ความคิดเห็นของแพทย์และพยาบาลต่อบทบาทของเภสัชกรในงานปฐมภูมิ

Main Article Content

ชุติมา วรรณทอง
สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความคิดเห็นของแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2558 ต่อบทบาทของเภสัชกรในงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ วิธีการ: การเก็บข้อมูลทำโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ 876 แห่ง จำแนกเป็นโรงพยาบาลศูนย์ 28 แห่ง (แห่งละ 4 ฉบับ) โรงพยาบาลทั่วไป 68 แห่ง (แห่งละ 4 ฉบับ) และโรงพยาบาลชุมชน 780 แห่ง (แห่งละ 2 ฉบับ) รวมทั้งสิ้น 1,944 ฉบับ แบบสอบถามประกอบด้วยคำถามที่วัดความเห็นต่อบทบาทของเภสัชกรในงานพัฒนาระบบยาในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิจำนวน งานดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน งานคุ้มครองผู้บริโภค และงานส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีคำถามที่วัดความเห็นต่อบุคลิกภาพ ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิ ผลการวิจัย: ตัวอย่างตอบและส่งแบบสอบถามกลับ 501 ฉบับ (ร้อยละ 25.77) ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นพยาบาลจากโรงพยาบาลชุมชน (236 คนหรือร้อยละ 47.10) โรงพยาบาลศูนย์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.91) มีเภสัชกรปฏิบัติงานประจำในงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ โรงพยาบาลทั่วไปประมาณร้อยละ 55 มีเภสัชกรปฏิบัติงานด้านนี้บ้างบางเวลา และโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 60.21 ไม่มีเภสัชกรปฏิบัติงานเป็นประจำในด้านนี้ แพทย์และพยาบาลเห็นด้วยในระดับมาก (4.07±0.76 จากคะแนนเต็ม 5) กับบทบาทของเภสัชกรปฐมภูมิในด้านพัฒนาระบบยาในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ  และเห็นด้วยในระดับปานกลางถึงมากกับบทบาทด้านการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในระดับบุคคลและครอบครัว ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และด้านส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ (คะแนน 3.45-3.54 จากคะแนนเต็ม 5) ตัวอย่างในโรงพยาบาลศูนย์ให้ความสำคัญกับงานพัฒนาระบบยาของเภสัชกรในระดับที่สูงกว่าโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน (p=0.043) แพทย์เห็นด้วยมากกว่าพยาบาลกับการที่เภสัชกรแสดงบทบาทในงานดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องและงานส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ (p=0.007 และ 0.009 ตามลำดับ) บุคลิกลักษณะ ความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรปฐมภูมิ ที่เหมาะสมของเภสัชกรปฐมภูมิ คือ มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมหรือผู้อื่นได้ และความสามารถในการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและผู้อื่น สรุป: แพทย์และพยาบาลเห็นว่า งานพัฒนาระบบยายังคงเป็นงานที่เภสัชกรควรให้ความสำคัญ นอกจากนี้ เภสัชกรควรเพิ่มความรู้และทักษะในการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Yangkratok S. The implementation of the standard primary care units [online]. 2001 [cited Dec 9, 2014]. Available from: www.geocities.ws/mohjiu/b0 002.html

2. Sriwanichakorn S, et al. Primary care services: health services satisfying your needs and close to your home. Nonthaburi: Office of Health Care Reform; 2002.

3. Macinko J, Starfield B, Shi L. The contribution of primary care systems to health outcomes within Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) countries, 1970–1998 [online]. 2003 [cited Nov 2, 2014]. Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1360919/

4. Pongpirun K. Health services with primary care health system [online]. 2008 [cited Sep 19, 2014]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/hand le/11228/2699/p021028.

5. Leesthapornpong P. Primary care pharmacy in universal health care coverage. [online]. 2011 [cited Aug 13, 2014]. Available from: www.thaihp. org/index2.php?option=showfile&tbl=home&id=697

6. Chirunthorn R, Singpaiboonporn N, Lohanavakul P, Treratthanapaiboon P. Factors affecting the role performance of pharmacists in primary care units (PCU): a case study in the upper southern region of Thailand. Songklanagarind Medical Journal 2006; 20: 506-16.

7. Chalongsuk R, Lochid-amnuay S, Sribundit N, Tangtrakultham S. Primary care pharmacist system: case studies in the area of the National District 5th Ratchaburi. Thai Bulletin of Pharma- ceutical Sciences 2015; 10: 46-64.

8. Pharmacy Council Declaration No.8/2554. In 2011 on standard competency of pharmacy practitioner in pharmaceutical care (March 28, 2011).

9. Garfield S. Quality of medication use in primary care - mapping the problem, working to a solution: a systematic review of the literature [online]. 2009 [cited April 28, 2016] Available from: bmcmedicine .biomedcentral.com/articles/10.1186/1741-7015-7-50

10. The Ministry of public health Decree No. สธ 0201.032/ว 29. Authorities and structures of the regional hospitals under the Office of the Permanent Secretary of Public Health Ministry (April 28 2016).

11. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at a primary care level. Isan Journal of Pharmaceu- tical Sciences. 2014; 10: 69-79.

12. Rachaniyom S, Saramunee K. Family pharmacist ’s management of drug related problems for chronic diseases at patient’s in home, Kranuan district health network. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 169–81.

13 Tunpichart S, Sakulbumrungsil R, Somrongthong R, Hongsamoot D. Chronic care model for diabetics by pharmacist home health in Bangkok metropolitan: a community based study. Int J Med Med Sci 2012; 4: 90-6.

14. Lloyd L. Positive thinking–finding happiness [online]. 2009. [cited April 28, 2016]. Available from: stepsofpositive-thinking-finding-happiness.