การประเมินฉลากยาเสริมสำหรับผู้ป่วยนอกโดยบุคคลากรทางการแพทย์

Main Article Content

จิรวรรณ แสงรัศมี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเหมาะสมของฉลากยาเสริมสำหรับผู้ป่วยนอกโดยบุคลากรทางการแพทย์ วิธีการ: การวิจัยนี้สำรวจความเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลตรอน  57 รายโดยใช้แบบสอบถามในเรื่องความเหมาะสมด้านการนำไปใช้จริงและด้านเนื้อหาของฉลากยาเสริม 18 รายการสำหรับผู้ป่วยนอก การศึกษานี้ยังได้สำรวจความคิดเห็นดังกล่าวในกลุ่มเภสัชกรซึ่งเลือกมาด้วยวิธีการแบบตามสะดวก จำนวน 43 ราย ประกอบด้วยเภสัชกรในโรงพยาบาลอื่น ๆ และจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เภสัชกรที่ศึกษาอยู่ในวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ และศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์เชียงใหม่รุ่นที่ 31 จากนั้นผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน (แพทย์ 1 ท่านและเภสัชกร 1 ท่าน) แสดงความเห็นในเชิงลึกต่อฉลากยาเสริม ผลการวิจัย: บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลตรอนและกลุ่มเภสัชกรที่ได้รับการคัดเลือกเห็นด้วยอย่างมากที่จะนำฉลากยาเสริมไปใช้กับผู้รับบริการ โดยมีค่าเฉลี่ย 3.86±0.87 และ3.51±1.01 คะแนน ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างทั้งสองกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 52.63 และ 53.49 ตามลำดับ เห็นว่าควรปรับปรุงเนื้อหาฉลากยาเสริม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ปรับแก้ฉลากยาเสริมทุกรายการ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้แก้ไขจำนวน 10 รายการ สรุป: บุคลากรทางการแพทย์เห็นด้วยในการนำฉลากยาเสริมมาใช้กับผู้ป่วยนอก แต่ควรปรับปรุงเนื้อหาให้กระชับและอ่านเข้าใจได้ง่าย ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาฉลากยาเสริมในโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Improving the quality and usefulness of drug regulator authority web- sites. WHO Drug Information 2001; 3-4:163-5.

2. Bagnall BG. Pharmaceutical prescribing and labeling information online: The challenge of national regulations and the global internet [online].1997 [cited Jan 4, 2016]. Available from: www.isoc.org/inet98/proceedings/8x/8x_3.htm.

3. World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components [online]. 2002 [cited Jan 4, 2016]. Available from: apps.who.int/ medicine docs/pdf/h3011e/h3011e.pdf.

4. U.S. Food and Drug Administration. Providing effective information to consumers about pres- cription drug risks and benefits [online]. 2009 [cited Dec15, 2015]. Available from: www.fda.gov/ downloads/Drugs/NewsEvents/UCM182799.pdf.

5. Food and Drug Administration. Guideline for leaflet development [online]. 2013 [cited Dec 9, 2015]. Available from: drug.fda.moph.go.th/zone_law/files/ d6.pdf.

6. National Committee on Drug System Development. National drug policy B.E. 2554 and strategies for drug system development B.E. 2555-2559. Nonta- buri: Publising House of Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2011.

7. Subcommittee on the Promotion of Rational Drug Use. Rational drug use hospital project (updated on Sep 2014) [online]. 2014 [cited Feb 8, 2016]. Available from: drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/
sites/default/files/attachments/1rdu_hospital_projectedit_oct14_edit.pdf.

8. Shayakul C, Chongtrakul P, Wananukul W, Punnupoorot P, Kanjanarat P, Yotsombut K , et al. Mannual of rational drug use hospital. Nontaburi: Publising House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2015.

9. Chongtrakul P, Chunprasert S, Indradat S, Tunksiriwonkan J. Suggestions to improve labeling and extended labels to promote rational drug use. Bangkok: Wanida printing; 2015.