การประเมินกระบวนการนำนโยบายเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

จันทร์จรีย์ ดอกบัว
นุศราพร เกษสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินกระบวนการนำนโยบายเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเป็นหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาลปทุมราชวงศาซึ่งเป็นสถานที่วิจัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินตามตัวชี้วัดตามเกณฑ์จริยธรรมฯ บันทึกการประชุมคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลปี พ.ศ. 2557-2558 รายงานประจำปีของกลุ่มงานเภสัชกรรมปี พ.ศ.2557-2558 ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลและหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ นอกจากนี้ ยังมีการสังเกตการทำงานของบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: โรงพยาบาลปทุมราชวงศาประกาศให้เกณฑ์ดังกล่าวเป็นนโยบายขององค์กร และกำหนดให้คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดรับผิดชอบในการดำเนินการตามเกณฑ์ ตลอดจนยังให้มีการสื่อสารให้บุคลากรรับทราบอย่างทั่งถึง โรงพยาบาลกำหนดแนวปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรและมีแนวทางเพื่อรายงานผลการปฏิบัติงาน คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดจัดระบบการตรวจสอบการดำเนินงานตามเกณฑ์ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก หลังการประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าว การจัดซื้อ-จัดหายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยามีมูลค่าการจัดซื้อลดลงเมื่อเทียบกับแผนจัดซื้อและเทียบกับมูลค่าในปีงบประมาณที่ผ่านมา นโยบายนี้ทำให้การบริหารจัดการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยาโปร่งใสและตรวจสอบได้  ผลการประเมินตามตัวชี้วัดว่าด้วยการจัดซื้อในระดับโรงพยาบาลอยู่ในระดับ 4 โรงพยาบาลยังขาดการดำเนินในส่วนของการยกย่องเชิดชูหน่วยงานที่ปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมฯ และการลงโทษหน่วยงานที่ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรม สรุป: นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญที่สามารถดำเนินการได้ไม่ยุ่งยากในโรงพยาบาล ความสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเกิดจากการเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก การสนับสนุนจากทีมบริหาร ความร่วมมือจากบุคคลากรหลายระดับ การประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงาน ความสามารถในการบริหารจัดการและติดตามกำกับ ตลอดจนความเพียงพอและครบถ้วนของทรัพยากรและเทคโนโลยี โรงพยาบาลควรจัดทำและติดตามดัชนีภาพลักษณ์ความโปร่งใสซึ่งช่วยให้เกิดกระบวนการเชิดชูผู้ทำดีและควรมีการศึกษาถึงผลกระทบจากการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและขยายผลในระดับจังหวัดและระดับเขตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. National Committee on Drug System Development. National drug policy B.E. 2554 and strategies for drug system development B.E. 2555-2559. Nontaburi: Publising House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2011.

2. National Committee on Drug System Development. Ethical criteria on drug promotion. Nontaburi: Publising House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2014.

3. Subcommittee on the Promotion of Rational Drug Use. Handbook on the project “rational drug use hospital”. Nontaburi: Publising House of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2015.

4. Wall G, Gilson L. Reforming the health sector in developing countries: the central role of policy analysis. Health Policy and Plan 1994; 9: 353-70.

5. Theodoulou SZ, Kofinis C. The art of the game: understanding American public policy Making. Belmont, CA: Wadsworth, 2004.