ประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) 2) ประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างเรียนด้วยกิจกรรมแบบ PBL วิธีการ: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ชั้นปีที่ 2 จำนวน 19 คน ผู้วิจัยจัดกิจกรรมแบบ PBL ในรายวิชาเภสัชกรรมคลินิกเบื้องต้น หัวข้อการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการค้นหาปัญหาอันเนื่องมาจากยาในขั้นตอนการคีย์รายการยา เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 150 นาที รวม 20 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้แบบ PBL มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กลุ่มนักศึกษาทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาที่ผู้วิจัยแจกให้ 2) กลุ่มนักศึกษาร่วมกันระบุปัญหาหลักในโจทย์ 3) กลุ่มนักศึกษาระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอภิปรายหาคำอธิบายในแต่ละประเด็นปัญหาโดยอาศัยพื้นความรู้เดิม 4) นักศึกษาในกลุ่มร่วมกันตั้งสมมติฐานเพื่อตอบปัญหาประเด็นต่าง ๆ พร้อมจัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน 5) กลุ่มนักศึกษาประเมินตนเองว่ามีความรู้เรื่องอะไรบ้าง มีเรื่องอะไรที่ยังไม่รู้ และความรู้ที่ต้องใช้เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ในขั้นตอนนี้กลุ่มกำหนดประเด็นการเรียนรู้เพื่อจะไปค้นคว้าหาข้อมูลต่อไป 6) นักศึกษาแต่ละคนค้นคว้าหาข้อมูล 7 วัน และ 7) นักศึกษานำเสนอข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานในโจทย์ปัญหา พร้อมสรุปเป็นแนวคิดหรือหลักการทั่วไป ผู้วิจัยทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนแบบ PBL ด้วยแบบประเมินชนิด MEQ (multiple essay question) อาจารย์ประจำกลุ่มประเมินทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วยการสังเกตพฤติกรรม การวิจัยยังเก็บข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PBL ด้วยแบบสอบถาม การศึกษาประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการสัมภาษณ์อาจารย์ประจำกลุ่มทุกรายและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนด้วยกิจกรรมแบบ PBL สูงกว่าระดับก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างกิจกรรมแบบ PBL อยู่ในระดับสูง ความเหมาะสมของกิจกรรมแบบ PBL อยู่ในระดับสูง ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตในการจัดกิจกรรมแบบ PBL ใน ทุกด้านมีความพร้อมและความเหมาะสมดี แต่สิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ วิทยาลัยควรจัดหาหนังสือและตำราฉบับใหม่ ๆ และปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ต สรุป: กิจกรรมการเรียนรู้แบบ PBL ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาดีขึ้น อาจารย์ประจำกลุ่มและนักศึกษามีความคิดเห็นต่อกิจกรรมแบบ PBL ว่ามีความเหมาะสมมาก ดังนั้นวิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมแบบ PBL ให้มากขึ้นโดยเฉพาะในรายวิชาชีพ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Lekhakula A. PSU medical education resources: problem-based learning [online]. [cited Jan 15, 2015]. Available from: teachingresources.psu.ac. th/document/2548/Le_Kha_Kun/PBL.pdf
3. Thavonwong N. An evaluation of problem-based learning in preclinical courses of doctor of medicine program, Faculty of Medicine, Srinakha- rinwirot University [master thesis]. Bangkok: Srina- kharinwirot University; 2008.
4. Weir JJ. Problem solving is everybody’s problem. Sci Teach 1974; 4:16-8.
5. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale (NJ): Lawrence Earlbaum Associates; 1988.
6. Benchawan P, Kuha A. Effects of problem based learning approach on nutrition and nutrient therapy achievement of nursing students in Princess of Naradhiwas University. Journal of Education 2014; 25: 96-109.
7. Strobel J, Barneveld AV. When is PBL more effective: A meta-synthesis of meta-analyses comparing PBL to conventional classrooms. Iinterdisciplinary Journal of Problem-based Learn- ing 2009; 3: 44-58.
8. Galvao TF, Silva MT, Neiva CS, Ribeiro LM, Pereira MG. Problem-based learning in pharma- ceutical education: a systematic review and meta-analysis. The Scientific World Journal 2014, Article ID 578382, doi:10.1155/2014/578382.
9. Sa-ard S. A development and effects of problem-based instruction model using electronic media toward learning achievement and problem solving ability in the students at Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health [Dissertation]. Bangkok: King Mongkut,s University of Technology North Bangkok; 2010.
10. Choi H. The effects of PBL (problem-based learning) on the metacognition, critical thinking, and problem solving process of nursing students. Taehan Kanho Hakhoe Chi, 2004; 34: 712-21.
11. Kusol K, Wongnart S, Jaraeprapal U. Effect of. problem-based learning on critical thinking skills of nursing students in children and adolescents nursing practicum. Journal of Nursing and Education 2008; 1: 32-45.
12. Koh GCH, Khoo HE, Wong ML, Koh D. The effect of problem-based learning during medical school on physician competency: a systematic review. CMAJ 2008; 178: 34-41.
13.Saramunee K, Arparsrithongsakul S, Poophalee T, Chaiyasong S, Ploylearmsang C Community learning program integrated in PharmD curriculum. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 206-15.