การพัฒนาและการประเมินเว็บไซต์ฐานข้อมูลช่วยประเมินผื่นแพ้ยาสำหรับนิสิตเภสัชศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินเว็บไซต์ฐานข้อมูลช่วยประเมินผื่นแพ้ยาสำหรับนิสิตเภสัชศาสตร์ วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบทดลองเชิงสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมในนิสิตเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5 ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 51 คน ซึ่งถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 26 คนและกลุ่มควบคุม 25 คนตัวอย่างทุกรายได้รับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับผื่นแพ้ยาก่อนศึกษา ต่อมากลุ่มทดลองที่ได้รับการทดสอบความสามารถในการประเมินผื่นแพ้ยาด้วยกรณีศึกษา โดยให้ใช้เว็บไซต์ฐานข้อมูลช่วยประเมินผื่นแพ้ยาที่พัฒนาขึ้นในการศึกษานี้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการทดสอบแบบเดียวกัน แต่ใช้การสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง หลังการแทรกแซงตัวอย่างทุกรายได้รับการทดสอบความรู้เกี่ยวกับผื่นแพ้ยาอีกครั้ง ผลการวิจัย: เว็บไซต์ฐานข้อมูลช่วยประเมินผื่นแพ้ยาประกอบด้วยข้อมูลของผื่นแพ้ยาแบบรุนแรงในส่วนของชนิดผื่น ลักษณะผื่น ภาพประกอบ ระยะเวลาการเกิดผื่นหลังได้รับยา และรายการยาที่มีรายงานการเกิดผื่น หลังการแทรกแซง กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับผื่นแพ้ยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (9.73±0.45 และ 8.52±1.00 จากคะแนนเต็ม 10 ตามลำดับ, p<0.001) กลุ่มทดลองสามารถประเมินผื่นแพ้ยาในกรณีศึกษาได้ถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (9.15±2.09 และ 6.56±2.47 จากคะแนนเต็ม 15 ตามลำดับ, p<0.001) กลุ่มทดลองใช้เวลาในการประเมินผื่นแพ้ยาในกรณีศึกษา น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (53.77±13.13 และ 67.96±17.63 นาทีตามลำดับ, p=0.008) กลุ่มทดลองพึงพอใจต่อเว็บไซต์ฐานข้อมูลฯ มากที่สุดในด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เว็บไซต์ฐานข้อมูลช่วยประเมินผื่นแพ้ยาสำหรับนิสิตเภสัชศาสตร์สามารถช่วยเพิ่มความรู้ในเรื่องผื่นแพ้ยา และความสามารถในการประเมินผื่นแพ้ยาได้ ทั้งยังทำให้ใช้เวลาน้อยกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Jares EJ, Borges MS, Villa RC, Ensina LF, Cruz AA, Bernstein JA, et al. Multinational experience with hypersensitivity drug reactions in Latin America. Ann Allergy Asthma Immunol 2014;113: 282-9.
3. Patel KT, Patel PB, Barvaliya MJ, Tripathi CB. Drug-induced anaphylactic reactions in Indian population (A systematic review). Indian J Crit Care Med 2014; 18: 796-806.
4. Petal TK, Thakkar SH, Sharma DC. Cutaneous adverse drug reactions in Indian population: a systematic review. Indian Dermatol Online J 2014; 5(Suppl 2): S76–86.
5. Nandha R, Gupta A, Hashmi A. Cutaneous adverse drug reactions in a tertiary care teaching hospital: a north Indian perspective. Int J Appl Basic Med Res 2011; 1: 50–3.
6. Chobdhamsakul C. Skin disorder [online]. 2007 [cited Feb 10, 2015]. Available from: thaihpvc.fda. moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_1_2_0_100401.pdf.
7. Grando LR, Schmitt TA, Bakos RM. Severe cutaneous reactions to drugs in the setting of a general hospital. An Bras Dermatol 2014; 89: 758-62.
8. Chaikoolvatana A, HaddawyP. Evaluation of the effectiveness of a computer-based learning (CBL) program in diabetes management. J Med Assoc Thai 2007; 90: 1430-4.
9. Rajan TV. The Gell–Coombs classification of hypersensitivity reactions: a re-interpretation. Trends Immunol 2003; 24: 376-9.
10. Richardson D. Student perceptions and learning outcomes of computer-assisted versus traditional instruction in physiology. Am J Physiol 1997; 6: 55-8.
11. Phimarn W, Pimdee A, Cushnie B. The Evaluation and development of computer-assisted instruction program in pharmacology : Antiepileptic drug. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2013;9:50-9.
12. Phimarn W, Cushnie B, Netwong K, Areechat P, Sriyotha S. The development and evaluation of computer-assisted instruction program of pharma- cology in anticancer drugs. Isan Journal of Phar- maceutical Sciences 2014;9(Suppl):104-8.
13. Law M, Hurley P, Hurley D, King G, Hanna S. Selecting outcomes measures in children’s rehabilitation: a comparison of methods. Arch Phys Med Rehabil 2003; 84: 496-9.
14. Yotwimonsopa A. Development of a computer program for drug dosage adjustment in patients with renal insufficiency in medical ward at Phrae hospital. [dissertation]. MahaSarakham: Mahasa- rakham University; 2006.