ความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสม ของวัยรุ่นหญิงในจังหวัดสระบุรีและปัจจัยที่มีผล

Main Article Content

วารุณี ชลวิหารพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมของวัยรุ่นหญิงในจังหวัดสระบุรี และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมดังกล่าว วิธีการ:  รูปแบบของการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิง 637 คนที่เป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1-3 ซึ่งเรียนอยู่ในชั้นเรียนที่ผู้วิจัยเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบจากชั้นเรียนทั้งหมดในระดับดังกล่าวในจังหวัดสระบุรี  ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียนที่เลือกมาได้โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษา:  กลุ่มตัวอย่าง 57  ราย (ร้อยละ 8.95) ใช้ผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสม  ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้มากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (19  รายหรือร้อยละ 33.33 ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างไม่เหมาะสม) รองลงมาคือการซื้อยาลดน้ำหนักมารับประทานเอง 15 ราย (ร้อยละ  26.32) และการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือชาลดน้ำหนัก 11 ราย (ร้อยละ 19.30) วัยรุ่นหญิงทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ผ่านทาง facebook มากที่สุด 23 ราย (ร้อยละ 40.35 ของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้) รองลงมาคือได้รับข้อมูลจากเพื่อน 17 ราย (ร้อยละ 29.82) และ Instagram 16 ราย (ร้อยละ  28.07) ไม่มีกลุ่มตัวอย่างรายใดได้รับข้อมูลจากวิทยุ ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ sibutramine ในด้านการรักษาสิทธิ กลุ่มตัวอย่าง 196 ราย (ร้อยละ 30.97) ไม่แน่ใจว่าจะร้องเรียนหรือไม่เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพฯ มาใช้แล้วไม่ได้ผล อีกร้อยละ 32.50 กล่าวว่า จะไม่ร้องเรียนหรือไม่ร้องเรียนอย่างแน่นอน และร้อยละ 36.50 กล่าวว่าจะร้องเรียนหรือร้องเรียนอย่างแน่นอน แต่หากใช้ผลิตภัณฑ์แล้วเกิดอาการผิดปกติจนต้องไปพบแพทย์ ตัวอย่างร้อยละ 67.97 จะร้องเรียนหรือร้องเรียนอย่างแน่นอน ระดับการศึกษา ความคิดเห็นต่อรูปร่าง และความพึงพอใจต่อรูปร่าง มีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและดัชนีมวลกายไม่สัมพันธ์กับการควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการที่ผิด สรุป: หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปลูกฝังค่านิยมและอัตลักษณ์ที่เหมาะสมเกี่ยวกับรูปร่างของตนให้กับวัยรุ่น  ภาครัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังทั้งในส่วนของหน่วยงานที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์และหน่วยงานที่กำกับดูแลสื่อออนไลน์ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Sojeiya A, Songkerd S. Obese….? Thai teenagers in the era of slim-ism. Bangkok: Kilane Printing; 2005.

2. Senawat S. Issues and guidelines for weight control Journal of Nutrition Association of Thailand 2011; 36: 68-75.

3. Hanucharurnkul S, Tantayotai W, Konggumnerd R. Health promotion: concepts, theory and practice in nursing. NakhonsiThammarat: Walailak University; 2000.

4. Boonyachinda N. Why does weight control pills cause positive urine test for narcotics Food and Drug Journal 2002; 1: 23-7.

5. Food and Drug Administration. Thai Traditional laxatives. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2001.

6. Aungkatawanich J. Garcinia and weight control. Food and Drug Journal 1999; 2: 16-9.

7. Seereepapong W, Boonkasemsanti W. Amenor- rhea. In: Tantayaporn K, Limpongsanurak S, Tanniran dorn Y, Taneepanichsakul S, Trisukosol D, editors. Gynecology. 3rd ed. Bath: O-Priniting House; 2001. p.301-20.

8. Bolton JGF, Patel S. Osteoporosis in anorexia nervosa. J Psychosom Res 2001; 50: 177-8.

9. Coupey SM. Anorexia nervosa. In: Friedman SB, Fisher MM, Schonberg MK, Alderman EM, editors. Comprehensive adolescent health care. 3 rd ed. Bath: St. Louis: Mosby-Year Book; 1998. p.247-62.

10. Neumark-Sztainer D, Croll J, Story CM, Hannan PJ, French SA., Perry C. Ethnic/racial differences in weight-related concerns and behaviors among adolescent girls and boys: Findings from Project EAT. J Psychosom Res 2002; 53: 963-74.


11. Kanta A. Body image satisfaction and the use of food products and drug for weight control among adolescent women [dissertation]. Chiangmai: Chiangmai University; 2002.

12. Watcharkul C. Body image perception, food habits and weight control practices of high school student in Khonkaen municipality [dissertation]. Khonkaen: Khonkaen University; 2007.
13. Worthington-Robert B. Nutrition. In: Fogel CI, Woods NF, editors. Women’s health care: A comprehensive handbook. Thousand Oaks: Sage; 1995: p221-60.

14. Chaiamnuay P. Guideline for preventing and treating obesity in Thais. Bangkok; Thailand National Defence College; 2002.

15. Dalun W, Boonyong S, Areeyapitipan T, Sittiviche- yawong P, Noppornpan W. Food, nutrition and supplementary food products. Bangkok: Faculty of Allied Health Sciences, Chulalongkorn University; 2001.
16. Coharn WG. Samplimg techniques. 3rd ed. Leeds: New York: John Wiley and Son; 1977.

17. Mangkhachaiya S. Body image and the behavior of controlling weight among female teenagers. Bangkok: Mahidol University; 2006.

18. Santawee K. Media exposures and media literacy of youth in Bangkok [dissertation]. Bangkok: Rajamangala University of Technology Pra Nakhon; 2010.

19. Tinkajec S, Pumwiset P. Weight control behavior among undergraduate students in Nonthaburi [online]. 2012 [cited Feb 9, 2016]. Available from: www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2555_PubH_Somsak-Pulsak.pdf.