ความต้องการพัฒนาสมรรถนะทางเทคนิคในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ในจังหวัดบุรีรัมย์ ตลอดจนศึกษาถึงระดับสมรรถนะทางเทคนิคในงานด้านนี้ที่เจ้าหน้าที่รายงานว่ามี และระดับสมรรถนะที่เจ้าหน้าที่คาดหวัง วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบหรือรับมอบหมายงานคุ้มครองผู้บริโภคใน รพ.สต. ทุกแห่ง (226 แห่ง) ในจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งวัดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความรู้ในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ความคิดเห็นต่อระดับสมรรถนะทางเทคนิคของตนในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนระดับสมรรรถนะที่ตัวอย่างคาดหวังอยากจะมี แบบสอบถามถูกส่งทางไปรษณีย์ไปสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อกระจายให้ตัวอย่างตลอดจนการเก็บแบบสอบถามคืน ผลการวิจัย: ตัวอย่าง 186 รายตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 82.3) ตัวอย่างยังมีความรู้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับอาหารในเรื่องอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บนมพลาสเจอร์ไรส์ (ตอบถูกร้อยละ 53.2 ของตัวอย่าง) ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร (ตอบถูกร้อยละ 22.0 ของตัวอย่าง) และบทลงโทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ (ตอบถูกร้อยละ 14.5 ของตัวอย่าง) สำหรับความรู้ด้านยาในประเด็นฉลากยามีตัวอย่างเพียงร้อยละ 52.7 ที่มีความรู้ถูกต้อง ความรู้ด้านเครื่องสำอาง 2 ประเด็นที่ตัวอย่างมีความรู้น้อยกว่าร้อยละ 60 คือ การแสดงเลขจดแจ้งบนฉลากเครื่องสำอาง (ตอบถูกร้อยละ 57.0 ของตัวอย่าง) และตัวอย่างเพียงร้อยละ 8.1 ทราบว่า การโฆษณาเครื่องสำอางไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. สำหรับความรู้ในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภควัดที่เจ้าหน้าที่ตอบถูกน้อยกว่าร้อยละ 55 คือ การใช้ชุดทดสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ตอบถูกร้อยละ 53.8) และการแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ร้อยละ 13.4) ตัวอย่างประเมินตนเองว่ามีสมรรถนะน้อยในเรื่องการดำเนินคดี (การยึด อายัด ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฎหมาย และการประมวลหลักฐานเพื่อดำเนินคดี) และในเรื่องการดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ (การสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น) ตัวอย่างรายงานว่าอยากมีสมรรถนะทั้งหมดที่สำรวจในระดับที่สูง (มากกว่า 4.0 จากคะแนนเต็ม 5) สมรรถนะที่ตัวอย่างต้องการให้พัฒนามากที่สุด (มีความแตกต่างมากระหว่างระดับสมรรถนะที่มีและที่ต้องการ) คือ สมรรถนะในการดำเนินคดีและในเรื่องการดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ (การสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น) สรุป : เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. ของจังหวัดบุรีรัมย์ ยังต้องการการพัฒนาสมรรถนะในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดังนั้นจึงควรจัดหลักสูตรการอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไป
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Jaisa-ard R, Kanjanarach T. Needs for competency improvement in pharmacy service at a primary care level. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 10: 69-79.
3. Chomphookhao C. The roles of health officers in health promoting tambon hospitals at kalasin province. Research and Development Health System Journal 2012; 5: 98-107.
4. Division of Consumer Protection, Buiram Public Health Office. Handbook on consumer protection in primary care unit at sub-district health promoting hospitals. Buiram: Buiram Public Health Office; 2011.
5. Food and Drug Administration. Handbook for sub-district health promoting hospital on “Consume safely, Healthy Thais” [online]. 2010 [cited Feb 9, 2016]. Available from: elib.fda.moph.go.th/fulltext2/ word/17057/1.pdf
6. Wihok E. Law enforcement of public health officers according to the psychotropic substances act B.E. 2518: a post marketing control [master thesis]. Nakonpratum: Silpakorn University; 2013.