ความพร้อมของเภสัชกรร้านยาในจังหวัดเชียงใหม่ในการปฏิบัติตามประกาศกระทรวง ว่าด้วยการอนุญาตและการกำหนดสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน

Main Article Content

ภูริดา เวียนทอง
ดุจฤดี ชินวงศ์
สุระรอง ชินวงศ์
พลแก้ว วัชระชัยสุรพล
อัญชญา ดุจจานุทัศน์
สกนธ์ สุภากุล

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพร้อมของเภสัชกรร้านยาในจังหวัดเชียงใหม่ในการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (Good Pharmacy Practices: GPP) วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเองเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อมูลการดำเนินการและความคิดเห็นต่อการพัฒนาร้านยา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ขายยา ด้านอุปกรณ์ ด้านบุคลากร ด้านการควบคุมคุณภาพยา และด้านการปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ตัวอย่าง คือ เภสัชกรเจ้าของร้านยาและ/หรือเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 423 รายที่เข้าร่วมการอบรมวิชาการของชมรมเภสัชกรจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงเดือนมกราคม 2559 ถึงมีนาคม 2559 ผลการวิจัย: ตัวอย่างตอบแบบสอบถามทั้งหมด 116 คน คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 27.4 ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเภสัชกรที่เป็นทั้งเจ้าของและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (ร้อยละ 64.7) ตัวอย่างประมาณร้อยละ 64 มีประสบการณ์การปฏิบัติการประจำร้านยาน้อยกว่า 5 ปี ร้านยาส่วนใหญ่มีความพร้อมในการปฏิบัติตาม GPP ในด้านสถานที่มากกว่าด้านอื่น ตามด้วยด้านอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านควบคุมคุณภาพ ส่วนด้านที่ร้านยายังมีความพร้อมน้อยและต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดคือการดำเนินการตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนโดยเฉพาะทางด้าน 1) กระบวนการในการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ 2) กระบวนการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม  3) กระบวนการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ 4) การจัดให้มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงด้านยาที่เหมาะสม 5) กรณีผลิตยาตามใบสั่งยาสำหรับคนไข้เฉพาะราย และการแบ่งบรรจุยาให้คำนึงถึงการปนเปื้อน การแพ้ยา สรุป: หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาร้านยาควรให้ความช่วยเหลือในด้านการดำเนินการตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนมากขึ้น เพื่อพัฒนาร้านยาให้สามารถปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Maneesriwongkul W. The role and structure of primary care service system: in the Context of health professional and health services: case study of drug stores in Bangkok. [Research report]. Health System Research Institute. 2002.

2. Kaew-on P, Lerkiatbundit S, Saengcharoen W. Is there any difference in the quality between the pharmacies accredited by the pharmacy council and non-accredited pharmacies? Thai Journal of Pharmacy Practice 2012; 4:39-64.

3. Cheewasrirungrueng N, Lerkiatbundit S, Soorapan S. Drug related problems due to incomplete history taking in community pharmacies: cases of purchasing drugs for others and demanding for specific drugs. Thai Journal of Pharmacy Practice 2010; 2: 60-75.

4. Public Health Ministerial rule in 2013 on license application and licensing of modern drug selling. Royal Gazette No.130, Part 126A. (Dec 27, 2013).

5. Public Health Ministerial Rule in 2014 on the requirement of premises, instruments, and good pharmacy practice in selling establishments of modern drugs according to the Drug Act. Royal Gazette No. 131, Part 223D (supplement). (Nov 5, 2014).

6. Chiang Mai Provincial Public Health Office. Directory of drugstores in Chiang Mai [online] 2015 [Cited Sep 11, 2016] Available from: www.chiangmai health.go.th/cmpho_web/detail_article2.php?info_id =596.

7. Intariya I. Inspection of the compliance to the Ministerial Rule on licensing and requirements on premises, instruments and good pharmacy practice among drugstores in Lamphun. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 94-104.

8. Tongrod V, Jeamsuchon P. Report of the survey on readiness among pharmacy entrepreneurs for changing to quality drugstores according to the draft on ministerial rule for modern drug selling BE…: executive summary. [online]. 2013 [Cited Sep 9, 2016]. Available from: newsser.fda.moph.go.th/ad vancepharmacy/2009/_.../2010816162231300653+สร.

9. Parinyarux P and Suwannaprom P. Attitudes and stage of change towards participation to the community pharmacy development and accre-ditation project of pharmacist drug store owners in Muang district, Chiang Mai province. Thai Pharma- ceutical and Health Science Journal 2014; 9: 164-9.

10. Yuyangdee P, Thongraung W. The Assessment of patients with drug allergy among community pharmacists. The 5th STOU Graduate Research Conference. [online]. 2015 [Cited Sep 11, 2016]. Available from: http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy /Masters/ฝสส/research/5nd/FullPaper/HS/Oral/O-HS002นางสาวพรหมภัสสรอยู่อย่างดี.pdf.

11. Yotsombut K, Palapinyo S. Telephone-based drug information service: A community pharmacy experience. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2009; 4: 327-33.

12. Wong PS, Ko Y, Sklar GE. Identification and evaluation of pharmacists’ commonly used drug information sources. Ann Pharmacother 2009; 43: 347-52.

13. Phanucharas D, Chalongsuk R. Survey on trained pharmacists’ practice in smoking cessation counseling. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2012; 7:115-20.

14. Chinwong S, Chinwong D. Community pharmacists' activities on providing smoking cessation services: Thailand. Int J Clin Pharm 2016; 38: 496.

15. Thananithisak C, Nimpitakpong P, Chaiyakunapruk N. Activities and perceptions of pharmacists providing tobacco control services in community pharmacy in Thailand. Nicotine Tob Res 2008;10: 921-5.

16. Nimpitakpong P, Chaiyakunapruk N, Dhippayom T. A national survey of training and smoking cessation services provided in community pharmacies in Thailand. J Community Health 2010; 35: 554-9.