การเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาของผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อหรือภาวะช็อกจาก ภาวะพิษเหตุติดเชื้อระหว่างผู้ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย ปี ค.ศ.2012 และผู้ที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยปี ค.ศ.2016

Main Article Content

พลอยลาภ เลิศวิภาภัทร
ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์
พีระวงษ์ วีรารักษ์
ทิพา ชาคร
ณสิกาญจน์ อังคเศกวินัย
ณภคด นพคุณสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาระหว่างผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อหรือภาวะช็อกจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยตามแนวทางเวชปฏิบัติดูแลผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อฉบับปีค.ศ. 2012 กับผู้ป่วยดังกล่าวที่เข้าเกณฑ์เดียวกันในปี ค.ศ.2016 วิธีการ: การศึกษาเป็นแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อและเริ่มการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ณ โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย เชื้อก่อโรค ประเภทภาวะพิษเหตุติดเชื้อ แหล่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ โรคแทรกซ้อน และผลการรักษา ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมด 200 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีคะแนน The Sequential Organ Failure Assessment (SOFA) 0-1 คะแนน ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ค.ศ. 2012 และกลุ่มผู้ป่วยที่มีคะแนน SOFA มากกว่าหรือเท่ากับ 2 คะแนน ซึ่งเข้าเกณฑ์ดังกล่าวในปี ค.ศ. 2016 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการมีคะแนน SOFA > 2 คะแนน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (P=0.029) โรคไต (P=0.016) โรคตับ (P=0.028) และการคาสายสวนปัสสาวะ (P=0.041) เชื้อแบคทีเรียแกรมลบก่อโรคที่พบจากสิ่งส่งตรวจมากที่สุด คือ Escherichia coli (ร้อยละ 37.4) แบคทีเรียแกรมบวกก่อโรคที่พบจากสิ่งส่งตรวจมากที่สุด คือ Staphylococcus aureus (MSSA) (ร้อยละ 11.7) สาเหตุของการติดเชื้อและการเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีความสัมพันธ์กับคะแนน SOFA > 2 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การติดเชื้อในช่องท้อง (P=0.019) ภาวะไตวายเฉียบพลัน (P<0.001) ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (P=0.017) ภาวะโลหิตจาง (P=0.025) และภาวะกรดจากเมตาบอลิสม (P=0.037) การมีคะแนน SOFA > 2 คะแนน มีความสัมพันธ์กับการมีคะแนน Quick SOFA (qSOFA) > 2 คะแนน (P<0.001) กลุ่มที่มีคะแนน SOFA > 2 คะแนน จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มที่มีคะแนน SOFA 0-1 คะแนน 3.64 เท่า (OR: 3.64, 95%CI: 1.21 – 10.91, P=0.015)  สรุป: การประเมินผู้ป่วยโดยใช้คะแนน SOFA ให้ผลที่สอดคล้องกับการใช้คะแนน qSOFA ปัจจัยเสี่ยงของการมี SOFA > 2 คะแนน คือ โรคประจำตัวและโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีคะแนน SOFA 0-1 คะแนน ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการแพทย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Angkasekwinai N, Rattanaumpawan P, Thamlikitkul V. Epidemiology of sepsis in Siriraj Hospital 2007. J Med Assoc Thai 2009;92: S68-78.

2. Wang HE, Shapiro NI, Griffin R, Safford MM, Judd S, Howard G. Chronic medical conditions and risk of sepsis. Plos one. 2012;7:1-7.

3. Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care. 2013; 41:580-90.

4. Singer M, Deutschman CS, Seymour CW, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international consen- sus definitions for sepsis and septic shock. JAMA. 2016; 315: 801-10.

5. Kang CL, Song JH, Chung DR, Peck KR, Ko KS, Yeom JS, et al. Risk factors and pathogenic significance of severe sepsis and septic shock in 2,286 patients with gram negative bacteremia. J Infect 2011;62:26-33.

6. Ferreira F, Bota D, Bross A, Mélot C, Vincent JL. Serial evaluation of the SOFA score to predict outcome in critically ill patients. JAMA. 2011;286:1754-58.

7. Jones AE TS, Kline JA. The sequential organ failure assessment score for predicting outcome in patients with severe sepsis and evidence of hypoperfusion at the time of emergency department presentation. Crit Care Med. 2009; 37:1649-54.

8. Seymour CW, Liu VX, Iwashyna TJ, Brunkhorst FM, Rea TD, Scherag A, et al. Assessment of clinical criteria for sepsis for the third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). JAMA. 2016; 315: 762-74.

9. Lueangarun S, Leelarasamee A. Impact of inappropriate empiric antimicrobial therapy on mortality of septic patients with bacteremia: A retrospective study. Hindawi. 2012;2012:1-13.

10. Majumbar A. Sepsis-induced acute kidney injury. Indian J Crit Care Med. 2010;14:14-21.

11. Wang JY CY, Guo SB, Mei X. Predictive performance of quick Sepsis-related Organ Failure Assessment for mortality and ICU admission in patients with infection at the ED. AM J Emerg Med 2016;34:1788-93.