonic taking with 376 mg of blood alcohol found [online]. 2016 [cited Apr 16, 2016]. Available from: www.khaosod.co.th/view_newson line.php?newsid=1429155083.

5. Daily News. Drunken monk after taking 3 bottles of tonic [online]. 2016 [cited Apr 16, 2016]. Available from: www.dailynews.co.th/regional/3595 46.

6. Bangkok Broadcasting & TV. Co. Ltd. Monk drunken with alcohol containing drug ran all over the street, claiming exercise to warm up [online]. 2016 [cited Apr 18,
2016]. Available from: news/ ch7.com/detail/160232/พระเมายาดองวิ่งป่วนถนน_อ้างออกกาลังกายคลายหนาว.html.

7. Kapook.com. Drunken monk with slurred speech arrested and was forced to leave monkhood after found unconscious at Nong Bua Lam Phu bus terminal [online]. 2016 [cited Apr 20, 2016]. Available from: hilight.kapook.com/view/134204.

8. Siamupdate.com. Monk dead after car slamming to trees, officers stunned by what found in the car [online]. 2016 [cited Apr 14, 2016]. Available from: www.siamupdate.com/news-181846.

9. Penpark Co. Ltd. Advertising media [online]. 2016 [cited Apr 26, 2016]. Available from: www.penpark .com/frontend/web/index.php?r=site%2Fads.

10. Priceza.com. Payanaka tonic [online]. 2016 [cited Oct 30, 2016]. Available from: goo.gl/8riFRn.

11.Ratanavalachai T. Biochemical alcohol intoxication. Thammasat Medical Journal 2014; 14 : 405-30.

12. The Integrated Community Management for Substnce Abuse Program. The Integrated Manage ment for Alcohol Intervention Program in Health Service System: Revised i-MAP Health 2011. Chiang Mai: Wanita Publishing; 2011.

13. Silapakij P, Kittiratanapaioon P. The alcohol use disorders identification test guidelines for use in primary care. 2nd ed. Bankok; Tantawan Paper; 2009.

14. Thaikra K, Aramrat A, Ausanangkornchai S.. Thai drinking survey guide [online]. 2010 [cited May 1, 2016]. Available from: https://goo.gl/Yczuez.

15. Sukme T. New generation of soldiers awares about drinking [online]. 2006 [cited May 1, 2016]. Available from: resource.thaihealth.or.th/library/106 12.

16. B2BTahi.com. Payanaka tonic [online]. 2016 [cited Oct 30, 2016]. Available from: https://goo.gl/ GdRqVi.

17. Ministerial Rule No 21 in 2017 under Land Traffic Act, B.E.2522. Royal Gazette No. 134, Part 59A (May 31, 2017).

18. Winek CL, Esposito FM. Blood alcohol concentra- tions: factors affecting predictions. Leg Med. 1985: 34-61.

19. Ausanangkornchai S. Measures for preveting and resolving alcohol related problems: review of existing knowledge [online]. 2000 [cited May 5, 2016]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1182.

20. Kongwong R. Survey of the prevalence of the use of Payanaka tonic in the area responsible by Kor subdistrict health promoting hospital, Warin Cham- rap District. Slide presented at; 2016; Sirindhorn College of Public Health at Ubon Ratchathani.