ความชุกของการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำแข็งหลอด ณ จุดต่างๆ จากแหล่งผลิตไปยังร้านอาหารหรือแผงลอยจำหน่ายอาหาร

Main Article Content

วิไลวรรณ สาครินทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในน้ำแข็งหลอด ณ จุดต่าง ๆ ตั้งแต่โรงงานผลิต ห้องเก็บ รถขนส่ง ร้านค้าส่ง (ยี่ปั้ว) และร้านอาหารหรือแผงลอยจำหน่ายอาหาร วิธีการวิจัย: ผู้วิจัยสัมภาษณ์และสังเกตผู้ประกอบการและพนักงานในโรงงานผลิตน้ำแข็งถึงขั้นตอนการผลิต จัดเก็บ และขนส่งที่มีผลต่อการปนเปื้อนของน้ำแข็ง การศึกษายังตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำแข็งโดยใช้ชุดทดสอบคลิฟอร์มของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวอย่างน้ำแข็งหลอด 17 ตัวอย่างถูกเก็บจากโรงงานที่มีใบอนุญาตผลิตอาหารซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาทุกแห่ง จำนวน  7 แห่ง โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บ ณ หัวจ่าย 9 ตัวอย่าง และตัวอย่างจากห้องเก็บน้ำแข็ง ­8 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างน้ำแข็งจากรถขนส่ง 59 คันของร้านค้าส่ง 25 ร้าน และจากร้านอาหารหรือแผงลอย ที่ตั้งอยู่ในอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา 205 ร้าน ผลการศึกษา : น้ำแข็งหลอดที่เก็บจากหัวจ่ายน้ำแข็งในโรงงาน ห้องเก็บน้ำแข็ง ร้านยี่ปั้ว และร้านอาหารผ่านมาตรฐานร้อยละ 77.78, 50.00, 20.00 และ 12.68 ตามลำดับ น้ำแข็งที่เก็บจากรถขนส่งจากโรงงานไปร้านอาหาร จากโรงงานไปร้านยี่ปั้ว และจากร้านยี่ปั้วไปร้านอาหารผ่านมาตรฐานร้อยละ 25.00, 18.18 และ 10.71 ตามลำดับ รถที่ใช้ขนส่งเป็นรถกระบะและรถพ่วงข้าง (ซาเล้ง) ร้อยละ 44.07 และ 33.90 ตามลำดับ ความชุกของการเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำแข็งที่เก็บจากรถขนส่งจากร้านยี่ปั้วไปร้านอาหารใกล้เคียงกับน้ำแข็งที่เก็บจากร้านอาหารหรือแผงลอย การปนเปื้อนที่มากอาจเกิดจากการบรรจุน้ำแข็งในกระสอบซึ่งมีรูทำให้น้ำผ่านเข้าออกได้ การจัดวางกระสอบบรรจุน้ำแข็งให้ทับซ้อนกันบนพื้นรถโดยไม่มีภาชนะหรืออุปกรณ์รองรับ และการส่งผ่านหลายขั้นตอน การขนส่งและการจัดเก็บแต่ละช่วงก่อให้เกิดการปนเปื้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการขนถ่ายโดยพนักงานที่ไม่ผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งมักไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการปนเปื้อน สรุป: ผลการวิจัยทำให้ทราบสถานการณ์การปนเปื้อนอันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการควบคุมคุณภาพการผลิตน้ำแข็งตลอดเส้นทางการลำเลียงขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Public Health Ministerial Declaration No. 78 in 1984 on ice. Royal Gazette No. 101, Part 23 (Feb 22, 1984).

2. Public Health Ministerial Declaration No. 137 in 1991 on ice (No.2). Royal Gazette No. 108, Part 94 (May 28, 1991).

3. Public Health Ministerial Declaration No. 254 in 2002 on ice (No.3). Royal Gazette No. 119, Part 94 (Jun 18, 2002).

4. Public Health Ministerial Declaration No. 285 in 2004 on ice (No.4). Royal Gazette No. 122, Part 9D (Jan 31, 2005).

5. Public Health Ministerial Declaration No. 193 in 2000 on Production process, production equipment and food storage. Royal Gazette No. 118, Special Part 6D (Jan 24, 2001).

6. Chavasit V, Sirilaksanamanon K, Phithaksantayo- thin P. Guidelines for the prevention of contamina- tion in the production of ice. Bangkok: Jaroendeemun kongkarnpim printing; 2009.

7. Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

8. Songkhla Regional Medical Sciences center 12. Service manual. SD (M) 31-01-001. 5th ed. Songkhla: Department of Medical Sciences; 2016.

9. Rungruang J. Quality of bottled water and sealed ice packages in the upper north eastern region. KKU Science journal 2006; 4: 274-82.

10. Tantrakarnapa K, Makkaew P, Vatanasomboon P, Kengganpanich T. Association of sanitary conditions and bacteriological quality of tube ice in ice plants in metropolitan Bangkok, Thailand. Environment Asia [online]. 2010 [cited Feb 7, 2016]. Available from: www.researchgate.net/publi cation/41026063.

11. Kim JK, Harrison M. Transfer of Escherichia coli O157:H7 to romaine lettuce due to contact water from melting Ice. J. Food Prot 2008; 71 : 252-8.

12. Suriyakup U, Chaikumlar B, Bavornsombat S, Bavornsombat S. Hazard analysis and the design of quality assurance system in the domain of safety of ice cream. The second academic seminar on technology development by Thai Research Fund; 2004 April 30-May 2; Bangkok Thailand..

13. Veerapun N, Thongkum P. Factors affecting food sanitation performance following the standards of food establishments for food shops in Muang district, Pattani province. Songkhlanakarin Journal of Science and Humanities 2007; 13 (2): 187-200.

14 Jongsamak P, Charoenteeraboon J, Techaarporn- kul S. A microbial safety survey of edible ice at cafeterias and weekly market of Silpakorn Univer- sity, Sanamchandra Palace, Nakhon Pathom. Thai Bulletin of Pharmaceutical Science 2014; 9: 14-23.

15. Kaikaewkanjana M. Strengthening of the measures to control the production of ice cubes in Chainat. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 130-44.

16.. Pornchalermpong P, Ruttanapanon N. Food net- work solution [online]. 2016 [cited Feb 7, 2016]. Available from www.foodnetworksolution.com/know edge/content/213.