คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Main Article Content

บุษรา วาจาจำเริญ
ณัฏฐิญา ค้าผล
สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีที่มีระดับความรุนแรงต่างๆ ด้วยเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต modified WOMAC ฉบับภาษาไทย วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 194 คนได้รับการสัมภาษณ์ตามแบบวัดคุณภาพชีวิต modified WOMAC ฉบับภาษาไทย ผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้าร่วมการศึกษา เป็นเพศหญิงร้อยละ 81.6 อายุเฉลี่ย 65.05±10.17 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.31±3.78 กิโลกรัม/ เมตร2 ระดับความปวดเฉลี่ย 5.55±2.65 (จากคะแนนเต็ม 10) ผู้ป่วยร้อยละ 34.5 และ 27.8 มีความรุนแรงของโรคตามเกณฑ์การประเมินระบบขั้นของ Kellgren-Lawrence อยู่ในระดับ 4 และ 3 ตามลำดับ การวัดคุณภาพชีวิตในด้านความปวดนั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความปวดมากที่สุดในขณะขึ้นลงบันได และมีระดับความปวดน้อยที่สุดในขณะอยู่เฉย ๆ ด้านอาการข้อฝืด/ข้อยึด ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นปัญหาในระดับน้อย การประเมินความสามารถในการใช้งานข้อพบว่า กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำได้ยากที่สุดคือการขึ้นบันได ส่วนกิจกรรมที่มีปัญหาน้อยที่สุดคือ การเข้าออกจากห้องอาบน้ำ คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ยในมิติด้านความปวดและด้านระดับข้อฝืด/ข้อยึดไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละระดับความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ KL = 4 มีคุณภาพชีวิตด้านการใช้งานข้อน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคที่ KL = 2 อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: โรคข้อเข่าเสื่อมมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านความปวดและด้านความสามารถในการใช้งานข้อ แม้ว่าผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคต่างกันมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในแต่ละมิติไม่แตกต่างกัน บุคลากรทางการแพทย์ควรพิจารณาถึงการลดอาการปวดเพื่อจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. National Institute for Health & Clinical Excellence. NICE clinical guideline 59 Osteoarthritis: the care and management of osteoarthritis in adults [online] . 2008 [Cited April 10, 2013]. Available from www. nice.org.uk/cg59.

2. Woolf AD, Pfleger B. Burden of major musculo- skeletal conditions. Bull World Health Organ 2003 ; 81: 646-56.

3. Chaiamnuay P, Darmawan J, Muirden KD, Assawa -tanabodee P. Epidemiology of rheumatic disease in rural Thailand: a WHO-ILAR COPCORD study:. Community Oriented Programme for the Control of Rheumatic Disease. J Rheumatol 1998; 25: 1382-7.

4. Kuptniratsaikul V, Nilganuwong S, Tosayanonda O, Thamalikitkul V. The epidemiology of osteoarthritis of the knee in elderly patients living an urban area of Bangkok. J Med Assoc Thai 2002; 85: 154-61.

5. Prasatkul P, Wapattanawong P. Changes in Population structure [online]. 2012[ Cited May 5, 2013]. Available from www.hiso.or.th/hiso/picture/ report Health/ThaiHealth2012/thai2012_2.pdf.

6. Muraki S. Akune T, Oka H, En-yo Y, Yoshida M, Saika A,et al. Association of radiographic and symptomatic knee osteoarthritis with health-related quality of life in a population-based cohort study in Japan: the ROAD study. Osteoarthritis Cartilage 2010; 18:1227-34.

7. Salaffi F, Carotti M, Stancati A, Grassi W. Health-related quality of life in older adults with symptom- matic hip and knee osteoarthritis: a comparison with matched healthy controls. Aging Clin Exp Res 2005; 17: 255-63.

8. The Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand. Clinical practice guideline of knee osteo- arthritis: Bangkok; 2011.

9. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

10. Kuptniratsaikul V, Rattanachaiyanont M. Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) osteoarthritis index for knee osteoarthritis. Clin Rheumatol. 2007; 26: 1641-5.

11. Guccione AA, Felson DT, Anderson JJ, Anthony JM, Zhang Y, Wilson PW, et al. The effects of specific medical conditions on the functional limitations of elders in the Framingham Study. Am J Public Health 1994; 84: 351-8.

12. Ditsuwan P. Knee osteoarthritis. [online] 2013 [Cited April 11, 2016]. Available from www.rcost.or .th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=8:2010-01-28-07-13-35&catid=19&Itemid= 109.

13. Van GM, Veenhof C, Spreeuwenberg P, Coene N, Burger BJ, Schaardenburg D, et al. Prognosis of limitations in activities in osteoarthritis of the hip or knee: a 3-year cohort study. Arch Phys Med Rehabil 2010; 91: 58-66.

14. Martin L, Magro C, Valenza C, Castellote Y, Caracuel JC, Fajardo M, Valenza G, et al. Clinical tools association in knee osteoarthritis patients: objective measures vs subjective measures. Ann Rheu Dis 2012; 71 (suppl3): 752.

15. Aksaranugraha S. Modified WOMAC Scale for Knee Pain. J Thai Rehabil 2000; 9: 82-5.