ลักษณะของการฝ่าฝืนจรรณยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะของการฝ่าฝืนจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมและความสอดคล้องในการใช้ดุลพินิจตัดสินลงโทษของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรม วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากบันทึกคำสั่งสภาเภสัชกรรมที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในวาระ 7 (พ.ศ.2556-2558) ตัดสินลงโทษผู้ฝ่าฝืนจรรยาบรรรณวิชาชีพจำนวน 108 คดี หลังจากนั้น วิเคราะห์เนื้อหาในเรื่องการกระทำผิดและการลงโทษ ผลการวิจัย: ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 17.6) มีอาชีพหลัก คือ การค้าขายหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว สาขาในวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีการฝ่าฝินจรรยาบรรณมากที่สุดคือ ผู้ที่ทำงานในร้านยา (ร้อยละ 35.2 ของการกระทำผิด) โดยเป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (ร้อยละ 76.9 ของผู้กระทำผิดทั้งหมด) คดีที่พบมากที่สุดเกี่ยวข้องกับกฎหมายยา (ร้อยละ 81.5 ของคดีทั้งหมด) โดยผิดในกรณีไม่อยู่ปฏิบัติการตามเวลาที่แจ้งไว้ (ร้อยละ 60.2 ของการกระทำผิดทั้งหมด) และมักเป็นกระทำผิดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมในข้อ 1 (การเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง) ข้อ 2 (การไม่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ) และข้อ 6 (การรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับที่ดีที่สุด) มากที่สุด (ร้อยละ 95.4 ของการกระทำผิดทั้งหมด) นอกจากนี้ ยังพบกระทำผิดข้อบังคับว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ข้อ 5.1 (จำหน่าย จ่ายหรือส่งมอบยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษด้วยตนเอง) (ร้อยละ 1.9 ของการกระทำผิด) การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมกรณีสั่งพักใช้ใบอนุญาตฯ มีระยะเวลาในการสั่งพักใช้ใบอนุญาตส่วนใหญ่ คือ 12 เดือน (ร้อยละ 50.0 ของการพักใช้ใบอนุญาตทั้งหมด) ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมที่มีข้อหาเดียวกันแต่ตัดสินลงโทษไม่เหมือนกัน เกิดเนื่องจากองค์ประกอบแห่งคดีที่ไม่เหมือนกัน เช่น พฤติการณ์ความรุนแรงของการกระทำความผิดหรือการยอมรับสารภาพ เป็นต้น สรุป: ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่กระทำผิดส่วนใหญ่มักเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายยา โดยไม่อยู่ปฏิบัติการตามเวลาที่แจ้งไว้ ซึ่งจะถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นระยะเวลา 12 เดือน มาตรฐานในการลงโทษของคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมมีความสม่ำเสมอ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Juarong S. Summary of the verdicts on the cases of violation of codes of ethics among pharmacy professionals in 2013. Newsletters of Pharmacy Council 2014; 17: 7.
3. Juarong S. Summary of the verdicts on the cases of violation of codes of ethics among pharmacy professionals in 2014. Newsletters of Pharmacy Council 2015;18: 6.
4. Juarong S. Summary of the verdicts on the cases of violation of codes of ethics among pharmacy professionals in 2015. Newsletters of Pharmacy Council 2016; 19: 6.
5. Phanthumetamat N, Wongruttanachai A. Ethics case studies of pharmacy profession, Thailand. Naresuan Phayao Journal 2013; 6: 135-45.