การเข้าถึงกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ของเภสัชกรในประเทศไทย

Main Article Content

จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์
ณัฏฐ์อริญ เดชะศิริพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจ และวิเคราะห์การเข้าถึงกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ของเภสัชกรในประเทศไทย วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และข้อจำกัดในการเข้าถึงกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ ผลการวิจัย: ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่เป็นตัวอย่างจำนวน 487 คน มีประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องฯ ใน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาด้วยตนเองจากการอ่านบทความทางวิชาการ (ร้อยละ 60.0) การเข้าร่วมประชุมวิชาการ (ร้อยละ 58.3) และการเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการ (ร้อยละ 5.5) รูปแบบของการศึกษาต่อเนื่องฯ ที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองจากการอ่านบทความทางวิชาการ ส่วนกิจกรรมที่พบว่ามีข้อจำกัดในการเข้าถึงมาก คือ การเข้าร่วมประชุมวิชาการ และการจัดทำผลงานวิชาการหรืองานวิจัยหรือได้รับรางวัลในการประกวดผลงานทางวิชาการ เหตุผลของการมีข้อจำกัดในการเข้าถึงกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องฯ ในระดับมาก คือ  ภาระหน้าที่ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม และเวลาที่ใช้ในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องฯ สรุป: สภาเภสัชกรรมและผู้เกี่ยวข้องควรปรับปรุงกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์เพื่อลดข้อจำกัดและเพิ่มสะดวกในการเข้าถึงของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. International Pharmaceutical Federation. FIP statement of professional standards: continuing professional development [online]. 2002 [cited Feb 9, 2016]. Available from: www.fip.org/www/uploads /database_file.php?id=221&table_id=.

2. Pharmacy Profession Act B.E. 2558. Royal Gazette No. 132, Part 21A (Mar 26, 2015).

3. Regulation of the Pharmacy Council of Thailand on continuing pharmaceutical education. Royal Gazette No.132, Part 139D special (Jun 19, 2015).

4. Ngosurachet S, Phromiat P, Chairitthiphong W, Saranop phakhunna A, Yihama H, Chaiyakan K. 2012 pharmacist compensation survey in Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2013; 5: 120-30.

5. Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3 rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

6. Marriott JL, Duncan GJ, Namara, KPM. Barriers to pharmacist participation in continuing education in Australia. Pharmacy Education 2007; 7: 11-7.

7. Bruskiewitz, RH. Pharmacists' perceptions of facilitators and barriers to lifelong learning. Am J Pharm Educ. 2007; 71: 1-9.

8. AlSaad D, ElSalem S, Abdulrouf P, Ali AA, AlHail M. Perception interest and barriers toward continuing pharmacy development program at woman’s hospital in Qatar. Int J Pharm. 2014; 4: 43-9.

9. Chuang SF. Deterrents to women's participation in continuing professional development. New Horizons in Adult Education and Human Resource Development. 2015; 27: 28-37.