ความชุกของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

กนกพร ชนะค้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ วิธีการ: ผู้วิจัยบันทึกการออกอากาศทางสถานีวิทยุท้องถิ่นประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ในเขตอำเภอเมืองทุกแห่งจำนวน 14 สถานี ตั้งแต่เวลาเปิดสถานีจนปิดสถานี 2 วัน ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ผู้วิจัยประเมินความถูกต้องตามกฎหมายของโฆษณาที่พบตามแบบประเมินซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ ผลการวิจัย: ผู้วิจัยสามารถบันทึกรายการวิทยุได้ 9  คลื่นจากทั้งหมด 14 คลื่น  โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งหมด  153  ครั้ง  ใน 18 วันสถานนีที่เก็บข้อมูลเป็นโฆษณาที่ผิดกฎหมาย  80 ครั้ง  (ร้อยละ 52.29) ผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องสำอางมีการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ร้อยละ 91.07, 48.15 และ 6.97 ตามลำดับ ประเด็นการโฆษณาผิดกฎหมายที่พบมากที่สุดคือ การแสดงสรรพคุณเกินจริง โฆษณาในรูปแบบสปอต การพูดของนักจัดรายการวิทยุ และการสนทนาทางโทรศัพท์พบว่าผิดกฎหมายร้อยละ 46.15, 41.02 และ12.82 ตามลำดับ สรุป: การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่นในยุคที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปกครองประเทศ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้นควรมีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยกำหนดเป้าหมายและวางแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Tansuwannond C, Wongpinpech P, Leesattrupa C. Factors related to intellectual media consumption behavior of undergraduate students in Bangkok. Journal of Behavioral Science 2553; 16:124-35.

2. Food and Drug Administration. Strategic plan on the development of consumer protection on health products in the period of the 11th National Economic and Social Development Plan (B.E.2555-2559). Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2012.

3. Chuenarrom P. Legal problems on the control and supervision of advertisings on dietary supplements, drugs and cosmetics through community radios and cable TVs. [master thesis]. Bangkok: Dhurakit Pundit University: 2014.

4. Hfocus News Agency. Digital, satellite and cable TVs and the problem of over-claim in advertisement [online]. 2014 [cited Feb 7, 2016]. Available from: www.hfocus.org/content/2014/04/6955.

5. NBTC. Do not believe and become a victim of exaggerated advertising [online]. 2015 [cited Sep 1, 2015]. Available from: bcp.nbtc.go.th/resource/ detail/2156.

6. Food and Drug Administration. Handbook on health product advertising. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2015.

7. Rujiyanyong T. Situation of illegal advertising of health products among local radios in Lopburi in the era of the National Council for Peace and Order (NCPO). Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 17: 187-99.

8. Lomas K, Chanthapasa K. The situation of radio advertisement of drug and food claimed as drug in Phraibueng municipality, Sisaket province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2012; 8: 55-60

9. Suwanmanee O, Lerkiatbundit S. Illegal advertising of products classified as drugs by law among local radios. Thai Journal of Pharmacy Practice 2011; 3: 41-55.