ความชุกของผู้ป่วยที่มีโอกาสได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดการรักษา จากการสั่งใช้ยาของโรงพยาบาลขนาด 250 เตียงแห่งหนึ่งในภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกในช่วงเวลาหนึ่ง (period prevalence rate) ของผู้ป่วยที่มีโอกาสได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดการรักษาจากการสั่งใช้ยา วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2558 ณ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ขนาด 250 เตียงแห่งหนึ่งในภาคใต้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (HOSxP) ของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาอย่างสุ่มจากผู้ป่วยที่แพทย์สั่งจ่ายยาเม็ดพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมสำหรับกลับไปใช้เองที่บ้าน โอกาสได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดจากการสั่งใช้ยา หมายรวมทั้งโอกาสได้รับยาเกินขนาดสูงสุดต่อครั้งในการรักษา (มากกว่า 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อครั้ง) หรือเกินขนาดยาสูงสุดต่อวัน (มากกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน) ผลการวิจัย: ตัวอย่าง 95 คน เป็นเพศชาย 54 คน อายุเฉลี่ยเท่ากับ 44.4+22.0 ปี และมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 51-60 กิโลกรัม 42 คน การศึกษาพบความชุกของผู้ที่มีโอกาสได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดต่อครั้งหรือต่อวันรวม 25 คน (ร้อยละ 26.3 ของผู้ป่วยทั้งหมด) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ 23 คนได้รับยารับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง (คิดเป็นร้อยละ 92.0 ของผู้ที่มีโอกาสได้รับยาเกินขนาด) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ 16 คน (ร้อยละ 76.2 ของผู้ที่มีโอกาสได้รับยาเกินขนาดต่อครั้งหรือต่อวัน) มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 51-60 กิโลกรัม สรุป: ผู้สั่งใช้ยาพาราเซตามอลควรคำนึงถึงน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาดการรักษาทั้งต่อครั้งที่รับประทานและขนาดยารวมต่อวัน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อตับได้
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Burns MJ, Friedman SL, Larson AM. Acetami- nophen (paracetamol) poisoning in adults: patho- physiology, presentation, and diagnosis [online]. 2015 [cited May 1, 2015]. Available from: www.uptodate.com/contents/acetaminophen-para cetamol-poisoning-in-adults-pathophysiology-pre sen tation-and-diagnosis.
3. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade names index. 18th ed. Ohio: Lexi-Comp; 2009. p.25-7.
4. Zhou L, Maviglia SM, Mahoney LM, Chang F, Orav EJ, Plasek J, et al. Supratherapeutic dosing of acetaminophen among hospitalized patients. Arch Intern Med 2012; 172: 1721-8.
5. U.S. Food and Drug Administration. Acetami- nophen overdose and liver injury-background and options for reducing injury [online]. 2009 [cited May 1, 2015]. Available from: www.fda.gov/down loads/AdvisoryCommittees/CommitteesMeetingMat erials/Drugs/DrugSafetyandRiskManagementAdvisory Committee/UCM164897.pdf
6. U.S. Food and Drug Administration. FDA recommends health care professionals discontinue prescribing and dispensing prescription combina- tion drug products with more than 325 mg of acetaminophen to protect consumers [online]. 2014 [cite May 1, 2015] Available from: www.fda. gov/Drugs/DrugSafety/ucm381644.htm
7. Bureau of Drug Control, Food and Drug Adminis- tration Thailand. Documents for the meeting to hear the opinion on paracetamol [online]. 2014 [cite May 1, 2015] Available from: drug.fda.moph. go.th/zone_admin/files/hearingParacet_31oct57.pdf