ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ของร้านยาในเขตบริการสุขภาพที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของร้านยาในเขตบริการสุขภาพที่ 4 วิธีการ: การวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยสัมภาษณ์เจาะลึกเภสัชกรเจ้าของร้านยา 10 ท่านในเขตบริการสุขภาพที่ 4 ในเรื่องเหตุผลที่ทำให้ร้านยาตัดสินใจเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมโครงการฯ หลังจากนั้นนำเหตุผลที่พบไปพัฒนาแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลปัจจัยที่เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ หรือการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณในส่วนที่ 2 ของการศึกษา ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้ร้านยา 428 แห่งที่ตั้งอยู่ใน 8 จังหวัดในเขตบริการสุขภาพที่ 4 ร้านยาทั้งหมดมีเจ้าของและเภสัชกรผู้มี หน้าที่ปฏิบัติการเป็นคนเดียวกัน ผลการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า เหตุผลที่ทำให้ร้านยาเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมในโครงการฯ คือ การรู้จักโครงการฯ การเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ผลตอบแทนจากการให้บริการตามโครงการฯ การได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการให้บริการจนมีความมั่นใจ ความเหมาะสมของร้านยาของตนในแง่ของสถานที่เพื่อการให้บริการตามโครงการฯ ความเหมาะสมของเวลาในการให้บริการตามโครงการฯ และความเพียงพอของวัสดุ-อุปกรณ์ในการให้บริการตามโครงการฯ การวิจัยเชิงปริมาณได้รับแบบสอบถามกลับมาจาก 121 ร้าน คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 28.27 ร้านที่เข้าร่วมโครงการ (8 ร้าน) มีแนวโน้มเป็นร้านยาคุณภาพ เป็นสมาชิกของสมาคมเภสัชกรรมชุมชน มีเภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมความรู้ทางเภสัชกรรมหลังจบการศึกษา มีจำนวนชั่วโมงทำงานของเภสัชกรในร้านยาวนานกว่า และเห็นว่าร้านของตนมีสถานที่ให้บริการและมีวัสดุ-อุปกรณ์ฯ ที่เหมาะสมเพียงพอกับการให้บริการตามโครงการฯ การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการ 113 รายพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ และความเห็นในเรื่องความเหมาะสมของเวลาในการให้บริการตามโครงการฯ สรุป: เขตบริการสุขภาพที่ 4 ควรชักจูงให้ร้านยาเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยนำเสนอประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ และวิธีการที่สามารถใช้เพื่อลดอุปสรรคในการให้บริการตามโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสรรคเรื่องเวลาการให้บริการ การนำเสนอข้อมูลดังกล่าวควรกระทำผ่านเครือข่ายร้านยาคุณภาพและสมาคมเภสัชกรรมชุมชน
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Bureau of Drug Control, Food and Drug Administration. Statistics on licensees of drug business within the Kingdom [online]. 2014 [cited on March 9, 2016]. Available from: drug.fda.moph. go.th/zone_search/files/sea001_d19.asp.
3. Suchaxaya P. A synthesis of the role and structure of primary care service system: in the context of health professional and health services [online]. 2003 [cited on March 16, 2016]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1917.
4. Ratanawijitrasin S. Community pharmacy-hospital network in integrated health service system. Health Systems Research Journal 1998; 6: 25-34.
5. Office of Pharmacy Accreditation. History of Office of Pharmacy [online]. 2009 [cite on March 16, 2016]. Available from: newsser.fda.moph.go.th/ advancepharmacy/2009/search.php.
6. Hongsamoot D, Sookaneknun P, Saampradit S, Ploylearmsang C, Khumsikiew J. Development of the model for integrating accredited community pharmacies into national health security system. Nonthaburi: National Health Security Office; 1999.
7. Hongsamoot D, Sangkar P. Integration of accredited community pharmacies into national health security in Thailand. Journal of Health Science. 2011; 10:708-17.
8. Arkaravichien W, Arkaravichien T, Jarupach C, Jermkuntood K, Charoenthum P. An expert’s opinion on the role, function and activity of accredited pharmacies as primary care providers under the national health security scheme. Journal of Health Systems
Research 2010; 4 :101-7.
9. Community Pharmacy Association (Thailand). The project on health promotion services in accredited community pharmacies in Bangkok metropolitan [online]. 2014 [cite on March 16, 2016]. Available from: www.pharcpa.com/cpaproject.html.
10. Sangkar P, Hongsamoot D. Practice, interest and readiness of community pharmacists towards the development of community pharmacists’ roles. Journal of Health Science. 2011;19: 982-95.
11. Settasuntri P. Factors affecting the drugstores’ tendency to join the pharmacy advancement project for quality drugstores. Department of Health Service Support Journal 2013; 9:44-56.
12. Parinyarux P. and Suwannaprom P. Attitudes and stage of change towards participation to the community pharmacy development and accreditation project of pharmacist drug store owners in muang district, Chiang Mai province. Thai Pharmaceutical and
Health Science Journal 2014; 9 :164-9.
13. Tositarat P. Development process of quality pharmacies enrolling in the community pharmacy development and accreditation project in Muang Chiang Mai district [Independent study]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2009.