การใช้สื่อสังคมในการให้บริการดูแลสุขภาพของเภสัชกรชุมชนในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อสำรวจการใช้สื่อสังคมและทัศนคติต่อการใช้สื่อสังคมในการให้บริการดูแลสุขภาพของเภสัชกรชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของเภสัชกรกลุ่มดังกล่าวและความต้องการของผู้รับบริการในการใช้สื่อสังคมให้บริการดูแลสุขภาพจากร้านยา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การสำรวจการใช้สื่อสังคมของเภสัชกรชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้รับบริการและกลุ่มเภสัชกรชุมชน ผลการวิจัย: ตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยเภสัชกรชุมชน 674 ราย มีอัตราการตอบกลับของแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ทางออนไลน์ ร่วมกับการลงพื้นที่ติดตามแบบสอบถาม คือ ร้อยละ 49.9 (n=336) เภสัชกรชุมชนใช้สื่อสังคมจำนวน 203 คน (ร้อยละ 60.4) โดยมีการใช้สื่อสังคมในการให้บริการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการจำนวน 67 คน (ร้อยละ 33 ของผู้ที่ใช้สื่อสังคม) ตัวอย่างมีทัศนคติด้านบวกต่อการใช้สื่อสังคมในการให้บริการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.9 จากคะแนนเต็ม 5) เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในร้านยาน้อยกว่า 10 ปีมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้สื่อสังคมในการให้บริการฯ มากกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในร้านยาเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป เพศหญิงมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องดังกล่าวกว่าเพศชาย จากการสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มผู้รับบริการต้องการให้เภสัชกรชุมชนใช้สื่อสังคมเพื่อให้บริการดูแลสุขภาพ และกลุ่มเภสัชกรชุมชนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า สื่อสังคมนั้นมีประโยชน์ในการช่วยดูแลสุขภาพผู้รับบริการ สรุป: เภสัชกรชุมชนร้อยละ 60 ใช้งานสื่อสังคม และร้อยละ 33 ของผู้ใช้สื่อสังคมมีการใช้เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพผู้รับบริการ เภสัชกรชุมชนมีทัศนคติด้านบวกต่อเรื่องนี้ในระดับมาก เภสัชกรชุมชนและผู้รับบริการมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าการใช้สื่อสังคมนั้นมีประโยชน์ทำให้สามารถดูแลสุขภาพของผู้รับบริการได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Electronic Transactions Development Agency (Public Organization). Thailand internet user profile [online]. 2015 [cited Aug 8, 2015]. Available from: www.etda.or.th/documents-for-download.html
3. Van De Belt TH, Engelen LJ, Berben SA. Internet and social media for health-related information and communication in health care: Preferences of the Dutch general population. J Med Internet Res 2013;15:e220. doi: 10.2196/jmir.2607.
4. Househ M. The use of social media in healthcare: organizational, clinical, and patient perspectives. Stud Health Technol Inform. 2013; 183: 244–8.
5. Farnan JM, Snyder SL, Worster BK. Online medical professionalism: patient and public relationships: policy statement from the American College of Physicians and the Federation of State Medical Boards. Ann Intern Med. 2013:158:620–7.
6. Bell M, Douglas J, Cutts C. How pharmacy’s adoption of social media can enhance patients outcomes. Integrated Pharmacy Research and Practice 2014;3:39-47.
7. Clauson KA, Seamon MJ, Fox BI. Pharmacists’ duty to warn in the age of social media. Am J Health Syst Pharm. 2010;67:1290-3.
8. Bureau of Drug Control. Statistics on licensed pharmacy business, Thailand 2015 [online]. 2015 [cited Dec 10, 2015]. Available from: drug.fda. moph.go.th/zone_search/ky1.asp
9. Yothongyod M and Sawatdisap P. Sample size estimation [online]. 2014 [cited Nov 1, 2015]. Available from: www.fsh.mi.th/km/wp-content/up load s/2014/04/resch.pdf
10. Ngorsuraches S, Li SC. Thai pharmacists’ understanding, attitudes, and perceived barriers related to providing pharmaceutical care. Am J Health-Syst Pharm. 2006; 63: 2144-50.
11. BMA Data Center Strategy and Evaluation Department. Community settlement [online]. 2013 [cited May 25, 2015]. Available from: 203.155.220. 230/info/NowBMA/frame.asp
12. Tweerat P. Research tool; Likert scale. In: research methods in behavioral and social sciences. 6th ed. Bangkok: Chulalongkorn Univer- sity Printing House; 1995. p.106-8.
13. Sukhvibul T. Considerations in creating rating scale [online]. 2009 [cited Jul 11, 2015]. Available from: ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217 086.doc
14. Antheunis ML, Tates K, and Nieboer TE. Patients’ and health professionals’ use of social media in health care: Motives, barriers and expectations. Patient Educ Couns. 2013;92:426–31.
15. Jantavongso S. Ethics, social media and E-health in Thailand. Journal of the Thai Medical Informatics Association 2015;1:25-37.
16. Shcherbakova N, Shepherd M. Community pharmacists, internet and social media: an empiri- cal investigation. Res Social Adm Pharm 2014; 10 : 75-85.
17. Arden R Barry and Glen J Pearson. Professional use of social media by pharmacists. Can J Hosp Pharm. 2015; 68:22–7.