คุณภาพของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทในจังหวัดสระบุรีและแนวทางการปรับปรุง

Main Article Content

ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย
ชิดชนก เรือนก้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (น้ำบริโภคฯ) ในจังหวัดสระบุรี  วิเคราะห์หาสาเหตุที่มีผลต่อคุณภาพ และค้นหาแนวทางจากผู้เกี่ยวข้องในการปรับปรุงคุณภาพ วิธีการวิจัย : ผู้วิจัยวิเคราะห์การดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรีในปีงบประมาณ 2558 ได้แก่ ผลการตรวจสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ของน้ำบริโภคฯ  และผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคฯ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บ ณ สถานที่ผลิต นักวิจัยยังสัมภาษณ์พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในเขตสุขภาพที่ 4 และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในประเด็นคุณภาพของน้ำบริโภคฯ และแนวทางการจัดการปัญหาคุณภาพน้ำบริโภคฯ  ผลการวิจัย : น้ำบริโภคฯ ไม่ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 32  (16/50ตัวอย่าง)  โดยตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์  MPN Coliform จำนวน 11 ตัวอย่าง (ร้อยละ 22.0)  น้ำบริโภคฯ ตกมาตรฐานทางเคมี คือ ความเป็นกรด-ด่าง โดยพบค่า pH น้อยกว่า 6.5 จำนวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ12.0) นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนเชื้อ E. coli จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.0)  และตกมาตรฐานไนเตรด จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 2.0) ไม่พบการปนเปื้อน Salmonella spp. และ V. paraheamolyticus  ผลการตรวจประเมินสถานที่ผลิตตามเกณฑ์ GMP พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนน 70-79 (ระดับดี) จากคะแนนเต็ม 100 หมวดที่ 3 แหล่งน้ำและการปรับคุณภาพน้ำมีคะแนนน้อยที่สุด (70.07+14.12 จากคะแนนเต็ม 100) รองลงมาคือ หมวดที่ 9 การบันทึกและรายงาน (70.74+16.28) สถานที่ผลิตซึ่งผ่านการตรวจ GMP ในหมวดที่ 3 แหล่งน้ำและการปรับคุณภาพน้ำ หมวดที่ 4 ภาชนะบรรจุ  หมวดที่ 5 สารทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ หมวดที่ 6 การบรรจุ หมวดที่ 7 การสุขาภิบาล หมวดที่ 8 บุคลากรและการปฎิบัติของผู้ปฎิบัติงาน และหมวดที่ 9 การบันทึกและรายงาน มีผลการวิเคราะห์น้ำบริโภคฯ ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์มากกว่าสถานที่ผลิตซึ่งตกการตรวจ GMP ในหมวดดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิจัยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากการประเมินสถานที่ผลิตตามเกณฑ์ GMP และผลการตรวจคุณภาพน้ำบริโภคฯ ด้านกรด-ด่างและด้านเคมี  การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในอดีตและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาดังนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ควรนำผลการตรวจสถานที่ตามเกณฑ์ GMP มากำหนดให้ผู้ประกอบการดำเนินการในหัวข้อที่สำคัญได้แก่ การควบคุมกระบวนการผลิต เช่น ตรวจ pH ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นและบันทึกรายงานผล นอกจากนี้ควรกำหนดมาตรการในกรณีเร่งด่วน เช่น หากพบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เจ้าหน้าที่ควรหาสาเหตุและให้คำแนะนำทันทีกับสถานที่ผลิต เจ้าหน้าที่ควรเพิ่มความถี่ในการตรวจและรายงานผลให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง และจัดลำดับความสำคัญรวมทั้งความเข้มงวดในการเฝ้าระวัง  นอกจากนี้ยังควรพัฒนาทักษะของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการในการดำเนินการเฝ้าระวังปัญหา สรุป: ข้อมูลจากการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพน้ำบริโภคฯ ในจังหวัดต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Public Health Ministerial Declaration No. 61 in 1981 on drinking water in sealed containers. Royal Gazette No. 98, Part 157D special (Sept 24, 1981)

2. Public Health Ministerial Declaration No. 135 in 1991 on drinking water in sealed containers (No 2). Royal Gazette No. 108, Part 61D (Apr 2, 1991).

3. Public Health Ministerial Declaration No. 220 in 2001 on drinking water in sealed containers (No 3). Royal Gazette No. 118, Part 70D special (Jul 26, 2001).

4. Public Health Ministerial Declaration No. 256 in 2002 on drinking water in sealed containers (No 4). Royal Gazette No. 119, Part 54D special (Jun 18, 2002).

5. Public Health Ministerial Declaration No. 284 in 2004 on drinking water in sealed containers (No 5). Royal Gazette No. 122, Part 9D special (Jan 31, 2005).

6. Public Health Ministerial Declaration on drinking water in sealed containers (No 6). Royal Gazette No. 127, Part 67D special (May 27, 2010).

7. Food and Drug Administration. Handbook on the inspection of production premises according to the GMP of drinking water in sealed containers. 2nd ed. Bangkok: Publishing House of the War Veterans Organization; 2008.

8. Sirawan S, Sadjawattana T, Phromhirunnukul P, Teerasmith K, Sithiopakul S, Chamchooklin S, Kengkoontod B. Production process with the highest risk of contamination with Coliform bacteria in drinking water and ice factories in the Inspector area no.13 in 2006. Nakhon Ratchasima: Office of Disease Prevention and Control Region 5; 2006.

9. Kongjing S, Lerkiatbundit S. Inspection for compliance to the good manufacturing practice among the community-owned production sites of bottled drinking water in Trang and their product quality. Thai Journal of Pharmacy Practice 2012; 4: 65-84.

10. Food and Drug Administration. The study on safety of the consumption of water produced from coined water producing machines. Nontaburi: Food and Drug Administration; 2008.

11. Naval Science Department. Hazards from the contamination of nitrates in drinking water [online]. 2005 [cited Feb 2, 2016]. Available from: http://www.navy.mi.th/science/Webpage/newdocument/ni_water.htm

12. Kaikaewkanjana M. Strengthening of the measures to control the production of ice cubes in Chainat. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 130-44.